Rodenstock Lens Technology  

ตอนที่ 1 : Wavefront technology กุญแจสำคัญแห่งความสำเร็จของ Impression FreeSign3

เรื่องโดย ดร.ลอฟท์ 


สวัสดีครับ วันนี้มี content เกี่ยวกับเลนส์โปรเกรสซีฟที่ถือว่า ใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนที่สุด มีประสิทธิภาพดีที่สุด มีความเฉพาะบุคคลมากที่สุด และเป็นรุ่นที่ดีที่สุดของแบรนด์ที่ดีที่สุด นั่นก็คือเลนส์โปรเกรสซีฟรุ่น Impression FreeSign ของค่าย Rodenstock นั่นเอง สำหรับชื่อแบรนด์ Rodenstock นั้นอาจจะเป็นแบรนด์ใหม่สำหรับหลายๆท่าน แต่แท้จริงแล้วนั้นอายุแบรนด์นั้นเก่าแก่ยาวนานถึง 140 ปี และยืดหยัดยืนยงมายาวนาน และเป็นที่ยอมรับกันในตลาดเลนส์ว่า เป็นแบรนด์ที่มีเทคโนโลยีการผลิตที่ดีที่สุด (และราคาก็แพงที่สุดด้วย) แต่เนื่องจาก brand positioning นั้นเป็น พรีเมี่ยมแบรนด์ดังนั้น เราจะไม่ค่อยไห้เห็นโรเด้นสต๊อกลงไปเล่นตลาดกันสักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะใช้กันในเฉพาะกลุ่มพรีเมี่ยม ซึ่งวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเลนส์รุ่นนี้กันว่า โรเด้นสต๊อกเขาใช้เทคโนโลยีอะไรบ้างในการออกแบบเลนส์รุ่นนี้

ความโดดเด่นจริงๆของ Impression FreeSign3 ที่ดีกว่ารุ่นอื่นๆในค่ายคือมีความอิสระในการออกแบบโครงสร้างได้มากที่สุด ด้วย “Design parameter technology” ซึ่งทำให้ “ผู้บริโภคสามารถออกแบบโครงสร้างโปรเกรสซีฟได้ด้วยตัวเอง” ซึ่งโรเด้นสต๊อกสร้างเครื่องมือขึ้นมาช่วยให้การออกแบบนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายๆด้วยโปรแกรม Impression Consulting Tools ที่สามารถจำลองโครงสร้างเสมือนจริง และผู้ใช้สามารถปรับแต่งโครงสร้างได้ด้วยตัวเอง ซึ่งจะว่ากันในรายละเอียดต่อไป

ทำให้ Impression FreeSign3 นั้นได้รับการ Claim ว่า “No adaptation time” ผู้สวมใส่สามารถปรับตัวเข้ากับโครสร้างได้ในทันทีที่สวมใส่ เนื่องจากมีภาพบิดเบี้ยวที่น้อย สนามภาพที่กว้าง และตำแหน่งการใช้งานบนตัวเลนส์เหมาะสมต่อการใช้งาน ผู้ที่เริ่มใส่จึงแทบไม่ต้องปรับตัวเข้าหาเลนส์ แต่เลนส์จะเป็นตัวปรับเข้าหาผู้ใช้เอง ดังนั้นวันนี้ผมจะพาแฟนคอลัมน์ทุก่านไปรู้จักเลนส์ตัวนี้กัน

บทนำ

เลนส์โปรเกรสซีฟในปัจจุบันนั้นสามารถสั่งออกแบบได้เฉพาะบุคคลเช่นเดียวกับ "สูทสั่งตัดเฉพาะคน" ซึ่งต้องวัดรอบ อก รอบเอว ใต้รักแร้ ความยาวแขน ขา เพื่อให้ได้สูทที่ใส่สบายและดูดีให้มากที่สุด ไม่ใหญ่ไม่คับเกินไป ซึ่งต้องการช่างที่มีฝีมือในการวัดสัดส่วนและช่างตัดเย็บที่สามารถสั่งทำได้ตามสเป๊ค สูทจึงจะสามารถทำออกมาแล้วใส่สบายที่สุด  และแน่นอนว่าราคาสูทสั่งตัดย่อมแพงกว่าสูทเช่าหรือสูทสำเร็จ แต่สิ่งที่จะได้กับการจ่ายที่แพงกว่าคือ "ใส่สบาย" เลนส์โปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคลก็เช่นกัน 

เลนส์โปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคลนั้น ต้องการตัวแปรเฉพาะบุคคลในการออกแบบโครงร้าง ได้แก่ ค่าสายตาที่ถูกต้องและแม่นยำ ข้อมูลของกรอบแว่นตา ได้แก่ความกว้าง ความสูง สะพานจมูกแว่น  ข้อมูลเซนเตอร์ของตำแหน่งตาดำ ได้แก่ ระยะพีดี (ระยะห่างระหว่างกึ่งกลางจมูกถึงกลางตาดำของแต่ละข้าง) และระยะ fitting hight  รวมไปถึงค่าพารามิเตอร์เฉพาะกรอบแว่นขณะสวมใส่ (Individual Frame Parameter ) ได้แก่ความโค้งของหน้าแว่น,มุมองศาเทของหน้าแว่น และ ระยะจากผิวหลังเลนส์ถึงผิวกระจกตา และความต้องการส่วนตัวเกี่ยวกับสนามภาพสำหรับใช้งาน (personal visual demand)  ค่าทั้งหมดนี้จะถูกนำไปคำนวณในการออกแบบโครงสร้างโปรเกรสซีฟเฉพาะคน  เลนส์ที่ออกแบบมาแต่ละคู่ของ Impression FreeSign 3 จึงเป็นเลนส์ที่ไม่มี defect  สามารถให้ optic ที่ดีที่สุด ในแต่ละกรอบแว่น มีสนามภาพที่กว้างและเหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละบุคคลอย่างแท้จริง และผู้ใช้ส่วนใหญ่สามารถปรับตัวได้ในทันทีที่สวมใส่และเป็นเลนส์ที่ได้คะแนนที่หนึ่ง จากสถาบันวิจัย Swiss ว่าเป็นเลนส์ดีที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มเลนส์พรีเมี่ยมค่ายอื่นๆ รวมถึงรุ่นต่างๆในค่ายเดียวกัน

และเนื่องจากเลนส์ Impression FreeSign นั้นใช้เทคโนโลยีสูงที่สุดที่โรเด้นสต๊อกมี ดังนั้นถ้าหาเราสามารถเข้าใจพื้นฐานเลนส์โรเด้นสต๊อกได้ทั้งหมดแล้ว เราจะสามารถทำความเข้าใจเลนส์รุ่นอื่นๆได้ไม่ยาก มาเริ่มกันเลย

Impression FreeSign® success story

ในปี 2007 Rodenstock ได้เปิดตัวเลนส์โปรเกรสซีฟรุ่น Impression FreeSign® สำหรับในยุคนั้นมันคือรุ่นที่ดีที่สุดและใช้เทคโนโลยีสูงสุดเท่าที่เคยทำมา เป็นครั้งแรกของเทคโนโลยีเลนส์โปรเกรสซีฟ ที่ผู้ใช้งานโปรเกรสซีฟนั้นสามารถออกแบบมุมมองการมอเห็นได้ด้วยตัวเอง นับว่าเป็นครั้งแรกของโลกที่เริ่มใช้ตัวแปร “พฤติกรรม หรือลักษณะนิสัย หรือความต้องการเฉพาะคน (personal vision demand)” เข้าไปในการคำนวณโครงสร้าง และ Impression FreeSign® นั้นถือว่าเป็น”เรือธง”ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของโรเด้นสต๊อก ในการเป็นเจ้าแห่งเลนส์โปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล (individual progressive lens) ซึ่งเริ่มครั้งแรกแรกในรุ่น impression ILT® ในปี 2000 และพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ เป็น Impression Family ได้แก่

Impression ILT® (2000)

concept : " เลนส์โปรเกรสซีฟสำหรับแว่นกรอบโค้ง " ด้วยการคำนวณค่าพารามิเตอร์ของแต่ละกรอบแว่นขณะสวมใส่อยู่บนใบหน้าของแต่ละคน ทำให้ได้โครงสร้างโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคลที่สมบูรณ์แบบ ในทุกค่าสายตาและกรอบแว่นทุกประเภท สามารถทำบนแว่นกรอบโค้งได้สูงสุด 15 องศา

Impression Sport® (2004)

concept : " เลนส์โปรเกรสซีฟสำหรับกีฬา" ออกแบบโดยเปิดพื้นที่สนามภาพมองไกลให้กว้าง กลางให้กว้าง เน้น dynamic vision ทำภาพบิดเบี้ยวหรือวูบวาบต่ำ ใส่ง่าย ปรับตัวง่าย เหมาะสำหรับกีฬาที่มีการเคลื่อนที่แบบ dynamic vision มากๆ  และด้วยกรอบแว่นสปอร์ตที่โค้งผิดธรรมชาติ  ซึ่ง Sport นั้นรองรับความโค้งของกรอบสูงถึง 30 องศา 

Impression 40/80 (2005)

concetp : " เลนส์โปเกรเกรสซีฟเฉพาะทางที่เน้นการออกแบบให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้สายตาขณะทำงานเป็นหลัก" ทำให้สนามภาพ (ในระยะกลางใกล้) ที่กว้างและอยู่ในตำแหน่งที่สอดคล้องกับหลัก Ergonomic ซึ่งปัจจุบัน พัฒนาไปเป็น Impression Ergo®2 และ Ergo FreeSign®2

Impression Mono® (2005)

concetp : "เลนส์ single vision เฉพาะบุคคล" เลนส์ชั้นเดียวเฉพาะบุคคล (individual single vision lens ) ที่ให้โครงสร้างที่ดีเยี่ยมบนกรอบแว่นทุกประเภท และให้ภาพที่คมได้จรดขอบเลนส์ 

Impression FashionCurve® 

concetp : "เลนส์โปรเกรสซีฟ สำหรับแว่นกันแดดกรอบโค้ง" ออกแบบโค้งใช้โครงสร้างแบบ perfect balance ให้ความสำคัญของสนามภาพใช้งานทั้ง 3 ระยะเท่าๆกัน แต่ด้วยความเป็นเลนส์โปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล สำหรับแว่นกรอบโค้งแฟชั่น  สามารถทำบนแว่นกรอบโค้งสูงสุดถึง 20 องศา

Impression Hyperop®

 conctp : "เลนส์โปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล สำหรับคนที่สายตายาว (Hyperopia) มากๆ" ทำได้สูงถึง +13.00D (เลนส์ทั่วไปสำหรับตาบวกสามารถทำโปรเกรสซีฟได้ค่าสายตาสูงสุด +8.00D เท่านั้น)

Impression Myop®

concept :  " เลนส์โปรเกรสซีฟเฉพาะบุคล สำหรับคนที่สายตาสั้นมากๆ" ได้สูงถึง -17.25 D ในขณะที่เลนส์ค่ายอื่นนั้นทำได้เพียง -10.00D

Impression Ergo® 

concetp : "เลนส์โปรเกรสซีฟเฉพาะทางกลางใกล้" ออกแบบมาเฉพาะบุคคลและเฉพาะแต่ละกรอบแว่น มี 3 ดีไซน์ให้เลือก Book ,PC ,Room เป็นเลนส์ที่เหมาะกับการทำงาน ที่ให้ทั้งสนามภาพที่กว้าง ภาพบิดเบี้ยวที่ต่ำมากๆ และที่สำคัญและโดดเด่นกว่าโปรเกรสซีฟ คือตำแหน่งใช้งานนั้นถูกต้องตามหลักการ Ergonomic in work place

Impression Ergo FreeSign®

เลนส์โปรเกรสซีฟเฉพาะทางกลางใกล้ ที่สามารถออกแบบให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการทำงานของแต่บุคคล ในกรณีที่งานที่ทำนั้น ไม่ใช่ Book,PC หรือ Room เช่นหมอฟัน ที่ต้องทำงานดูใกล้มากกว่าปกติ หรือช่างเจียรนัยเพชรที่ต้องดูใกล้มากเป็นพิเศษ เป็นต้น

Impression FreeSign®

concetp design : "เลนส์โปรเกรสซีฟเฉพาะพฤติกรรมแต่ละบุคคล" ที่ผู้ใช้สามารถออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละบุคคลได้ ซึ่งถูกพัฒนามาถึง 3 Generation : Impression FreeSign, Impression FreeSign 2 และปัจจุบันคือ Impression FreeSign 3 และ Impression FreeSign PRO ซึ่งเป็น option พิเศษสำหรับรุ่นที่ใช้เทคโนโลยี DNEye Pro ในการออกแบบ 

ซึ่งวันนี้เราจะมารู้จักกับ Impression FreeSign3 ว่ามีเทคโนโลยีที่น่าสนใจอย่างไรบ้าง ซึ่งเรื่องราวที่จะเล่าต่อไปนี้ จะเป็นเรื่องราวของการออกแบบเลนส์ Impression FreeSign ทั้งในส่วนเทคนิคการผลิต และ คุณสมบัติของ optic และคุณประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับ และผมได้นำตัวอย่างการออกแบบโครงสร้างด้วย Impression Consulting เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนว่าการออกแบบโครงสร้างเลนส์โปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคลนั้นทำกันอย่างไร

Impression FreeSign เป็นเครื่องที่แสดงถึงความสามารถของทีม R&D ของโรเด้นสต๊อกที่พยายามก้าวข้ามขีดจำกัดทางฟิสิกส์ต่างๆในการออกแบบโครงสร้างเลนส์ จนสามารถพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบบฟรีฟอร์ม (3D Free form) ที่ล้ำสมัยและมีประสิทธิภาพสูงและมีเทคโนโลยีการคำนวณตัวแปรเฉพาะบุคคล เพื่อให้เข้าใกล้ความเป็นเฉพาะบุคคลสูงสุดใน Impression ILT จนกระทั่งปัจจุบันโรเด้นสต๊อกสามารถคำนวณตัวแปร Personal vision demand เข้าไปในการออกแบบโครงสร้างเลนส์เฉพาะบุคคลได้โดยตรงได้เป็นที่เรียบร้อยใน Imprression FreeSign1-3 ในปัจจุบัน

Personal Vision Demand

“พฤติกรรมการใช้สายตา”หรือ personal vision demand คือตัวแปรสำคัญที่ทำให้ Impression FreeSing 3 สามารถทะลุขีดจำกัดของเลนส์โปรเกรสซีฟแบบเดิม ซึ่งมีลำดับการเกิดขึ้นดังนี้

เริ่มจากโรเด้นสต๊อกสามารถพัฒนา “เลนส์โปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล” สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลกในปี 2000 ซึ่งเหตุการณ์สำคัญครั้งนั้นถือเป็นจุดสำคัญว่า “เราสามารถสร้างคุณสมบัติของที่สมบูรณ์แบบที่สุดและสวมใส่สบายที่สุด บนกรอบแว่นทุกรูปแบบ” จากจุดนี้โรเด้นสต๊อกได้พัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์โปรเกรสซีฟรุ่นพิเศษต่างๆ ได้แก่ กลุ่ม Sport (Impression Sport ในปี 2004) ,กลุ่มเฉพาะทางกลางใกล้ (Impression 40/80 ในปี 2005 ปัจจุบันพัฒนาเป็น Impression Ergo) , รวมถึงเลนส์ชั้นเดียวเฉพาะบุคคลอย่าง Impression Mono ในปี 2005 ด้วย) ที่พูดถึงข้างต้น

ปัจจุบันเรามักจะได้ยินเกี่ยวกับ“เลนส์โปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล”เลนส์หลายๆค่ายต่างเข็นโพรดักซ์โปรเกรสซีฟกลุ่มนี้ออกมาขาย ซึ่งนิยามของการเป็นเลนส์เฉพาะบุคคลของเลนส์แต่ละค่ายนั้นก็มีความแตกต่างกันออกไป บ้างก็ว่าเป็นเลนส์ที่ออกแบบเฉพาะกรอบแว่นขณะสวมใส่(เช่น Impression ILT ของโรเด้นสต๊อก และ Individual FrameFit ของ Zeiss) บ้างก็ว่าออกแบบตามพฤติกรรมการกลอกตาหรือใช้การเคลื่อนที่ของศีรษะขณะอ่านหนังสือ (head and eye movement) เช่น Ipsio ของ Essilor (ปัจจุบันเลิกผลิตไปแล้ว) หรือ Trinity ของ Hoya ก็เรียกตัวเองว่าเป็นเลนส์ที่ออกแบบตามพฤติกรรมผู้ใช้งานเหมือนกัน ดังนั้นเราต้องมาทำความเข้าใจกับคำว่าเลนส์ออกแบบเฉพาะบุคคลก่อนว่าคืออะไร จะได้เข้าใจตรงกัน

อย่างไรที่เรียกว่าการออกแบบ “เลนส์เฉพาะบุคคล”

การที่จะออกแบบแต่ละจุดบนพื้นผิวโครงสร้างเลนส์โปรเกรสซีฟให้แต่ละจุดนั้นมีความความจำเพาะเจาะจงนั้น ( unique in every single tiny point) เทคโนโลยีการออกแบบและเทคโนโลยีการขัดพื้นผิวเลนส์นั้น จะเกิดขึ้นได้หลังจากได้รับออเดอร์และตัวแปรต่างๆที่จำเป็นในการคำนวณโครงสร้างของแต่ละคนเช่น ค่าสายตา(refractive error) ค่าพารามิเตอร์เฉพาะกรอบแว่นขณะสวมใส่(individual parameter) ได้แก่ ความโค้งของหน้าแว่น (face form angle) ,ระยะห่างระหว่างเลนส์ถึงกระจกตา(Cornea Vertex Distant),มุมเทหน้าแว่น (pantoscopic tilt angle) และระยะห่างระหว่างตาทั้งสองข้าง (pupillary distant) แล้วนำค่าต่างๆเหล่านี้ มาคำนวณเพื่อหาโครงสร้างโปรเกรสซีฟที่ดีที่สุด แล้วจึงนำโครงสร้างที่ผ่านการคำนวณนี้ส่งต่อให้ cnc-freeform ท่ีมีความละเอียดแม่นยำสูงไปขัดให้ได้โครงตามที่คำนวณมา เลนส์ที่ได้จึงจะเรียกว่าเลนส์เฉพาะบุคคลที่มีความคลาดเลื่อนน้อยสุด มีสนามภาพที่กว้างที่สุด และมีตำแหน่งการใช้งานที่เหมาะสมต่อการใช้งานจริงๆ และส่ิงสำคัญที่สุดคือการคำนวนทั้งหมดนี้เกิดขึ้นหลังจากได้รับออเดอร์แล้วเท่านั้น จะต้องไม่มีการขึ้นรูปโครงสร้างใดๆสำเร็จล่วงหน้าไว้

ในขณะที่เลนส์เฉพาะบุคคลแบบเทียมนั้น ใช้โครงสร้างสำเร็จที่หล่อผ่านแม่พิมพ์ โดยใช้ค่ามาตรฐานสำเร็จในการออกแบบโครงสร้าง ซึ่งโครงสร้างนั้นสำเร็จตั้งแต่ยังไม่ได้รับออเดอร์ด้วยซ้ำไป

ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่เลนส์เฉพาะบุคคล(ไม่แท้) จะสามารถให้ภาพที่คมชัด สนามภาพที่กว้างอย่างเลนส์ในทุกกรอบแว่นเฉพาะบุคคลจริงๆอย่างกับเลนส์เฉพาะบุคคลแท้ๆ  เนื่องจากการหล่อโครงสร้างสำเร็จที่ที่ผิวหน้าเลนส์แล้วมาแก้ไขที่ผิวหลังนั้น ไม่สามารถสร้างโครงสร้างที่จำเพาะคนได้ 

หากจะให้สรุปให้เห็นภาพรวมจะพบว่า หัวใจของเลนส์เฉพาะบุคคลนั้น อยู่ที่ 2 ปัจจัยคือ เทคโนโลยีการคำนวณ (software) และความแม่นยำของเครื่องมือที่ใช้ขัด(hardware) ดังนั้นเราจะมาเน้นที่ 2 เรื่องนี้ ซึ่งจะมาดูในส่วนของ hardware ก่อน  

3D Freeform Technology กับความแม่นยำของค่าสายตาในระดับ 0.1 D/Step 

สิ่งที่เทคโนโลยี cnc-free form ของโรเด้นสต๊อกที่สามารถทำได้เหนือกว่าเลนส์ทั่วไปคือ ความแม่นยำของการขัดค่าสายตานั้นอยู่ในระดับ 0.1D/step (เทคโนโลยีขนาดนี้นั้นโรเด้นสต๊อกสามารถทำได้ตั้งแต่เกือบ 20 ปีที่แล้ว แต่เดิมนั้นจะเปิดให้สั่งได้เฉพาะในเลนส์ตระกูลสูงๆอย่าง Impression FreeSign แต่ปัจจุบันแม้แต่เลนส์ชั้นเดียวรุ่นพื้นฐานอย่าง Perfalit Mono Plus นั้นก็สามารถสั่งค่าสายตาในความละเอียดสเตปละ 0.12D ได้แล้ว อยู่ที่ผู้วัดสายตาแล้วหล่ะว่าจะลงได้ละเอียดขนาดไหน) ซึ่งแสดงถึงความแม่นยำของเทคโนโลยีการขัดที่ล้ำหน้าไปกว่าเลนส์ค่ายอื่นๆมาก 

3D Freeform Technology เป็นเทคโนโลยีการขัดแบบดิจิทัล (cnc-freeform technology ) ที่ให้ความละเอียดและแม่นยำของค่าสายตาถึง 0.1D Rodenstock คิดค้นเทคนิคการขัดแบบนี้ได้เป็นรายแรกในปี 2000 และใช้ในผลิตภัณฑ์เลนส์เฉพาะบุคคลรุ่นแรกคือ Impression ILT

บางท่านอาจไม่เข้าใจว่า ต่างกันเพียงนิดเดียว จะละเอียดทำเพื่อ ??? ซึ่งท่านต้องเข้าใจก่อนว่า ความละเอียดในระดับ 0.25 นั้น โลกสามารถทำได้มากกว่า 100 ปีที่แล้ว และปัจจุบันทุกค่ายก็ยังทำละเอียดได้เท่านั้น ในขณะที่โรเด้นสต๊อกนั้นสามารถลงในความละเอียดที่สูงยิ่งขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการคำนวณ การออกแบบ การชดเชยที่สามารถทำได้ดีที่สุดด้วย เพราะ 0.1D/step นั้นเป็นเพียงรูปธรรมเล็กๆ ที่ซ่อนอยู่ในเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ 

นั่นแสดงให้เห็นว่า จุดทุกจุดบนตัวเลนส์โรเด้นสต๊อกนั้นมีความจำเพาะ(every single point on lens unique)มากๆ ซึ่งกำลังค่าสายตาของเลนส์แต่ละจุดนั้น ได้มาจากตัวแปรเฉพาะบุคคลทั้งสิ้น ซึ่งความสามารถระดับนี้นั้น โรเด้นสต๊อกมีอยู่ในเลนส์เฉพาะบุคคลกลุ่ม impression Family 

Design Parameter Technology

หลังจากที่ Rodenstock เปิดตัวเลนส์โปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคลได้ไม่นาน ก็ได้คิดค้นโครงสร้างโปรเกรสซีฟที่มีความ "เฉพาะพฤติกรรมการใช้สายตาแต่ละบุคคลเข้าไปด้วย"  กับการเปิดตัว Impression FreeSign ที่มี Feature ใหม่คือ “ผู้ใช้สามารถออกแบบมุมมองที่ต้องการใช้งานได้ด้วยตัวเอง” หมายความว่า การออกแบบนั้นสามารถ กำหนดได้เลยว่า เน้นการมองไกลเท่าไหร่ เน้นระยะกลางหรือระยะคอมพิวเตอร์เท่าไหร่ เน้นระยะอ่านหนังสือเท่าไหร่ และโครงสร้างให้เหมาะสมกับกิจกรรมทั่วไปเท่าไหร่ เนื่องจากแต่ละคนนั้นมีลักษณะวิถีการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันไป เช่นบางคนทำงานที่ต้องติดต่อกับลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งต้องการเลนส์ที่ขับรถแล้วไม่มีภาพบิดเบี้ยวมากวนเมื่อมองไกลหรือเหลือบดูกระจกข้างและยังสามารถใช้งานสมาร์ทโฟนได้ปกติ หรือบางคนเป็นโปรแกรมเมอร์ที่ต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นหลักซึ่งต้องการระยะกลางที่กว้างเป็นพิเศษ หรือบางคนเป็นนักเขียนนักอ่าน ที่ต้องการดูใกล้ เขียนหรืออ่านหนังสือเป็นหลัก เป็นต้น ซึ่ง Impression FreeSign ทำให้ผู้ใช้งานนั้นสามารถออกแบบมุมมองของโปรเกรสซีฟให้เหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้งานของแต่ละคนได้

Caption

อิสระในการดีไซน์ (Freedom Design History)

Impression FreeSign3 นั้นถือว่าเป็นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคลหนึ่งเดียวในโลกที่สามารถปรับแต่งหรือเปลี่ยนโรงสร้างให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้ใช้งานได้แท้จริง เนื่องจากสามารถปรับแต่งความยาวคอริดอร์ได้อิสระ ในขณะที่เลนส์ค่ายอื่นๆนั้น คอริดอร์ยังถูกกำหนดไว้เพียง 2-3 ค่าเท่านั้น  

การออกแบบโครงสร้างโปรเกรสซีฟในรุ่นพื้นฐาน
การออกแบบเลนส์โปรเกรสซีฟสมัยก่อนนั้น โฟกัสของเลนส์จะถูก optimize ขึ้นบนค่ามาตรฐาน เช่น ใช้จำนวน base curve 4-5 base ในการคุมค่าสายตาเป็นช่วงๆ (ดูเรื่อง base curve effect ในบทความก่อนๆ) และออกแบบโครงสร้างจากพารามิเตอร์ของกรอบแว่นมาตรฐาน ( FFA=5 ,PT=8,CVD=13) และโครงสร้างโปรเกรสซีฟถูกจำกัดความยาวด้วย corridor เพียง 2-3 ค่าเท่านั้นเอง (เช่น Coridor 11,13,14,15 ) และการออกแบบการเยื้องของท่อโครงสร้าง(inset) นั้นก็จะ fixed ที่ 2.5 มม. หรือไม่ก็คำนวณจาก pd 32/32 เป็นต้น

FreeSign = Freedom Design

แต่ค่าที่ถูก fixed เหล่านี้จะไม่มีอีกต่อไปใน Impression FreeSign3 และเลนส์แต่ละคู่ จะถูกคำนวณให้เหมาะสมในเฉพาะแต่ละบุคคล เฉพาะลักษณะงาน เฉพาะไลฟ์สไตล์ ของแต่ละคน และเนื่องจากแต่ละคนนั้นไม่มีทางที่จะมี demand ของการใช้ชีวิต หรือใช้สายตาเหมือนกันทุกประการ ด้วย Impression FreeSign3 แต่ละคนจะได้เลนส์โปรเกสรซีฟที่ตอบสนองกับความต้องการของตัวเองอย่างแท้จริงๆ ผู้สวมใส่จึงสามารถปรับตัวได้ในทันทีที่สวมใส่ดังนั้นเมื่อพูดถึงเลนส์โปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล เราจะต้องซีเรียส ว่า เลนส์ที่จะสามารถออกแบบให้หลากหลายกับแต่ละบุคคลนั้น จะต้องไม่มีตัวแปรตัวแปรหนึ่งถูกกำหนดหรือขัดไว้ล่วงหน้าเช่น พารามิเตอร์ของกรอบแว่นตาขณะสวมใส่,ระยะ corridor , base curve หรือ inset ต้องสามารถปรับแต่งได้อิสระจึงจะเรียกได้ว่า เลนส์โปรเกรสซีฟคู่นั้นเป็นเลนส์เฉพาะบุคคล

ขั้นตอนการออกแบบโครงสร้างโปรเกรสซีฟสำหรับ impression FreeSign3

1.เข้าโปรแกรม 

Rodenstock Consulting : เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการออกแบบโครงสร้างสำหรับ impression FreeSign3 ซึ่งเมื่อเข้าไปในโปรแกรมจะมีหน้าตาของโปรแกรมเหมือนรูปบน

2.สร้างฐานข้อมูลผู้ใช้

สร้างฐานข้อมูลของคนไข้ และกรอกค่าต่างๆเกี่ยวกับค่าสายตา ค่าแอดดิชั่น ค่าพีดี รูปทรงกรอบ ขนาดกว้างสูงของกรอบ ค่าความโค้ง มุมเท ของหน้าแว่นเป็นต้น ในช่องต่างๆลงไปให้ครบ

3.Personal Vision Demand

จากนั้นก็เริ่มเลือกรูปที่เป็นชีวิตประจำวันของเราว่าใสแต่ละวันนั้นเราใช้สายตาทำอะไรบ้าง ซึ่งขัั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการเลือก individula vision demand ของเรา ซึ่งจะมีให้เลือกประมาณ 3 หน้า ซึ่งแต่ละรูปนั้นซอฟแวร์จะนำไปผูกกับโครงสร้างที่จะออกแบบ ซึ่งเลือกกี่ภาพก็ได้ เครื่องจะนำไปคำนวณ และ Recommend โครงสร้างที่มันคิดว่าเหมาะสมกับเรา ซึ่งถ้าเราเห็นต่างก็สามารถปรับแต่งภายหลังได้ 

4.Recommend Design Type

จากรูปที่เราเลือก โปรแกรมจะทำการเลือกว่า type ที่เหมาะสมกับเรานั้นควรจะเป็นแบบไหน ซึ่งจะมีกันอยู่ 3 แบบคือ 

i.Active : จะเป็นโครงสร้างที่ออกแบบมาสำหรับคนที่มีกิจกรรม outdoor มาก เช่น ขับรถ ท่องเที่ยว ปั่นจักรยาน ปูนเขา เล่นสกี คือใช้ชีวิตอยู่กับการมองไกลเป็นหลัก  โดยโครงสร้างที่ออกมาจะเน้นสนามภาพมองไกลที่กว้างกว่าแบบอื่นและไม่มีDistortion มารอบกวนเมื่อมองไกลหรือขับรถ และเมื่อเหลือบซ้ายขวาเร็วๆ ก็ไม่เกิดภาพที่วูบวาบ  และระยะกลางให้ความสำคัญรองลงมา และระยใกล้จะให้ priority น้อยสุด 

ii.Expert  : จะเป็นโครงสร้างที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับคนที่ใช้งานในระยะกลางและใกล้มากที่สุดแต่ก็ยังต้องการมองไกลที่คมชัดด้วย เช่นวิศวกร สถาปนิก โปรแกรมเมอร์ หรือคนที่ต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์และดูใกล้เป็นหลัก ซึ่งโครงสร้างที่ออกมาจะเน้นความเสถียรภาพในการมองไกล กลาง ใกล้ ไม่วูบวาบ เน้นการใช้สายตาในแนวดิ่ง และเน้นนุ่มด้านข้าง ขณะที่ Active จะเน้นการใช้สายตาแบบ Dynamic เช่นกลอกไปมาเร็วๆมากกว่า 

iii.Allaround : Allaround นั้นออกแบบมาสำหรับคนที่ให้ความสำคัญกับทุกระยะเท่าๆกัน ไม่เน้นระยะใดระยะหนึ่งเป็นพิเศษ ลักษณะโครงสร้างจะเป็นแบบบาลานซ์ สบายๆ กลางๆ ไม่สุดโต่งไปในงานชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นพิเศษ  

3.เลือกระยะดูใกล้ (Reading Distant)

ในการวัดสายตาเพื่อหาค่า Addition นั้นเราจะวัดกันที่ 40 ซม.เป็นระยะมาตรฐาน และในการสั่งเลนส์เพื่อออกแบบโครงสร้างโปรเกรสซีฟนั้น  โครงสร้างพื้นฐานทั่วไปก็จะออกแบบมาสำหรับการใช้งานที่ระยะ 40 ซม. 

ส่วนของโครงสร้างโปรเกรสซีฟที่มีความสัมพันธ์กันโดยตรงกับระยะอ่านหนังสือเลยมีอยู่ 2 เรื่องคือ การออกแบบกำลังเลนส์เพื่อค่ากำลังเพ่งของเลนส์ตาและระยะการเยื้องของอินเซต (inset) คือคนที่อ่านใกล้กว่า 40 ซม.จะต้องออกแบบชดเชยกำลังเพ่งที่มากขึ้นและการเยื้องของอินเซตให้มากขึ้น ในขณะที่คนที่ดูไกลกว่า 40 ซม.จะต้องออกแบบให้เหมาะสมกับกำลังเพ่งที่ลดลงและมุมเหลือบที่ลดลง ซึ่ง Impression FreeSign จะออกแบบระยะให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลด้วย 

4.กำหนดระยะอ่านหนังสือ ( Design Point )

ในการเลือก Design point นั้นเราสามารถออกแบบระเหลือบให้เหมาะสมกับตัวเราเองได้ว่า เราต้องการเหลือบลงมากี่มม.ที่จะเจอระยะอ่านหนังสือ ซึ่งสเกลในการปรับนั้นสามารถปรับแต่งได้ละเอียดถึง 0.1 mm/step ซึ่งขณะที่ทำการปรับแต่ง โครงสร้างก็จะเปลี่ยนไปด้วย เช่น การที่เราลดระยะอ่านหนังสือให้สั้นลง หรือให้เหลือบถึงเร็ว ซึ่งจะทำให้สนามภาพดูใกล้กว้างแต่ก็จะไป compromise ระยะกลางแคบลง ซึ่งเราต้องไม่ลืมว่า โปรเกรสซีฟอย่างไรก็ตามแต่มันจะต้องมีภาพบิดเบี้ยวด้านข้าง แต่ FreeSign นั้นสามารถย้ายภาพบิดเบี้ยวไปอยู่่ในตำแหน่งที่ไม่ต้องการใช้งานได้ ทำให้ง่ายต่อการปรับตัว และไม่ไปรบกวนสนามภาพที่ใช้งานบ่อยๆ 

5.ดีไซน์อิสระ (Free Design Tuner)

นอกจากจะเลือกดีไซน์จาก Recommend Design ; Active Allaround และ Expert แล้ว เราสามารถปรับแต่งโครงสร้างได้อย่างอิสระด้วยการปรับโหมดที่ Design Tuner ซึ่งเรสามารถจับเม้าท์ไปที่สามเหลี่ยมแล้วลากได้โยตรง ในกรอบ 3 เหลี่ยมได้อย่างอิสระ และจะมีให้ดูเลยว่าเราให้ priority กับระยะไหนกี่เปอร์เซ็นต์ (far/ middle /near) เรื่องจริงก็คือ ในโลกนี้ มี Rodenstcok แบรนด์เดียวที่ทำได้ขนาดนี้  เลนส์ค่ายอื่นๆยังหล่อโครงสร้างผ่านแม่พิมพ์กันอยู่เลย 

ถ้าจะว่ากันไปแล้ว ไม่มีเลนส์โปรเกรสซีฟรุ่นอื่นในโลกนี้ทีสามารถปรับแต่งโครงสร้างได้ละเอียดมากมายขนาดนี้  หากเรามาพิจารณาถือความ Vareity เฉพาะในส่วนของตัวแปรที่เกิดจาก personal visual demand สำหรับระยะ ไกล กลาง และใกล้ โดยใช้คณิตศาสตร์ความน่าจะเป็นพื้นฐานเราจะได้ว่า probability=(%distant)(%intermediat)(%Near)=(99)(99)(99)=970,299 โครงสร้างที่แตกต่าง และถ้าเกิดว่าเราใส่ตัวแปรอื่นเช่นตัวแปรค่าสายตา แอดดิชั่น ปริซึม ตาซ้ายตาขวา พารามิเตอร์กรอบแว่น พีดี เนื้อเลนส์(material) มันจะลายเป็น prob=(99)(99)(99)(..PD..)(..FFA..)(..CVD..)(..PTA..)(L/R)(..index..)(..Rx..)( ..addition..)(..prism..) = ซึ่งมากกว่าแสนล้านโครงสร้าง ดังนั้นมันเป็นไปได้เลยที่เลนส์ที่ใช้การหล่อโครงสร้างจากแม่พิมพ์อย่าง conventional หรือ นำโครงสร้าง conventional มาขัดฟรีฟอร์ม จะสามารถออกแบบโครงสร้างที่เฉพาะบุคคลมากขนาดนี้  มันจึงกลายเป็นเลนส์โปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคลที่มีประสิทธิภาพสูงสุดตั้งแต่ปี 2007 จนถึงปัจจุบัน และเป็นเลนส์ที่แม้แค่เลนส์คู่แข่งก็ไม่กล้าพูดว่ามันไม่ดี เพราะเลนส์ทุกค่ายต้องยอมจำนนกับเทคโนโลยีที่ละเอียดอ่อนมากมายขนาดนี้ 

ผลการสำรวจ 

ผลการสำรวจความพึงพอใจกับผลิตภัณฑ์เลนส์โปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคลในรุ่น Impression FreeSign® 3 ซึ่งจัดทำโดยหน่วยงานภายนอก จากมหาวิทยาลัย Aalen University  จากกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้เลนส์โปรเกรสซีฟจำนวน 51 คนพบว่า 82% ของผู้ที่เข้ารบการทดสอบเลือก impression FreeSign 3 เป็นแว่นที่เขาชื่นชอบมากที่สุด ,85% ไม่รับรู้ถึงภาพบิดเบี้ยวด้านข้าง ,86% รับรู้ได้ถึงความคมชัดที่ดีกว่าเดิมโดยเฉพาะนำสนามภาพที่ใช้งานเป็นหลักเนื่องจากการออกแบบให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้สายตาแต่ละบุคคลและเฉพาะกรอบแว่นขณะสวมใส่ และอีก 100% ยกให้ Impression FreeSign 3 เป็นเลนส์ที่ใส่สบายที่สุด และสามารปรับตัวได้รวดเร็วที่สุด 

 

82% of the test wearers choose Impression FreeSign® 3 as their favorite glasses
85% of the test wearers do not perceive any distortions.
86% of the test wearers clearly recognize the benefits due to
the individual adjustment of the lenses to their life style
.
All test wearers evaluate the glasses with Impression FreeSign® 3
as very comfortable and spontaneously tolerated.

 

สรุป impression FreeSign 3 ตอนที่ 1 ว่า อิสระในการดีไซน์นั้นเป็นอย่างไร (What’s the Freedom Design) อิสระอย่างไรบ้าง ซึ่งความอิสระในการออกแบบของ impression FreeSign นั้นมีอยู่ 4 เรื่องหลักๆ คือ

1.vision zone design

หัวใจจริงๆของ impression freesign3 นั้นอยู่ที่ personal vision demand ที่สามารถออกแบบโครงสร้างให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้สายตา ซึ่งสามารถเลือกแบบ recommend design : Active ,Expert และ Allaround  หรือจะ fine design tuning ปรับแต่งเองได้อย่างอิสระ ทำให้ผู้ใช้นั้นไม่ต้องปรับตัวเมื่อเริ่มใส่โปรเกรสซีฟ

2.Frame Design

เลนส์พื้นฐานทั่วไปนั้นใช้ข้อมูลกรอบได้แก่ กว้างกรอบ สูงกรอบ ระยสะพานแว่น  ค่าพีดี  ตำแหน่งฟิตติ้ง เพื่อนำไปคำนวณขนาดของวงเลนส์ที่จะใช้ในการตัดเข้ากรอบเท่านั้น ซึ่งไม่ได้นำไปคำนวณโครงสร้างแต่อย่างได 

แต่โครงสร้าง FreeSign3 ต้องการค่าเหล่านี้เพื่อนำไปคำนวณแต่ละจุดทั่วทั้งผิวเลนส์ เพื่อวางตำแหน่งของกำลังสายตาสำหรับใช้งานในแต่ละระยะนั้น ให้ออกมาอย่างเหมาะสมและสมบูรณ์แบบที่สุด

3.Near Design

“Inset” ที่ถูกต้องและสอดคล้องกับการเหลือบตาขณะดูในระยะกลางและใกล้ คือหัวใจสำคัญที่จะทำให้ความกว้างของสนามภาพนั้นสามารถนำไปใช้งานได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ซึ่งมี 3 ตัวแปรที่ต้องนำไปคำนวณระยะเยื้องของ inset คือ ค่าสายตา(จริง) ,monocular pd และ ** ระยะอ่านหนังสือจริง เพราะแต่ละคนนั้นแขนสั้น แขนยาวไม่เท่ากัน และมีพฤติกรรมการดูใกล้-ไกลไม่เท่ากัน เลนส์ทั่วไปนั้นจะออกแบบ inset ให้ ideal ที่ 40 ซม. ในขณะที่ FreeSign 3 นั้นต้องการระยะใช้งานจริงในการออกแบบ individual inset ผลก็คือ ระยะกลางใกล้นั้นกว้าง ตำแหน่งการเหลือบถูกต้องแม่นยำ และเหมาะสมกับการใช้งาน ทำให้สนามภาพในระยะกลางใกล้นั้นสมบูรณ์แบบที่สุด

4.Aesthetic Design :

เลนส์ Impression FreeSign ได้ชื่อว่าเป็นเลนส์ที่ทำออกมาแล้วได้บางและสวยงามที่สุด  สวยกว่าเลนส์รุ่นรองในค่ายเลนส์ตัวเองด้วย หัวใจของเรื่องนี้คือ Impression FreeSign นั้นสามารถย้ายเซนเตอร์เลนส์ได้อิสระ ซึ่งต่างจากเลนส์ทั่วไปที่เซนเตอร์มักจะอยู่ตรงกลางเลนส์ แต่เมื่อนำไปประกอบจริง ตำแหน่งของตาดำมักจะค่อนไปทางด้านจมูกและใกล้ขอบบนมากกว่าขอบล่าง ทำให้การประกอบเลนส์นั้นเซนเตอร์จะค่อนไปทางจมูกและอยู่่ใกล้ขอบบน ทำให้เหลือเนื้อเลนส์ส่วนหูและส่วนล่างนั้นมาก ทำให้เลนส์มักจะหนาที่บริเวณนั้น ซึ่ง FreeSign นั้นจะออกแบบเลนส์มาเฉพาะกรอบทรงนั้นๆด้วย และจะใช้เนื้อที่บางที่สุดให้พอดีกับกรอบที่เราเลือก ดังนั้นใน index ที่เท่ากัน ค่าสายตาเท่ากัน ข้อมูลการฟิตติ้งเหมือนกัน กรอบแว่นทรงเดียวกัน   impression FreeSign สามารถทำได้สวยกว่า 

และอีกเรื่องที่เกี่ยวกับความสวยงามคือ “Base Curve” หรือ “ผิวโค้งด้านหน้าของเลนส์” คือหัวใจของความสวยงามของแว่นตา ลองนึกถึงแว่นกันแดดโค้งๆ ก็จะมีผิวหน้าของเลนส์โค้งมากตาม ส่วนแว่นปกติทั่วไปก็จะใช้โค้ง 5 ซึ่ง Lindberg ใช้ base curve 5 แต่ไม่ว่า ผิวของ demo lens จะโค้งเท่าไหร่ Impression FreeSign นั้นสามารถสั่งผิวโค้งหน้าเลนส์ได้  ในขระที่เลนส์ทั่วไป (ที่ไม่ใช่ Rodenstock ไม่ว่าจะแพงขนาดไหน) ก็ยังไม่สามารถเลือก bc ได้อิสระ เพราะกลัวผลกระทบของ base curve effect ที่ทำลายโครงสร้างโปรเกรสซีฟอย่างรุนแรง ทำให้เลนส์ค่ายอื่นนั้น เลี่ยงไปใช้ผิวหน้าที่เป็น Aspheric ที่มีลักษณะแบนๆ เนื่องจาก Aspheric นั้นช่วยลดปัญหา base curve effect ได้(บ้าง) และไม่น่าดูเมื่ออยู่บนแว่นสายตาและไม่สวยเหมือนแว่นที่ใช้ lens demo เดิม

คร่าวๆสำหรับเนื้อหาของ Impression FreeSign 3 พอเท่านี้ก่อน เดี๋ยวจะเยอะเกินไป ปล่อยให้ได้พักตากันบ้าง เดี๋ยวตอนหน้าจะมาเล่ากันต่อ ในส่วนของเทคโนโลยีต่างๆที่มีอยู่ในเลนส์รุ่นนี้ เพื่อจะได้นำไปใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป 

ทิ้งท้าย 

ก็ขอขอบคุณแฟนเพจ แฟนเว็บ และแฟนคอลัมป์ทุกท่าน ที่คอยติดตามให้กำลังใจกันเสมอมา หากเขียนผิด สะกดผิดตรงไหน ก็ขออภัยด้วยครับ และจะขอบคุณมากถ้าช่วยบอกผมด้วยว่าสะกดผิด หรืออ่านแล้วงง ขาดๆ เกินๆ เพราะบางทีผมก็ตรวจทานแล้วอาจปล่อยผ่านไป เพราะมองไม่ทัน ก็ขออภัย 

พบกันใหม่ตอนหน้าเร็วๆนี้ครับ 

ขอบคุณครับ

ดร.ลอฟท์

คลิินิกทัศนมาตร์  ลอฟท์ ออพโตเมทรี  , ถ.วัชรพล บางเขน กทม. , โทร 090-553-6554 , line id : loftoptometry