เข็มทิศทัศนมาตร

EP3   : Why do good things... have to be small?

Story By  Dr.Loft ,O.D.

reading in english : https://www.loftoptometry.com/Optometry Compassion

Can't Keep Passion ,But Why ?

บทควมเรื่องนี้เป็นอีกชุดความคิดหนึ่งที่น่าจะนำไปปรับใช้ได้กับน้องๆทัศนมาตรที่อยากมีคลินิกทัศนมาตรเล็กๆ สำหรับทำงานที่ตัวเองรัก แต่ก็อย่างที่ทราบๆกันก็คือ งานของทัศนมาตรนั้นใช้แว่นในการรักษาคนไข้ ทำให้ไปคล้ายๆกับร้านขายแว่นที่มีอยู่เดิมในตลาด ซึ่งก็ขายแว่นเช่นเดียวกัน ทำให้หลายคนยังแยกไม่ออกว่า ทัศนมาตรคลินิกต่างจากร้านขายแว่นตาที่มีอยู่เดิมอย่างไร  เพราะก็ใช้คอมพิวเตอร์วัดสายตาเหมือนๆกัน ทำงานก็ไม่หนีกันเท่าไหร่ รีบตรวจรีบปิดการขายเหมือนกัน เต้นติ๊กต๊อกขายแว่นเหมือนกัน ทำโปรโมชั่นกรอบพร้อมเลนส์(ทั้งปีทั้งชาติ)เหมือนๆกัน ผลลัพธิ์ที่ออกมาก็ไม่ต่างกันมาก (แย่พอๆกัน) ก็เลยทำให้เด็กๆเจ็บใหม่ไฟกำลังแรง อยากจะทำตามอุดมการณ์ พอไปเจอตลาดที่ไม่สามารถแยกความแตกต่างของสินค้าและบริการได้ ก็ไม่รู้จะทำยังไง สุดท้ายก็ burn out ท้อแท้  สุดท้ายด้วยหนี้สิน หรือ ดอกเบี้ยที่รุมเร้า ก็อดใจไม่ได้ แล้วก็ลงไปเล่นตลาดเหมือนๆกัน  นั่นแหล่ะปัญหาที่มันเกิดขึ้น คือ keep pasion ไม่ได้

 

ปัญหาดังกล่าวมีนี้เป็นกันเยอะ แล้วถ้าหลงเข้าไปแล้วจะหาทางออกลำบาก เพราะชื่อมันได้เสียไปแล้ว จะ rebrand นั้นเป็นเรื่องยากกว่าการทำใหม่ ถึงทำได้ก็ต้องอดทนอย่างมาก  ให้นึกถึง Made In China หรือคำว่า "เซินเจิ่น"  เวลามันพังไปแล้ว ก็กู้ยาก แม้ตอนนี้สินค้าดีๆ จากจีนก็มีมาก แต่ภาพจำมันก็ยังหลอนเราอยู่  และ ถ้าเลือกได้ เราก็จะหนีไปใช้ของทางฝั่งยุโรปแทน แต่ถ้ากำลังไม่ถึง เราก็ยอมที่จะใช้สินค้าจากเซินเจิ่น แล้วหาคำมาปลอบใจอะไรบางอย่างทำให้เราสบายใจ 

 

ผมเล็งเห็นปัญหานี้ จึงอยากจะเขียนเรื่องนี้ขึ้นมา เอาไว้เป็นเข็มทิศ สำหรับคนที่กำลังหลงทาง หรือ ไม่รู้จะเดินไปในทิศไหน 

 

Do good things... Have to be small ,But Why ?

 

ทำไมทำดี...ต้องทำเล็ก  ซึ่งแนวความคิดนี้ไม่ได้เริ่มจากผม แต่เริ่มจากช่างแว่นตาที่เป็นกัลยานมิตรท่านหนึ่ง ร้านแว่น สปอด (SPOD) มุกดาหาร 

 

ครั้งหนึ่ง เมื่อ 10 ปีก่อน ซึ่งขณะนั้นผมทำงานเป็น lens consultant ให้กับบริษัท Rodenstock Asia และเริ่มรู้สึกคุ้นชินกับงาน routine และ อยากมองหาความท้าทายใหม่และต้องเป็นงานที่ผมรักและอยู่กับมันได้ทุกวันอย่างไม่รู้สึกเบื่อหน่าย และ จะเป็นอะไรไปไม่ได้ นั่นก็คือการทำงานด้านทัศนมาตรคลินิก 

 

การออกจาก safe zone เป็นเรื่องที่ต้องใช้ความพยายามสูงในการทำใจ เพราะนั่นคือ “ความเสี่ยง” ซึ่งตรงกันข้ามกับคำว่า“มั่นคง” และ แน่นอนว่า ใครๆก็บอกว่า “ความมั่นคงเป็นสิ่งจำเป็น” ว่าไปก็จริงอย่างเขาว่า แต่ถ้าหากว่าสิ่งเพื่อได้ทำสิ่งที่ทำให้ตัวเองมีความสุขก็เป็นเรื่องที่น่าลองเสี่ยงดูสักครั้ง อย่างน้อยที่สุดก็ยังได้วัดใจลอง

 

Risk and Fear 

"ความเสี่ยง" ย่อมทำให้เกิดความกลัว ซึ่งไม่มีใครไม่กลัว เพียงแต่เราจะควบคุมความกลัวได้อย่างไรไม่ให้มันเป็นอุปสัคในการล่าฝัน นั่นก็คือ “การควบคุมความเสี่ยง” วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือมองหา “ผู้ใหญ่ที่อาบน้ำร้อนมาก่อน” ให้เขาเล่าประสบการณ์ของเขาให้เราฟัง  ว่าในระหว่างเส้นทางที่ยาวไกลนี้ เราจะต้องประสบเจอกับอุปสัคอย่างไรบ้าง และ จะผ่านมันไปได้อย่างไร การถามจากผู้ที่เดินมาก่อน ย่อมรู้อุปสรรคระหว่างทาง เพื่อให้เรารู้ว่าจะต้องเตรียมตัวรับมืออย่างไร ทั้งเรื่องของความพร้อมของร่างกาย และ เสบียง รวมถึงอันตรายต่างๆที่จะเกิดขึ้นระหว่างทาง 

 

Looking for IDOL

ผมจึงเลือกมองหา idol ที่ผมชื่นชอบแนวทางการทำงานของเขาคือคนที่ความสุขตลอดเวลา มีชีวิตที่มีสีสัน สนุกกับงาน ไม่บ้าเงิน แต่ทำหน้าที่และทำชีวิตทุกอย่างด้วยความรัก จริงอยู่ว่าเงินก็จำเป็น แต่ถ้าบ้าเงิน อันนี้ไม่จำเป็น เพราะการทำดี ไม่ต้องบ้าเงิน เงินก็มาอยู่นานและเพิ่มขึ้น แต่ถ้าบ้าเงินมันอาจจะได้ แต่เดี๋ยวมันก็ไป (นึกถึงคนค้ายาหรือคอรัปชั่น มีจริงแต่อยู่ไม่นานก็ถูกยึด เพราะการได้มาจากการสร้างบาปนั้นจัดเป็นเงินร้อน ) คนที่มีความสุข ย่อมคิดสร้างสรรค์​ ความคิดที่สร้างสรรค์ย่อมสร้างนคุณค่า  สิ่งที่มีคุณค่ายอมมีมูลค่า  ตามหลักกฎแห่งกรรม

 

คนที่ผมเลือกเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตในขณะนั้น ผมเลือกเฮียเกือง ร้านแว่น สปอด มุกดาหาร ด้วยเหตุผลว่า แกเป็นร้านเล็กที่มีความสุข เป็นลูกค้าชั้นหนึ่งของโรเด้นสต๊อก เป็นลูกค่าโรเด้นสต๊อกที่น่ารักเบอร์ต้นๆ  คนไข้ที่เข้ามารับบริการก็ดูมีความสุข มีความเคารพซึ่งกันและกัน ไม่ใช่ร้านใหญ่ที่ดูทุกข์ระทมที่มานั่งห่วงแต่เป้าเดือน ห่วงแต่ส่วนลดหลังบิล ไม่สนใจเทคโนโลยีอะไรเลย สนใจแต่จะให้ส่วนลดเท่าไหร่ (แต่ร้านแบบนี้รวยนะ แต่คงไม่ใช่ความสุขของผมเท่าไหร่ และ คงไม่ใช่แนวลอฟท์)

 

Simple Question & Answer

ผมเริ่มตั้งคำถามง่ายๆว่า  “ผมจะลาออกมาเปิดร้าน จะต้องทำยังไง” 

 

“เปิดร้านเล็กๆ ในทำเลที่ค่าเช่าถูกๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นทำเลทอง คนต้องไม่พลุกพล่าน มีที่จอดรถสะดวก พอ…จากนั้นก็แค่ต้องทำดีๆ และ ค่อยๆทำทีละเคสๆ ให้ดีเท่าที่จะดีได้ จบ” เฮียเกืองตอบ 

 

คำตอบที่ได้ ค่อนข้างขัดแย้งกับความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ที่ทำธุรกิจว่าต้อง เป็นร้านใหญ่ หลายคูหา ยิ่งใหญ่ยิ่งดูดี  ทำเลแพลตทินัม(แพงกว่าทอง) คนพลุกพล่าน อยู่ในชุมชนที่คนเดินผ่านเยอะๆ  ทำโปรโมชั่นดีๆ ราคาถูกๆ หาคนมาใช้บริการให้มากที่สุด ตรวจเร็วๆ อย่าเสียเวลาต่อหนึ่งคนไข้เยอะ เพราะมันจะเสียโอกาสการขายคนต่อไป ส่วนโรคก็ไม่ต้องตรวจหา ไม่ใช่งานของเรา เดี๋ยวตรวจเจอคนไข้จะไปหาหมอเดี๋ยวจะเสียโอกาสขายแว่น  ทั้งหมดก็เพื่อยอดขายสูงสุด ส่วนใหญ่ก็คิดอย่างนี้ แต่ไม่เคยมีใครเอาเรื่อง “ทำดีๆ ทีละน้อยๆ ทีละเคส” มาเข้าในนโยบายหลัก แต่ spod ทำ และ ทำได้ดีด้วย ซึ่งตรงข้ามกับตลาดทุกอย่าง 

 

ผมถามต่อว่า “ทำไมต้องร้านเล็ก ค่าเช่าถูก ทำเลไม่ต้องทอง คนไม่ต้องพลุกพล่าน” 

 

“การเปิดร้านแว่น เป็นธุรกิจระยะยาวที่ต้องว่าต้องเดินทางกันไม่น้ยอกว่า 10 ปี กว่าจะติดลมบน  ดังนั้นช่วงเวลาระหว่างนี้เป็นช่วงที่ต้องเดินมาราทอน และ การเดินทางมันจำเป็นต้องมีเสบียงที่มากพอถึงจะถึงเป้าหมายได้  ถ้าเรามีเงินถังสายป่านยาว ใช้เท่าไหร่ก็ไม่หมด อย่างนั้นเราละลายเงินเล่นได้ (แต่ละลายแล้วขาดทุน อยู่เฉยๆยังเสมอตัว หรือ ถ้าเหลือมากก็เอาไปซื้อหุ้นปันผลดีกว่ามั้ง)  แต่ถ้าเราไม่ได้มีแบบนั้น คือมีสายป่านที่จำดัด วิธีก็คือ ทำตัวให้เล็ก การใช้พลังงาน(cost) ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันก็จะน้อย ทำให้เราเหลือเสบียงในการเดินทางให้ถึงเป้าหมาย ค่าเช่าเราจะถูกลง ค่าตกแต่งร้านเราจะถูกลง สต๊อกกรอบแว่นตาจะน้อยลง ค่าไฟจะน้อยลงเพราะไม่ต้องเปิดแอร์หลายตัว ด้วยการทำแบบนี้ทำให้เรามีเสบียงพอที่จะเดินไปถึงฝั่ง 

 

ในทางตรงข้าม ถ้าเราทำใหญ่ ทุกอย่างจะใหญ่ตาม ค่าเช่าก็ใหญ่ ตกแต่งก็ใหญ่ สต๊อกแว่นก็ใหญ่ ค่าไฟก็ใหญ่ พนักงานก็ใหญ่ เรียกว่าเงินที่หาได้ก็ต้องมาจ่ายให้กับความใหญ่ จนตัวเราไม่เหลืออะไรจะกิน เหมือนวัวควายที่มันต้องกินหญ้าทั้งวันเพราะตัวมันใหญ่ บางคนต้องเลี้ยงควายหลายตัว ก็ต้องเดือดร้อนคนเลี้ยงต้องหาหญ้ามาป้อนให้มันพอกิน  แต่หมาแมวตัวมันน้อย กินมื้อเดียวก็เล่น กิน นอน เที่ยวได้ทั้งวัน แต่คนส่วนใหญ่ไม่รู้เรื่องพวกนี้ ก็หลงเลี้ยงควาย แล้วก็ถอยหลังไม่ได้ สุดท้ายก็ต้องขายควายขาดทุน หนีหนี้หัวซุกหัวซุน ก็มีให้เห็นมากมาย 

 

ถามต่อ “ทำไมคนต้องไม่พลุกพล่าน  คนเยอะยิ่งมีโอกาสขายเยอะไม่ใช่หรือ ” 

 

"ในความเป็นจริง ถ้าทำดี มันทำเยอะไม่ได้  ในเคสหนึ่งๆ เราต้องใช้เวลาประมาณ 1-2 ชม. ในห้องตรวจ และ ถ้ารวมการเลือกแว่น ดัดแว่น วางเซนเตอร์ ก็ต้องมีรวมๆ 3 ชั่วโมง ดังนั้นถ้าวันหนึ่งเปิดร้าน 8 ชั่วโมง ก็ทำได้ไม่เกิน 3-4 เคส เผื่อเวลาเอาไว้บริการคนมาดัดแว่น เปลี่ยนอะไหล่ด้วย แค่นี้ก็หมดวันแล้ว และ การที่คนพลุกพล่านมันทำให้คนที่เข้ามานั้นหลากหลายเกินไป บางคนแค่เดินผ่านทางมาเจอเข้าก็แวะมาสวมแว่นเล่นๆ แล้วก็เดินจากไป เราก็เสียเวลาทั้งวัน แทนที่จะได้เอาเวลาว่างไปศึกษาหาความรู้ก็กลับมาต้องคอยดูแลแขกที่ไม่รู้จักกัน ไม่ได้เคารพกัน และไม่ได้นัดมาเยี่ยมเยียน ลองแว่นเล่นแล้วก็ทิ้งแว่นเราล้าง  

 

ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราจะทำเยอะ นั่นหมายความว่าเรายอมทำไม่ดี เช่นเมนูปลาเผา ถ้าจะเอาให้อร่อย มันต้องเผาไฟอ่อนประมาณ 1 ชั่วโมง แต่ถ้าเรายอมที่จะลดคุณภาพโดยการเผารอแล้วเอามาเวฟ เพื่อที่จะได้เพิ่มจำนวนการขายปลาให้ได้มากๆ แน่นอนว่ามันไม่อร่อย คำถามคือเขาจะซื้อปลาเผาซ้ำหรือไม่ ซึ่งผมเชื่อว่า ถ้าไส้เขายังไม่ขาด ก็คงไม่อยากจะกระเดือกปลาไม่โครเวฟลงคอ

 

คุณค่าในงานมันจึงไม่ได้อยู่ที่จำนวนปลาที่ขายได้ต่อวัน แต่มันอยู่ในปลาแต่ละตัวที่ตั้งใจทำให้คนกินนั้นได้รับรู้ถึงรสชาติหวานชุ่มฉ่ำของเนื้อปลาได้เต็มศักยภาพของปลา และ ความสุขของคนกินนั่นแหล่ะ คือคุณค่าของพ่อครัวและแน่นอนว่า “ไม่รวย” แต่ไม่อดอยากแน่นอน เพราะคนกินย่อมติดใจและกลับมาซื้อซ้ำ ถ้าเกิดเขาเบื่อปลา เขาก็จะไปบอกต่อคนให้มาซื้อปลาเผาร้านนี้ ฐานลูกค้าก็จะค่อยๆกว้างๆ ขึ้นไปเรื่อยๆ และ คนที่จะมาซื้อปลาเขารู้ว่าต้องรอนาน เขาจะโทรมาสั่งปลาเผาล่วงหน้าก่อนเข้ามารับ และคนกลุ่มนี้ไม่ได้สนใจว่าจะซื้อปลาเฉพาะโปรโมชั่น "ซื้อหนึ่งตัวแถมหนึ่งตัว" หรือ "ปลาเผาลด 50-70%" เขาสนแต่เพียงว่าคุณควบคุมคุณภาพของปลาได้ดีแค่ไหน

 

คนไข้ที่จะเข้ามารับบริการกับเราก็เช่นกัน ถ้าเราทำดี เขารู้ว่าของดีต้องรอนาน เขาจะนัดเรา  เขาจะเตรียมตัว เตรียมสุขภาพ เตรียมนอนให้พอ งดแอลกอฮอล์ เตรียมทุกอย่างเพื่อให้มันออกมาดีและเมื่อดี มันก็มีการบอกต่อ เป็นธรรมดา ช่วยไม่ได้ แม้ไม่อยากให้เขาบอกต่อ เขาก็บอกอยู่ดี กรรมดีเกิดขึ้นแล้ว ผลของกรรมดีย่อมหนีไม่พ้นเช่นกัน 

 

ถามต่อ “ถ้าเปิดร้านแล้วไม่มีคน  ขายไม่ดี  จะทำยังไง” 

 

เฮียเกืองตอบว่า “ขายไม่ดีนั่นแหล่ะดี  เพราะการขายไม่ดี ทำให้เรามีเวลาได้อ่าน ได้ฝึกฝน ฝึกตน ซ้อมมือ ฝึกดูการ flow ขณะทำงานว่ามันติดขัดที่อะไร เมื่อเคสเข้ามา เราก็จะได้ทำได้ดีและไหลลื่น  แต่ถ้าคนรุมเข้ามาทีเดียวพร้อมๆกัน การ flow ย่อมไม่ได้ดี จะมีการติดขัด และ สุดท้ายงานก็ออกมาไม่ดี และ เมื่อไม่ดี นั่นแหล่ะปัญหา เพราะนอกจากเขาไม่กลับมา เขาก็จะบอกคนอื่นอีกด้วยว่าอย่าไป แรกๆอาจจะดูตื่นเต้น เพราะโปรโมชั่นกรอบพร้อมเลนส์ราคาถูก แต่ถูกแล้วไม่ดีก็ไร้ค่าอยู่ดี ทำให้ต้องเพิ่มโปรโมชั่นไปเรื่อยๆ เพื่อให้คุ้มค่าความเสี่ยงที่จะลองของไม่ดี (ถ้าไม่ดีก็แค่ทิ้งลงถังขยะเพราะซื้อมาถูก) อย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น สุดท้ายหักลบกลบหนี้แล้วขาดทุน แล้วก็ต้องเลิกกิจการไป ก็มีให้เห็นอยู่มาก”

 

Summary 

สรุป ไม่มีทางอื่นใด สำหรับการเดินทางที่แสนยาวไกลครั้งนี้ในการทำทัศนมาตรคลินิกให้ออกมาดี ทำดีๆ ทำน้อยๆ ทำด้วยใจรักและปราณีต  ลด cost ให้ต่ำด้วยการทำร้านเล็กๆ ทำเลไม่ต้องทอง  มีที่จอดรด แล้วค่อยๆทำดี  ให้ความรักในงานเป็นตัวหล่อเลี้ยงหัวใจในยามที่ท้อแท้  เดี๋ยววันหนึ่งก็ถึงฝั่งฝัน 

 

ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เรื่องราวนี้จะเป็นไอเดียหนึ่งสำหรับน้องๆทัศนมาตรที่อยากจะทำงานที่ตัวเองรัก และ สามารถยืนหยัด อยู่ยั่งยืนยง ในระยะยาว ได้ 

 

สร้างโลกให้น่าอยู่ขึ้น ด้วยความรักของเรา โลกเรามีขยะมากแล้ว บางทีก็ยากเกินไปที่เราจะไปกำจัดขยะ ขอเพียงแต่อย่าให้เราเป็นคนหนึ่งที่เพ่ิมขยะให้กับโลกเลย 

 

เจริญพร 

ดร.มหาลอฟท์ ,O.D., ป.ธ.3

Contact Us 

Loft Optometry 

578 Wacharapol rd., Tharang ,Bangkhen ,Bangkok ,10220

Mobile : 090-553-6554

lineID : loftoptometry 

www.loftoptometry.com

 

Recomend Shop ( หวังว่าวันหนึ่ง ผมจะได้ recomend ยาวเป็นหางว่าว)

 

SPOD  Optic Design

100 ซอย พิทักษ์สันติราฎร์ อำเภอเมืองมุกดาหาร มุกดาหาร 49000

Mobile : 0626942616

maps : https://maps.app.goo.gl/SPOD

 

Khunyai Optometry 

345/51 หมู่บ้านไวซ์ซิกเนเจอร์ ถ. รอบเมืองเชียงใหม่ ตำบล สันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด เชียงใหม่ 50220

mobile : 0621252601

Maps : https://maps.app.goo.gl/KhunyaiOptometry

 

Suthon Optomery Care 

9/38-39, ถ. ศรีมาลา ในเมือง, เมือง, พิจิตร 66000

tel. 056611435

maps : https://maps.app.goo.gl/SuthonOptomeryCare