case study 27 : presbyopic  compound myopic astig after Lasik 


Case Study 27

Topic : presbyopic  compound myopic astig after Lasik 

 by Dr.Loft  


 

Brief Case 

case study 27 วันนี้เป็นเรื่องราวของคนไข้ชาย อายุ 45 ปี  มาด้วยด้วยเรื่อง "แว่นตาที่ใช้อยู่เริ่มมองไม่ชัดทั้งไกลและใกล้ โดยเฉพาะระยะคอมพิวเตอร์ กับระยะอ่านหนังสือ  ถ้าให้ชัดจะต้องเข้าไปดูใกล้จึงจะมองเห็น"  และ แว่นที่ใช้อยู่นั้นเป็น single vision ธรรมดา  แต่น่าสนใจคือ คนไข้สามารถเห็นทุกระยะได้โดยไม่ต้องใส่โปรเกรสซีฟ  ที่น่าสนใจกว่าคือ ต้องเข้าไปใกล้มากขึ้น จึงจะเห็นได้ ซึ่งผิดธรรมดากับคนที่มีสายตาสูงอายุร่วมกับสายตาสั้นที่มักจะต้องถอดแว่นดูใกล้ หรือ ยื่นหนังสือให้ห่างออกไป 

 

ทีแรกว่าจะไม่เขียนเคสนี้ เพราะดูแล้วก็ไม่น่ามีอะไรให้เรียนมากมายนัก  แต่พอดีมองเห็นจุดบางอย่าง ที่อยากจะชี้ให้เห็น โดยเฉพาะกับเรื่องแสงฟุ้งในเวลากลางคืนหลังจากทำเลสิก ซึ่งแต่เดิมนั้น เวลาคนไข้มี complain เกี่ยวกับแสงฟุ้งในเวลากลางคืน แม้จะ corrected กำลังค่าสายตาได้ถูกต้องแล้วก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนไข้หลังเลสิก  ดังนั้นเดิมเมื่อคนไข้ complain เรื่องนี้ก็ได้แต่ฟัง เพราะบางทีก็ไม่ "in" ว่าสิ่งที่คนไข้เล่าให้ฟังนั้นมันหนักหนาแค่ไหน 

แต่ปัจจุบันเรามือเครื่องมือที่สามารถ demonstrate แสงฟุ้ง ในแต่ละขนาดรูม่านตาของคนไข้แต่ละคนได้ ทำให้เราสามารถมองเห็นปัญหาแสงฟุ้งของคนไข้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ด้วยเครื่อง Aberrometer DNEye scanner  และด้วยข้อมูล objective test จากเครื่องตัวนี้ ทำให้เรามีข้อมูลที่น่าสนใจที่จะมาเล่าให้ฟังในวันนี้ 

 

ส่วนในการแก้ไขปัญหาสายตาสำหรับเคสนี้ ก็ไม่ได้พิศดารอะไร เพียงแค่ full correction  สายตาสั้น+เอียง และแก้สายตาคนแก้ด้วยเลนส์โปรเกรสซีฟ แก้มุมเหล่ซ่อนเร้นเล็กน้อยด้วยปริซึม และใช้เทคโนโลยี DNEye ในการแก้ปัญหาแสงฟุ้งในเวลากลางคืนจาก HOA เท่านั้น 

 

เริ่มกันเลย 

 

Case History


1st CC

คนไข้ชาย อายุ 45 ปี มาด้วยอาการปัจจุบันคือ "มองหน้าคอมพิวเตอร์ไม่ชัด เป็นมานาน จำไม่ได้  เวลาจะดูให้ชัดต้องมองใกล้ๆ  (ซึ่งตรงข้ามกับคนสายตาคนแก่ทั่วไปที่ต้องยื่นให้ห่างออกไป หรือต้องถอดแว่นในกรณีคนสายตาสั้น)

 +มองไกล...มัว

 +มองใกล้...มัว

**แต่พอสามารถใช้ชีวิตได้

 

POHx

(+)เริ่มใช้แว่นตั้งแต่ประถม

(+)แว่นปัจุบันใช้มา 4 ปี เป็น single vision lens ใช้ทั้งมองไกลและมองใกล้ แต่ไม่ค่อยชัด

(+)Surgery : เคยทำ lasik เมื่อ 12 ปีที่แล้ว สายตาก่อนทำ Lasik ประมาณ -12.00D (จำ extractly ไม่ได้)

(-)ไม่มีประวัติอุบัติเหตุทางศีรษะ(-trauma & -injury) ทางตา หรือ ตาอักเสบ(-inflam) ติดเชื้อ(-infect) ฟ้าแล๊บ(-flash) หรือ หยักไย่ลอยไปมา (-floater)

(+)มีประวัติคนในครอบครัวมี "ต้อหิน"

(+)ใช้สายตาขับรถกลางคืนทุกวัน วันละ 1 ชั่วโมง  และทำงานเอกสารและคอมพิวเตอร์มาก

(-)สุขภาพแข็งแรง ไม่แพ้ยา ไม่มีภูมิแพ้

 

HA/Diplopia : no complain

 

Preliminary eye exam

PD 32/31

VAsc  ; 20/200OD ,20/120OS

VAcc  ; 20/30+1 OD ,20/20-1OS  (ลืมบันทึกลงระเบียน)

Version : SAFE no pain ,no diplopia

Cover test : Ortho / Ortho’

 

Automate  Objective Test : DNEye Scan 2 Data

Right Eye

Refraction   pupil       

FV-meso             5.6 mm          -4.13  -0.88 x 80

FV-photo            2.4 mm          -2.75  -1.25 x 75

NV -photo                               -1.88   -1.38 x 71.... Add +2.50

 

Left Eye

Refraction   pupil      

FV-meso           5.2 mm          -4.00  -1.00 x 81

FV-photo           2.3 mm          -3.00  -1.63 x 86

NV -photo                              -1.50  -1.38 x  90  ..... Add +2.50

 

Keratometry

OD : 36.50@11/37.13@101  ; corneal astig -0.63 x 11

OS : 36.75@24/37.38@114  : corneal astig -0.63 x 24

 


Refraction 

Retinoscopy

OD -2.50  -1.25 x 80  VA 20/20

OS -1.50  -2.50 x 90  VA 20/15

 

Monocular Subjective

OD -2.25 -1.50 x 87  VA 20/15

OS -1.50 -2.50 x 87  VA 20/15

 

BCVA (trial frame)

OD -1.75 -1.50 x 87 VA 20/15+2

OS -1.25 -2.50 x 87 VA 20/15+2

 

Functional ; vergence and accommodation

Horz.phoria : 1.5 BO  esophoria ( VonGrafe’s technique)

BI : x/6/2

BO :(ไม่ได้บันทึก แสดงว่าไม่มีอะไร concern)

Vert.phoria : 1.5 BU OS ,righ hyperphoria   (w/ VonGrafe’s technique)

Supra vergence (OS) :  2/0

Infra vergence   (OS) : 4/1

Maddox Rod ; No vertical phoria / 5 BO esophoria

 

Functional ; vergence and accommodation

BCC +1.25

NRA/PRA +1.25/-1.25  rely BCC

Horz phoria : 11 BI

BI.  : x/18/8

BO : 12/18/16

 

Assessment

1.compound myopic astigmatism OU

2.Presbyopia

3.mild esophoria @ distant  ,hight exophoria@near (normaly in presb.)

4.Glare cause of HOA ( cause of  previous lasik surgery)

5.Dry Eye

 

Plan

1.Full Correction 

OD -1.75 -1.50 x 87

OS -1.25 -2.50 x 87

2.Progressive additional lens  

Rx + Add +1.25  ( product : Rodenstock Multigressiv MyView 2)

3.(mild) esophoric

          Rx  1 prism base out 

4.DNEye Technology corection (objective automated value)

Far

OD -2.14 - 1.27 x 80

OS -1.86 -1.48 x 89

Near

OD -0.91 -1.43 x 78

OS -0.54 -1.69 x 90

 DNEye Order Value (objective value)    เป็นค่าที่ DNEeye คำนวณค่าออกมา เพื่อที่จะลดแสงฟุ้งจาก HOA ของคนไข้ ซึ่งเป็นค่า objective value จากเครื่อง DNEye ซึ่งผมก็ไม่ทราบที่มาหรือเหตุผล เขาว่ามันเป็นการคำนวณเฉพาะ ซึ่งตัวเลขที่แสดงออกมาให้เห็นนั้น แค่พยายามจะให้เป็นรูปธรรม แต่มี algorithym ข้างในที่เรามองไม่เห็น แต่เป็นระบบการคำนวณชดเชยบนผิวเลนส์ เนื่องจากเป็นค่าที่ได้จากการดึง data จากเครื่อง DNEye ไม่ใช่จากการกรอกผ่านคีร์บอร์ดเข้าโปรแกรม winfit ที่ลิ้งกับ server ของทางโรงงาน Rodenstock  ผมจึงไม่มีคำตอบเกี่ยวกับค่านี้ 

 

Case Analysis

 

เคสนี้ปัญหาก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนเท่าใดนัก แต่ก็มีเรื่องที่ให้มองได้หลายจุด

1.Refractive Error 

คนไข้มีสายตาสั้น ร่วม กับสายตาเอียง โดยมีองศาเอียงอยู่ในแนว Againt the Rule และ ปัญหาสายตาคนแก่ซึ่งเกิดตามวัยที่มากขึ้น   

 

2.Binocular Function 

ส่วนปัญหากล้ามเนื้อตานั้น โดยรวมถือว่าปกติดี  มี esophoria มองไกลอยู่ไม่มาก ซึ่งอาจจะถูก induce จากการใส่เลนส์ที่ over minus มานาน ก็เลย induce  eso ขึ้นมา

2.1Vertical phoria 

ส่วน Vertical phoria นั้น แม้จะตรวจด้วยวิธี VonGrafe’s technique แล้วพบว่ามีอยู่ 1.50 BDOD (right-hyper)  และฟ้องด้วยค่า Supra/Infra ที่ไม่บาลานซ์ ประหนึ่งว่าคนไข้มี hyper phoria อยู่จริง

 

แต่จากการทำ recheck ด้วย maddox บน trial lens แล้ว ไม่พบว่าเป็น vertical phoria  ค่าที่ได้จาก VonGrafe’technique จึงเป็น Fales positive  ซึ่งน่าจะมาจากคนไข้มี heat tilt ขณะนั่งอยู่หลัง phoropter  

 

ดังนั้นในจุดนี้ คงจะต้องระมัดระวังในการตรวจ ไม่ใช่ค่าจะได้ค่าอะไรออกมาหลังหัวกระโหลก phoropter แล้วจะเป็นค่าที่ต้องเชื่อทั้งหมด แต่ควรจะมี back up check บน free space ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการทำ Cover Test  การทำ Over Refraction หรือการทำ Maddox ,Worth-4-dot ซ้ำอีกทีเพื่อความมั่นใจ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เก้าอี้ตรวจตาที่ไม่มีที่รองศีรษะ แล้วให้คนไข้ชะโงกเข้าหาเครื่อง  เป็นเรื่องที่เสี่ยงมากเกี่ยวกับ centering ของคนไข้ขณะมองผ่าน aperture ของ phoropter เพราะสามารถ induce fales positive ได้มากมาย โดยเฉพาะ vertical phoria

 

2.2 Esophoria @ Distant 

Esophoria หรือ เหล่เข้าซ่อนเร้นแบบหลบในนั้น มีได้อยู่หลายสาเหตุ การใช้เลนส์ที่ over minus ต่อเนื่องมาเป็นเวลานานก็สามารถถูก induce ให้เกิด eso ได้เช่นกัน ซึ่งการ test ก็มีอยู่หลายวิธี ซึ่งที่ทำบ่อยๆเช่น Cover Test ซึ่งเป็น objective test ที่ดี แต่เราจะสังเกตไม่เห็นถ้าคนไข้มีต่ำกว่า 3 prism  ดังนั้นวิธีที่ใช้บ่อยคือ Dissociate phoria test อย่าง VonGrafe's technique  ซึ่งเป็น subjective test ที่ดี 

ส่วน esophoria ที่ได้จาก Maddox rod นั้นเป็นค่าที่มี reliability ที่ต่ำ เนื่องจากว่า target ที่คนไข้มองนั้นไม่ใช่ accommodative target  ทำให้ accommodation นั้นวิ่งเข้าไปอยู่ resitng state  เกิดเป็น activate accommodation ขึ้นมาแล้วไป induce eso ทำให้ eso ที่ได้จาก maddox นั้นมักเป็นค่าที่ over estimate eso

 

2.3 High Exophoria @ Near 

High Exophoria ในคนไข้ที่เป็น presbyopia นั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดามากๆ  เนื่องจาก accommodative convergence นั้นเริ่มจะตัดความสัมพันธ์ออกจากกัน และมักไม่ค่อยมี complain อะไรมากนักแม้จะเป็น high exo มากก็ตาม  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ต้องตรวจ  เพราะถ้าเกิดว่าคนไข้เกิดกลายเป็นมี esophoria ซึ่งก็จะเป็นเรื่องที่ผิดธรรมชาติ และ ควรได้รับการแก้ไข

 

3. ตาหลังทำ Lasik 

3.1 Residual Refractive Error after Lasik

สายตาสั้น+เอียง ที่เหลือจากการทำเลสิก นั้นก็ไม่ใช่เรื่งอแปลกอะไร อย่างที่ผมได้เขียนเคสเกี่ยวกับการทำ Lasik ไปใน 2 คอนเทนท์ก่อน เมื่อให้ผู้ที่คิดจะทำนั้น ได้เข้าใจ และ ตั้งความหวังในใจว่า ต้องการอะไรจากเลสิก และมีอะไรบ้างที่ต้องยอมรับหลังทำเลสิก เพื่อประกอบในการตัดสินใจในการทำเลสิก  ซึ่งไปสามารถไปหาอ่านย้อนหลังได้จากลิ้ง https://www.loftoptometry.com/Lasik ดีไหม ??   https://www.loftoptometry.com/สายตายาวหลังทำเลสิก

 

ในเคสนี้ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่  คนไข้ทำเลสิก ไม่ได้คาดหวังว่าจะไม่ต้องใส่แว่น  แต่ขอให้สามารถเลือกแว่นได้อิสระมากขึ้น เนื่องจากสายตาก่อนทำเลสิกนั้น สายตาสั้นมากถึง -12.00D ซึ่งหาแว่นเบาๆใส่ยาก  แต่หลังทำไปแล้ว เหลือสั้นอยู่ 1.75/-1.50 ทั้งสั้นและเอียง ก็คือว่า make sense เพราะว่าอย่างน้อยก็สามารถเลือกแว่นได้อิสระมากขึ้น ดังนั้น การที่จะคาดหวังว่า สายตาหลังทำแล้วจะเป็น emmetrope  plano 0.00 นั้นเป็นไปได้ยากมาก  ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องทำใจอย่างแรก

 

จากรูปจะเห็นว่าผิวกระจกตาที่ผ่านการทำ Lasik มาจะแบนราบ ยิ่งในสายตาที่สั้นมากๆ ยิ่งต้องเจียร์กระจกตาให้แบนลงให้มาก  ในบางคนที่สายตาสั้นมากๆ และกระจกตาไม่หนามากพอนั้น อาจต้องทิ้งสายตาสั้นให้เหลือไว้บางส่วน เพื่อให้กระจกตานั้นมีความหนาพอที่คงไม่ส่งผลเสียกับความแข็งแรงกระจกตา   และยังต้อง concern ในคนไข้ที่เสี่ยงต้อหิน เนื่องจากต้องมอนิเตอร์ความดันตา  ซึ่งกระจกตาที่บางกว่าปกติ อาจจะทำให้ค่าที่ได้นั้น ต่ำกว่าความเป็นจริงได้ 

 

3.2 Dry Eye

อย่างที่ได้พูดไปแล้ว ว่าการทำเลสิกนั้นจะต้องใจ เลเซอร์ เจียร์ไปที่กระจกตา ทำให้เส้นปลายประสาทบริเวณกระจกนั้นได้รับผลกระทบไปด้วย  ผลคือความไวของปลายประสาทต่อการกระตุ้นให้หลั่งน้ำตานั้นจะลดลง ส่งผลให้คนไข้เลสิกนั้นมักตามมาด้วยปัญหาตาแห้ง  ซึ่งถ้าคนไข้เป็นคนที่มีปัญหาตาแห้งอยู่แล้ว แพทย์มักจะไม่แนะนำให้ทำ เพราะจะยิ่งแห้งมากขึ้น

อ่าน Dry Eye เพิ่มเติมได้จากลิ้ง  https://www.loftoptometry.com/Eyecare/DryEye

 

3.3 Glare &Flare 

แสงฟุ้ง หรือ ไม่ชัด โดยเฉพาะในเวลากลางคืนนั้น  เกิดได้จากทั้งจาก Lower order aberration (LOA)  คือสั้น ยาว เอียง ที่ยังเป็น uncorrected อยู่ หรือ เป็นได้ทั้งจาก Higher order aberration (HOA) ที่แม้จะแก้ สั้น ยาว เอียง อย่างดีแล้ว ก็ยังมักจะมีปัญหาเรื่องแสงฟุ้งอยู่  โดยเฉพะาอย่างยิ่งในเวลากลางคืนที่รูม่านตามีการขยายใหญ่ขึ้นมา  จะทำให้เกิด spherical aberration มาก 

ดังนั้น คนไข้เลสิก ที่มีรูม่านตาขยายในที่มืดมากๆ นั้นจะต้องระวังเรื่องแสงฟุ้งจาก HOA ในเวลากลางคืนมาก  ซึ่งจาก  DNEye scan Aberrometer นั้น เห็นได้ชัดเจนว่า คนไข้มี HOA ค่อนข้างสูง  

 

แก้แสงฟุ้งจาก HOA

Aberration คือความคลาดเคลื่อนของโฟกัส ซึ่งมีอยู่สองระดับคือ ระดับต้น หรือ lower order aberration  ได้แก่  Defocus ( สายตาสั้น / สายตายาว)  ,Astigmatism (สายตาเอียง)  และปริซึม   และ Higer order aberration ซึ่งเป็นความคลาดเคลื่อนในระดับที่ละเอียดขึ้นไป ได้แก่  coma ,trefoil,spherical aberration

 


จากรูปไดอะแกรม  Zernike polynomials  :  
แถวแรกจะเป็นการโฟกัสในอุดมคติ ที่ไม่มี aberration เลย 
แถวที่ 2-3 เป็น Lower order aberration ได้แก่ Defocus Astigmatism และ Prism 
แถวที่ 4 ลงมาเป็น Higher order Aberration ซึ่งเป็นความคลาดเคลื่อนในระดับละเอียด

 

ซึ่ง LOA นั้นเราได้จากการตรวจทั้งด้วยวิธี Objective และ Subjective ที่ได้จากการตรวจสายตาตาม routine ปกติทั่วไป

 

ส่วน HOA นั้น เป็นค่า pure objective test  ที่ต้องอาศัยค่าจากเครื่อง aberrometer  ในการ detect คนไข้ว่ามี HOA มากน้อยแค่ไหน รวบกวนในการใช้ชีวิตหรือไม่

 

เนื่องจาก HOA นั้นเป็น ความความคลาดเคลื่อนของโฟกัสในระดับละเอียด ที่มีขนาดกำลังนั้นเล็กมาก  ดังนั้น การหดการขยายของรูม่านตานั้นส่งผลโดยตรงกับปริมาณของ HOA   เนื่องจากรูที่หดเล็ก ทำให้ เกิด depth of focus ซึ่งความต่างของรูม่านตาปริมาณ​ 3 มม.นั้น สามารถกลบ HOA เกือบทั้งหมด  ดังนั้นในกลางวันขณะที่รูม่านตาหดเล็กนั้น คนไข้จะไม่ค่อยได้รับผลกระทบจาก HOA เท่าใดนัก เว้นเสียแต่ว่าในคนไข้ที่มี HOA มากเกินไป

รูปที่ Demonstrate ให้เห็นถึงเลนส์ที่มีการ compensate HOA+LOA ขวามือ ซึ่งจะเห็นว่าภาพคมชัด และ แสงฟุ้งน้อยกว่า ในขณะที่เลนส์ด้านซ้ายนั้น แก้เพียง HOA อย่างเดียว ภาพก็ยังคงชัดอยู่ แต่มีแสงฟุ้ง 

 

 

แต่ในเวลากลางคืนที่รูม่านตาขยาย  คนไข้จะรับรู้ถึง HOA มากขึ้น โดยเฉพาะจาก spherical aberration  จะทำให้คนไข้รับผลจาก ​HOA  ซึ่งมากน้อยขึ้นอยู่กับดวงตาแต่ละคน

แต่เนื่องจาก HOA เป็นค่าที่เราไม่สามารถมีส่วนร่วมได้เลย เนื่องจากเป็นค่าจากเครื่อง aberrometer ที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สร้างคลื่น wavefront วิ่งเข้าไปในดวงตาแล้วสะท้อนกลับ แล้วใช้ sensor ที่อยู่ในเครื่องทำหน้าที่รับทั้ง aberration ที่เป็น LOA และ HOA  แต่ค่าที่จะนำไปชดเชยนั้นจะเป็นค่า HOA ส่วนค่า LOA นั้นการตรวจด้วยวิธี objective test  ให้ค่าที่แม่นยำกว่า  อย่างในเคสนี้ 

ค่า LOA จาก  DNEye ได้ค่า

Refraction   pupil      

OD -meso            5.6 mm    -4.13 -0.88 x 80

OS -meso           5.2 mm     -4.00 -1.00 x 81

 

ค่าที่ได้จากการตรวจทางคลินิก

OD -1.75 -1.50 x 87

OS -1.25 -2.50 x 87

 

4.คนไข้ใช้ SV ดูทุกระยะได้อย่างไร

เรื่องนี้ เราจะสังเกตได้บ่อยกับคนไข้ที่เป็น mixed hyperopic astig. หรือ compound hyperopic astig ที่มีองศาเอียงเป็นแบบ againt the rule

 

ซึ่งจะเป็นปรากฎการณ์เดียวกันกับ  over minus  ในคนไข้  compoud myopic astig.  ทำให้คนไข้สามารถมองเห็นทั้งระยะไกล และ ระยะใกล้ ซึ่งเป็นความชัดแบบมีเงา แต่สามารถใช้ชีวิตได้

 

คนไข้กลุ่มนี้จะต้องเลื่อนหน้าเข้าไปใกล้ เพื่อให้ circle of least confusion ของ uncorrected compound astig นั้นตกอยู่ที่จุดรับภาพ แล้วใช้ accommodation ที่เหลืออยู่นั้น พยายามเพ่งให้ชัด และการดูใกล้มากๆ จะทำให้รูม่านตาหดเล็กลง ซึ่งจะเกิด depth of focus 0.50D  ถึง 0.75D ได้ 

 

ซึ่งเรามักจะเห็นคนที่เป็นลักษณะนี้ในผู้สูงอายุ ที่ไม่ใส่แว่น แต่กลับมองไกลก็เห็น อ่านหนังสือก็เห็น  จากเหตุผลข้างต้น  

 

ทิ้งท้าย 

ทิ้งท้ายวันนี้  คงไม่ใช่เรื่องสรุปในเคส  แต่อยากจะอธิบายเล็กน้อยว่าทำไม  case study ผมไม่ค่อย refer ถึงค่าสายตาเดิมที่คนไข้ใส่มา

เหตุผลค่า ด้วยค่าที่มาจากคอมพิวเตอร์มาเป็นอย่างนี้   การทำงานในคลินิกทัศนมาตรจึงไม่สามารถยอมรับค่าที่ได้จากเครื่องวัดสายตาด้วยระบบคอมพิวเตอร์  และเนื่องจากการวัดสายตาส่วนใหญ่ในบ้านเรานั้นมักเป็นค่าที่ได้จากการวัดด้วยระบบคอมพิวเตอร์  หรือ เอาทัศนมาตรไปนั่งคุมเครื่อง ดังจะเห็นหลายๆที่ส่วนใหญ่ยังโปรโมทเครื่องคอมพิวเตอร์วัดสายตากันอยู่ หรือยังโปรโมทเรื่องเทคโนโลยีวัดสายตาคอมพิวเตอร์กันอยู่ แต่คอมพิวเตอร์ก็ให้ค่าดังกล่าวมาข้างต้น  


ดังนั้น ความน่าเชื่อถือต่อค่าสายตาจึงไม่ค่อยมี และนั่นคือสาเหตุว่าทำไมผมจึงไม่มักไม่สนใจ   ลืมที่จะสนใจค่าเดิมที่คนไข้ใช้อยู่ หรือชินอยู่ และมักจะไม่ได้ record ค่าสายตาแว่นเดิมที่คนไข้ใส่มา ผมจึงสนใจแค่คุณภาพหรือประสิทธิภาพของคนไข้ขณะที่มองเห็นอยู่นั้นคือ Visual acuity ที่มองผ่านแว่นที่มีปัญหา และจะบันทึกก็ต่อเมื่อ ค่าแว่นที่ใส่อยู่นั้นเป็นค่าที่ใกล้เคียงค่าจริง แต่คนไข้ยังมี complain ผมจึงจะนำค่าเดิมของคนไข้มาประเมิน ว่าจะสามารถช่วยให้คนไข้ดีขึ้นมากน้อยแค่ไหน  

 

จริงการทำงานแบบนี้ไม่ถูกต้องทางคลินิกในโรงเรียนทัศนมาตร เพราะครูสอนเสมอว่า ต้องทำ และต้องทำเป็นสิ่งแรก คือเช็คแว่นเก่า แล้วจด ถ้าไม่จดก็คือว่าไม่ได้ทำ และทำการหักคะแนน  แต่ในการปฎิบัติงานทางคลินิกจริง  ถ้าเรารู้ว่าแว่นอันนี้มันไม่มีประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ ก็คงเลือกที่จะไม่สนใจ เพราะเวลามีน้อย มีเรื่องอื่นต้องดูต้องตรวจมาก เพราะไม่มีครูมาให้คะแนนว่าตรวจเต็มไหม  จุดนี้ที่จะขยี้คือ ครูที่โรงเรียนสอนมาดี สอนมาทุกอย่าง  แต่การปฏิบัติงานจริงก็อีกอย่างเหมือนกัน และ ห้องตรวจ กับ lensometer ก็ไกลเหลือเกิน ทำงานคนเดียว เดินไปเดินมา เสียเวลามาก

 

 


และอีกอย่าง การดึงค่าสายตาเดิมที่คนไข้ใส่อยู่แล้วมีปัญหามีพูดถึงในคอนเทนท์  มองอีกมุมหนึ่ง ก็ไม่เกิดประโยชน์กับใคร  กลายเป็นการ บลัฟ กันมากกว่า และย่ิงทำให้คนไข้ไม่สบายใจ กลายเป็นโกรธหรือไม่พอใจคนที่ทำไม่ดีให้ให้  ซึ่งดูแล้วเป็นผลเสียมากกว่าผลดี  ไหนๆค่ากำลังเดิมมีปัญหาอยู่แล้ว และไม่มีประโยชน์อะไรแล้ว ก็อย่าไปรู้มันเลยเสียดีกว่า 



ผมจึงไม่เคยมีคำถามว่า "ไปทำแว่นมาจากไหน หรือ ใครตรวจให้" เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะฟื้นฝอยหาตะเข็บ  ถ้าแว่นพึ่งทำมาก็มักจะให้คนไข้ถือค่าสายตากลับไปเคลมร้านที่ทำมาโดยผมก็ไม่อยากรู้ว่าไปเคลมที่ไหน  ไม่มีประโยชน์   



ดังนั้นถ้าเกิดว่า บางค่าที่ผมไม่ได้ record ตาม routine ในคลินิกมหาวิทยาลัย เพื่อส่งครูนั้น ก็ให้ถือว่าเป็นค่าที่ผมไม่ได้ให้ priority หรือ เป็นค่าที่ผมต้องนำมาวิเคราะห์ปัญหา  
 

อยากให้ทราบตรงกัน

 

ขอบคุณทุกท่านสำหรับการติดตาม 

ดร.ลอฟท์​


 


 Lens Spect  

Lens : Rodenstock Multigressiv MyView 2  1.6 + DNEye technology

Coating : Solitaire Protect Plus 2 x-clean

 

 Refraction 

OD -1.75 -1.50 x80   Add 1.50     0.5BO

OS-1.50 -1.75 x 90    Add 1.50    0.5 BO

 

DNEye Order Value (objective value)

Far

OD -2.14 - 1.27 x 80

OS -1.86 -1.48 x89

Near

OD -0.91-1.43x78

OS -0.54-1.69x90

 

 Frame  Spect 

Lindberg Strip Titanium Custom spect

LINDBERG strip titanium 

MODEL: 9613 54#15

TEMPLES: 135 406

FRONT COLOUR: 10

TEMPLE COLOUR: 10

Engraved Name :  ******

 

 Reference image 

Lindberg 9613 custom 

 

 

Lens  parameter data