B.I.G. Vision For All: Rodenstock's New AI Technology (part 2)

By Dr.Loft

Public : 6 April 2022

 

Intro 

มาถึง point ของเรื่องที่ผมได้เกริ่นไปแล้วในตอนที่แล้วกับ Rodenstock B.I.G. Vision For All ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของ Rodenstock ซึ่งปรับกระบวนทัศน์ในการคิดและออกแบบทั้งหมด โดยมีแก่นของเรื่องนี้คือการใช้ข้อมูลทางกายภาพของดวงตาแต่ละดวงไปร่วมคำนวณกับค่าสายตา เพื่อหาค่ากำลังเลนส์ในแต่ละจุดของเลนส์นั้นสามารถบังคับโฟกัสให้ไปตกบนจุดรับภาพได้แม่นยำยิ่งขึ้น  

 

ซึ่ง keyword ของเทคโนโยนี้คือ center of rotation ,vertex sphere และ far point sphere  ซึ่งจุดเหล่านี้ล้วนเป็นจุดสมมติที่เกิดจากการคำนวณทั้งสิ้น โดยข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณแบบเดิมนั้นใช้โมเดลดวงตามาตรฐานของ Gullstrand's schematic eye  แต่หลังจากที่โรเด้นสต๊อกได้สะสมข้อมูลทางกายภาพของดวงตาจริงแล้ว พบว่ามีเพียง 2% ที่ให้ค่าพอดีกับค่าโมเดลลูกตาเดิม นั่นก็หมายความว่า กว่า 98% ของประชากรที่ใส่แว่นไม่ตรงกับความเป็นจริงของดวงตาตัวเอง และ B.I.G.ก็จะเข้าไปเติมเต็มในส่วนนั้น โดยยกเลิกการใช้ Gullstand eye model ทั้งหมด มาใช้ค่าจริงในการคำนวณออกแบบ ทำให้ได้จุดอ้างอิงในการคำนวณเลนส์ต่างๆนั้นแม่นยำขึ้น  

 

เมื่อการคำนวณที่แม่นยำขึ้น ผลที่ได้ก็คือได้เลนส์ที่มีความคมชัดไม่เพียงแต่ตำแหน่งมองตรงเท่านั้น แต่ยังทุกตำแหน่งทั่วทั้งเลนส์ด้วย นั่นคือ point ของ B.I.G. ที่เหลือนอกจากนี้เช่น แสงฟุ้งจาก HOA หรืออะไรก็ตามแต่เป็นเพียงผลพลอยได้จากการคำนวณที่แม่นยำ แต่ปัญหาก็คือว่า ในเมื่อ DNEye Scan ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเก็บลักษณะทางกายภาพของดวงตาเฉพาะบุคคลไม่ได้มีกันทุกร้าน แล้วจะทำอย่างไรให้คนไข้ทุกคนได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ 

 

สิ่งที่โรเด้นสต๊อกทำคือ สร้างโมเดลของตัวเองจากข้อมูลที่เก็บมากว่า 500,00 ข้อมูล มาหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าสายตากับดวงตากายภาพ โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI มาช่วยในการเลือก eye model ของคนที่มีสายตาแตกต่างกันไป เพื่อให้ได้ค่าที่ใกล้เคียงกับดวงตาจริงมากที่สุด 

 

เรื่องหลักๆ มีเท่านี้ แต่เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้คือ "เขาทำกันยังไง" ซึ่งจะได้เล่าให้ฟังดังต่อไปนี้ 

 

B.I.G. Concept

Artificial Intelligence ,AI

แม้ว่าเทคโนโลยีการขัดเลนส์จะไปไกลจนสุดทางแค่ไหน แต่ปัญหาสำคัญคือการยังคงติดอยู่กับตัวแปรควบคุมที่จำเป็นต้อง fixed เพื่อให้การออกแบบโครงสร้างเลนส์สามารถดำเนินต่อไปได้คือ การ fixed standard eye model  โดยไปใช้แผนผังดวงตาของ Gullstrand’s (Gullstrand’s schematic eyes)ของ Gullstand ซึ่งใช้กันมายาวนานเป็นร้อยปี ตัวอย่างเช่น

The Gullstrand's Eye Model 

รัศมีความโค้งของแต่ละผิวหักเหแสงของดวงตา 

ผิวหน้าของกระจกตา (anterior cornea)        : +7.700 mm

ผิวหลังของกระจกตา (posterior cornea)      : +6.800 mm

ผิวหน้าเลนส์ (anterior lens)                        : +10.00 mm

ผิวหน้านิวเคลียส (anterior nucleus)            : +7.910 mm

ผิวหลังเลนส์นิวเคลียส (posterior nucleous) : -5.760 mm

ผิวหลังเลนส์ (posterrior lens)                      : -6.00 mm 

 

ระยะห่างในแต่ละผิวหักเหแสงคือ 

Corneal thickness                    : 0.500 mm

ผิวหลังกระจกตาถึงผิวหน้าเลนส์   : 3.100 mm

ผิวหน้าเลนส์ถึงผิวหน้านิวเคลียส  : 0.546 mm

ความหนาของนิวเคลียส             : 2.419 mm

ผิวหลังนิวเคลียสถึงหลังเลนส์      : 0.635 mm

ความหนาเลนส์                         : 3.600 mm 

 

ดัชนีหักเหแสงของอวัยวะแต่ละส่วน 

กระจกตา (cornea)                                 : 1.376

น้ำในช่องลูกตา (aqueous)                     : 1.336

วุ้นในตา (vitreous)                                 : 1.336

เลนส์แก้วตาชั้น cortex (lens cortex)        : 1.386

เลนส์แก้วตาชั้น nucleus ( lens nucleus) : 1.406 

 

ความยาวกระบอกตาที่เกี่ยวข้องกับระบบหักเหนั้นวัดจาก ผิวหน้าของกระจกตาถึง macula ของจุดรับภาพ มีความยาว 24.385 mm กำลังหักเหของดวงตาขณะ accommodation ถูกกระตุ้นเต็มที่ / คลายตัวเต็มที่คือ +58.64 D/ +70.57D

 

ซึ่งค่าเบื้องต้นดังกล่าว ผมได้เขียนไว้เมื่อ 2 ปีก่อน ท่านใดสนใจศึกษารายละเอียดก็สามารถไปตามอ่านได้จากลิ้งค์ที่แนบมานี้ https://www.loftoptometry.com/Gullsrand's Eye Model

 

ปัญญาประดิษฐ์ ,The AI

หัวใจของเรื่องนี้แท้จริงคือ “ปัญญาประดิษฐ์” หรือที่เรารู้จักกันในนาม AI หรือ Artifical Intelligence ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสำคัญในการเกิด B.I.G. technology ขึ้นมา เพื่อให้การออกแบบเลนส์แต่ละคู่นั้นเข้าใกล้ค่าความจริงของดวงตาแต่ละคนมากขึ้น โดย AI จะทำหน้าที่คาดการณ์ผลลัพธ์จาก “Big data” ซึ่งได้ข้อมูลมาจากการเก็บข้อมูลทางกายภาพโครงสร้างของดวงตาที่มีปริมาณข้อมูลของดวงตา (biometric data) จากเครื่อง DNEye Scan มหาศาลกว่า 500,000 คู่จากผู้ใช้งานหลายแสนคนทั่วโลกนำมาคำนวณ แล้วจัดหมวดหมู่หาความสัมพันธ์ระหว่าง “ปัญหาสายตาที่เป็นอยู่กับลักษณะทางกายภาพของดวงตาแต่ละดวง” จนกระทั่งพบความสัมพันธ์จากการเรียนรู้ของ AI self-learning machine แล้วสามารถก้าวข้าม Gullstand’s schematic eye ได้ และไม่ต้องใช้เทคนิคการผลิตบนพื้นฐานเก่าอีกต่อไป แต่เป็นค่ากลางใหม่ที่ใช้ในการคำนวณเลนส์ซึ่งโรเด้นสต๊อกให้ชื่อค่ากลางนี้ว่า B.I.G. NORM ซึ่งจากการศึกษาวิจัยจากผู้ใช้งานจริงก็พบว่าผลสัมฤทธิ์นั้นดูในเกณฑ์ที่ดีเยี่ยม และ ด้วยปริสิทธิภาพของ AI ทำให้ผู้สวมใส่นั้นประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าว แม้จะไม่ได้ตรวจโครงสร้างดวงตาจริงด้วย DNEye Scan 2 ก็ตาม แต่กระนั้นถ้าหากผู้ใช้ต้องการเลนส์ที่ออกแบบบนโครงสร้างดวงตาของแต่ละคนจริง ก็สามารถใช้ DNEye Scan 2 เก็บข้อมูลดวงตาของเราได้เช่นกัน เรียกว่า B.I.G. Extract.

 

จุดประสงค์การเรียนรู้ 

ดังนั้น ใน lectur นี้ ท่านจะได้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหัวข้อต่อไปนี้

1.เข้าใจรูปแบบการทำงานของ AI ในการใช้ข้อมูลในการคำนวณเพื่อหาค่าประมาณของ eye model เฉลี่ย ผ่านเทคโนโลยี B.I.G. NORM และในบางค่าที่ไม่ได้ตรวจวัดโดยตรงเช่น axial lenght นั้นสามารถทำได้อย่างไร

2.เข้าใจความแตกต่างระหว่างเลนส์ที่คำนวณแบบดั้งเดิมโดยใช้ reduce eye model กับ เลนส์ที่คำนวณบนพื้นฐานโครงสร้างลูกตาคนจริงด้วย biometic eye model

3.เข้าใจว่า biometric data ที่ทำไปใช้ในการคำนวณออกแบบเลนส์จะช่วยให้ผู้สวมใส่ได้ประโยชน์อย่างไร

 

Basic Process in lens manufacture

ก่อนอื่นก็คงต้องไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการในการผลิตเลนส์แบบพื้นฐานที่ทำๆกันมาแต่เดิม ซึ่งเริ่มตั้งแต่การตรวจวัดสายตา ซึ่งก็จะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ

1.traditional eye exam

2.Advance exam

 

Traditional eye exam

เป็นการตรวจวัดสายตาเพื่อหากำลังเลนส์ที่ถูกต้องเพื่อแก้ไขปัญหาสายตา (สั้น/ยาว/เอียง/องศาสายตาเอียง) อย่างตรงไปตรงมา (ไม่ใช่จัดสายตา) และ ตรวจสอบระบบการทำงานร่วมกันของสองตา (เหล่ซ่อนเร้น) เป็นต้น ซึ่งการตรวจวัดก็ทำได้ทั้งบน phoropter หรือ trial frame ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญที่สุด ถ้าขั้นตอนนี้ทำผิดพลาด การคำนวณอื่นๆก็ถือเป็นพลาดตามกันไปหมดและการทำแว่นที่ใส่กันไม่ได้ก็มาจากขั้นตอนนี้เป็นสำคัญ​ (ดังนั้นก่อนจะโทษปี่โทษกลองก็ลองรำดูตัวเองในกระจกเสียก่อน)

traditional eye exam เป็นกระบวนการตรวจวัดสายตาที่มีความสำคัญที่สุด ถ้าขั้นตอนแรกนี้ผิด ขั้นตอนอื่นๆก็ผิดต่อๆ ไป 

 

Advance Device (additional option)

เป็นขั้นตอนการตรวจเพื่อ scan หาค่าพารามิเตอร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบหักเหแสง และเครื่องมือสำหรับขั้นตอนนี้จะต้องเก็บด้วย DNEye Scan 2 ซึ่งค่าที่ให้มานั้นจะเก็บข้อมูลในส่วนของ ลักษณะทางกายภาพของดวงตา (biometrics) เช่น ความหนากระจกตา(corneal thickness)  ลักษณะพื้นผิวของกระจกตา (corneal topography) ความลึกของช่องน้ำในลูกตา (anterior chamber depth)  ความหนาเลนส์(lens thick) ความยาวกระบอกตา (axial lenght) มุมระบายน้ำในช่องลูกตา(Vanhelix) ขนาดของรูม่านตาขณะขยายใหญ่สุดและหดเล็กสุดในแต่ละสภาวะแสง (pupil size) รวมถึงค่า aberration ต่างๆ ทั้งในส่วนที่เป็น lower order aberration,LOA และ Higher order aberration,HOA  และยังมีค่าเล็กๆน้อยๆรวมๆกว่า 7000 ข้อมูล และพารามิเตอร์อื่นๆรวม 80 พารามิเตอร์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จำเป็นสำหรับการนำไปคำนวณการออกแบบเลนส์ แต่เป็นข้อมูลที่มีความสำคัญรอง เมื่อเทียบกับข้อมูลชุดแรก แต่ถ้าสามารถเก็บได้ การคำนวณออกแบบโครงสร้างก็มีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น ความคลาดเคลื่อนก็น้อยลง ความชัดก็มากขึ้น ซึ่งก็เป็นเรื่องสามัญปกติอีกเช่นกัน (ไม่ใช่เรื่องอุตริ อภินิหาร เกินวิสัยมนุษย์ที่จะเข้าใจได้แต่อย่างใด)

Additional Advance Eye exam เป็นขั้นตอนการตรวจเพื่อเก็บข้อมูลต่างๆของกายภาพ (biometric data) เป็นข้อมูลเสริมที่ช่วยให้เลนส์ที่ออกมานั้นแม่นยำมากขึ้น 

 

แต่หลายๆคน (ที่ไม่เข้าใจ) ก็ไปเข้าใจผิดว่า DNEye Scan คือเครื่องวัดสายตาคอมพิวเตอร์ที่ให้ค่าที่ละเอียดและแม่นยำที่สุดระดับ 0.01D แล้วนำไปเป็นจุดขาย ซึ่งแท้จริงนั้น ในส่วนของสายตา Rodenstock ให้ความสำคัญของค่าสายตาที่วัดด้วยวิธี traditinal มากกว่าวัดด้วยเครื่องประเภท(พรรณ)นี้ เพราะปัญหาอย่างหนึ่งที่ทำให้เครื่องประเภทนี้ทำงานพลาดคือ ไม่สามารถควบคุมให้ accommodation นั้น relax ได้  ทำให้ค่าสายตา total เปลี่ยน พื้นฐานการตรวจวัดสายตาที่ใครก็ตามที่อยู่ในวงการให้บริการแก้ไขปัญหาสายตาพึงจะตระหนักก็คือ สายตาเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ (varies) ตลอดเวลา ด้วยระบบเพ่งของเลนส์แก้วตา การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์วัดสายตา ก็เหมือนการสุ่มเอาว่าจะเอาค่าสายตาขณะที่เลนส์ตานั้นเพ่งอยู่ที่เท่าไหร่ แล้วก็ปริ๊นท์ค่าสายตาขณะนั้นๆออกมา  คนมีปัญญามากก็ไม่เชื่อไว้ก่อนแล้วพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่จริงด้วยการตรวจตามมาตรฐานคลินิก  ส่วนคนที่มีปัญญาน้อยก็จะเอาค่านั้นไปเสียบเลนส์เลยทันที ลองใส่เดิน เป็นหลุมเป็นบ่อหรือไม่แล้วก็จัดสายตา ถ้าชัดก็จบ จริงไม่จริงค่อยแก้ไข(เคลม)กันอีก 

 

กล่าวคือ เครื่องพรรณนี้สามารถกวาดหา (หว่านแห) total aberration ได้ทั้งหมด แต่เครื่องไม่มั่นใจว่าเป็นค่า LOA และ HOA อย่างละเท่าไหร่ (ไม่รู้ว่าเป็นปลาใหญ่กี่ตัว ปลาซิวปลาสร้อยกี่ตัว เป็นเศษใบไม้ กิ่งไม้กี่ชิ้น เพราะบางตัวก็พองเหมือนใหญ่ได้ เช่นปลาปั๊กเป้า) เพราะตัวแปรสำคัญในการแบ่งคือ accommodation ว่าขณะนั้นคนไข้เพ่งอยู่เท่าไหร่ ถ้าเราสามารถตรวจด้วยวิธีปกติเพื่อหาค่า LOA ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ การประเมิน HOA ก็จะทำได้ถูกต้องแม่นยำเช่นกัน ( traditional eye exam เป็นวิธีที่จะทำให้ปลาปั๊กเป้าปล่อยลมแล้วค่อยจัดหมวดหมู่ ในขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์วัดสายตาไม่สามารทำเรื่องนี้(ได้ดี))

 

ความเข้าใจผิดในส่วนที่สองนี้เอง ทำให้เกิดความสับสน ไปคิดว่า ข้อมูลจากส่วนที่สองจากเครื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญกว่า ทั้งๆที่ข้อมูลจากส่วนแรกนั้นสำคัญกว่า ถ้าส่วนแรกผิด ส่วนที่สองก็คงไม่มีประโยชน์ในการคำนวณ ดังนั้นฝากไว้กับผู้ที่จะรับบริการไว้เป็นเกราะกันภัยให้ตัวเองว่า ถ้าใครโฆษณา(เกินจริง)ว่าเครื่องประเภทนี้สามารถวัดได้ละเอียดแม่นยำที่สุดในโลกระดับ 0.01D แล้วหล่ะก็ ให้ระวังเป็นพิเศษ "เพราะเรื่องไม่จริงมักพูดให้ดูเกินจริงเสมอ" พระจริงไม่อุตริ ส่วนพระไม่จริงมักแสดงอภินิหารที่(มัก)ไม่มีอยู่จริง" ฉันไดก็ฉันนั้น 

 

อีกนัยหนึ่ง ถ้ายังจัดสายตากันอยู่ ก็คงไม่ต้องพูดถึงเทคโนโลยีนี้กันต่อ สามารถเลิกอ่าน แล้วไปจัดสายตากันต่อได้เลย (ป่วยการและเสียเวลา) เพราะเทคโนโลยีนี้ไม่ได้มีไว้ให้กับกลุ่มนิยม compromilism ที่ชอบทำอะไรแบบไม่ถูกต้อง ไม่ตรงไปตรงมา ตัดนุ่นทิ้ง ตัดนี่ทิ้ง ก๊อปสายตาเก่า ผิดๆ ก็ก๊อปกันไป ซึ่งอันนี้ไม่ใช่เรื่องที่กำลังพูดถึงสำหรับ B.I.G. Tech แต่เรื่องนี้มีไว้สำหรับคนกลุ่ม Perfectionist & Precisionist เท่านั้น ต้องขออภัยถ้าความจริงนี้ จะกระเทือนใจสำหรับกลุ่ม compromise ซึ่งก็เข้าใจเพราะบางคนก็มองเรื่องธุรกิจแว่นเป็นเพียงเครื่องทำมาหากิน จะให้ลึกซึ้งถึงการแก้ปัญหานั้นก็มีอยู่บ้าง(แต่น้อย) ก็ไม่ผิดอะไรกับคำว่าธุรกิจ แต่ถ้าเรื่องจรรยาบรรวิชาชีพ(ศีลธรรม)ก็คงจะผิด แต่ไม่ผิดกฎหมายเพราะกฎหมายไม่ได้บังคับ เหมือนเตะบอลไม่มีกรรมการ ไม่มีกติกา จะเสียบ จะแทบ จะศอก จะเข่า ทำลายคู่ต่อสู้เอาถึงชีวิต ก็พึงทำได้ เพราะกรรมการไม่อยู่ กฎิกาไม่มี และผมไม่ได้มีความรู้จักผู้อ่านคนใดคนหนึ่งเป็นส่วนตัว ดังนั้นผมไม่ได้ว่าใครเป็นการส่วนตัว เพียงแต่สังเกตดูภาพรวมเข้าไปในวงการ แล้วเกิดความรู้สึกแบบนี้ขึ้นมาว่า “อะไรเป็นเหตุให้วงการนี้ ดูเป็นวงการตลกหรือบันเทิง มากกว่าวงการสุขภาพ ” และผมว่าทุกคนที่ประกอบสัมมาอาชีพนี้ก็รู้ แต่มักยึดหลักว่ารถบรรทุกน้ำมันคว่ำ ก็คงต้องรีบเอาถังไปตัก (น้ำมันแพง) เพราะยึดคติ น้ำขึ้นให้รีบตัก แต่ระวังเรื่องฟืนเรื่องไฟด้วยนะ น้ำมันติดไฟง่าย  (พูดถึงเรื่องพรรณนี้ทีไรก็จะพาออกทะเลเสียทุกครั้งไป กลับมา B.I.G. กันต่อดีกว่า)

 

อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเลนส์ที่มีความซับซ้อนอย่างเช่น กล้องส่องทางไกล หรือ กล้องจุลทัศน์นั้น วิศกรจะต้องออกแบบเลนส์เพื่อให้เลนส์นั้นสามารถโฟกัสภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้บนขีดจำกัดทางฟิสิกส์เชิงแสงและเพื่อให้สามารถเข้าไปถึงจุดนั้น วิศกรจะต้องคำนวณแสงทั้งในรูปแบบแสงแต่ละเส้นที่เดินทางเป็นเส้นตรงและแสงทั้งหน้าคลื่นทั้งหมดของเนื้อเลนส์เพื่อให้สามารถนำแสงจากวัตถุไปโฟกัสบนจุดรับโฟกัสแสงที่ image plan (เซนเซอร์รับภาพ) ให้คลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ซึ่งทำได้ไม่ยากนักสำหรับชุดเลนส์ในกล้องชนิดต่างๆ เพราะ body กล้องในรุ่นๆหนึ่งนั้นจะ fix ระยะไว้เรียบร้อยแล้ว

ในขณะระบบหักเหแสงของดวงตานั้นมีความละเอียดซับซ้อนกว่ามาก เนื่องจากปัญหาการเคลื่อนที่ของลูกตาที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลารอบจุดหมุนของดวงตา ทำให้แสงเกิดการมองผ่านเลนส์แบบ off-axis หรือ decenter อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นในสมัยก่อนจำเป็นต้องคิดกล่องคงที่มาอันหนึ่งว่า ลักษณะของดวงตาก็เหมือนกล่องตุ๊กตาใบหนึ่ง ที่มีกว้าง ยาว สูง เป็นค่าคงที่ค่าหนึ่ง ค่าที่ว่านั้นก็คือ Gullstrand’s schematic eye ถ้าไม่มีกล่องนี้ การวิจัยและพัฒนาเลนส์สายตาก็คงจะเดินไม่ได้เช่นกัน

 

กลับมาเรื่อง B.I.G. technology

 

ความที่กล่องสมมติแทนลูกตาที่ใช้กันมานานนั้นให้ความแม่นยำกับดวงตาจริงของมนุษย์เพียง 2 % นั่นหมายความว่าการคำนวณด้วยวิธีเดิมที่ไม่ได้ใช้ค่าจากดวงตาจริงนั้น ไม่สามารถทำให้การออกแบบเลนส์ที่ให้ประสิทธิภาพการมองเห็นสูงสุดได้

 

และด้วยแนวคิดการออกแบบที่ให้ความสำคัญกับลักษณะทางกายภาพของดวงตาเป็นศูนย์กลางในการออกแบบหรือเพื่อต่อยอดการคำนวณต่อๆไป จึงต้องคิดค้นว่าจะเก็บข้อมูลกายภาพของดวง (biometric) แต่ละคนอย่างไร เกิดเป็นเทคโนโลยีที่เรียกว่า DNEye Pro techlology โดยเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือ DNEye Scan 2 และการคำนวณเลนส์รูปแบบใหม่จะใช้ค่ากายภาพดวงตาแต่ละข้างในแต่ละคนจริงแทน โดยรวมเข้ากับเทคโนโลยีเดิมที่มีอยู่ได้แก่ Individual lens technology(ILT) ,Eye lens technology (EyeLT) และ DNEye technology เป็น Biologic Intelligence Glasses ,B.I.G. technology เรียกได้ว่า เป็นเลนส์ที่มีความเฉพาะบุคคลที่สุดในโลกปัจจุบัน (อนาคตก็ไม่แน่ อาจมีใครมาล้มแช้มป์ แต่ต้องเลิกใช้แม่พิมพ์ในการปั๊มโครงสร้างโปรเกรสซีฟเสียก่อน จึงจะมีลุ้น ถ้ายังก็ไปสร้าง marketing wording ขายของไปพลางๆก่อน)

 

The Challengce

https://www.loftoptometry.com/assets/filemanager/userfiles/Rode

การออกแบบเลนส์เฉพาะบุคคลขนาดนั้นให้ประสบความสำเร็จมีเรื่องท้าทายที่จะต้องรับมือคือ

1.จะต้องมีการเก็บ individual data ในคลินิกตั้งแต่เรื่อง refractive error ค่าพารามิเตอร์แว่นขณะสวมใส่ ค่าฟิตติ้ง ค่าพีดี ค่าระยะดูใกล้ รวมไปถึงค่าทางกายภาพที่ทางคลินิกจะต้องตรวจด้วย DNEye Scan เพื่อส่งค่าดังกล่าวให้กับโรเด้นสต๊อก

 

DNEye Scan จะทำการเก็บค่าต่างๆทั้งในเรื่อง refractive error ทั้งที่เป็น lower order (สั้น/ยาว/เอียง)และ higher order aberration (coma ,trefoil,spherical aberration,  secondary astigmatism) ทั้งขณะมองไกลและดูใกล้ ขณะรูม่านตาขยายและรูม่านตาหด เก็บข้อมูลความโค้งของกระจกตาทั่วทั้งแผ่น ขนาดของรูม่านตาเมื่อถูกกระตุ้นด้วยแสงสว่างและแสงมืด  ความลึกของช่องน้ำในลูกตา (anterior chamber depth) ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ ไม่สามารถสั่งทางแฟกซ์หรือทางโทรศัพท์เหมือนเลนส์เทคโนโลยีเก่า แต่ต้องใช้ software ที่ลิ้งค์กับ server ของโรงงาน เพื่อให้สามารถ เข้ารหัสข้อมูลที่ถูกมัดรวมเป็น bundle (encript) ส่งเข้าโรงงานโดยตรงเรียกว่า biometric data set เพื่อนำไปวิเคราะห์หา eye model เฉพาะบุคคลนั้นๆ

 

2.จะต้องมีเครื่องมือในการคำนวณที่มีความสามารถที่ซับซ้อน ที่สามารถประมวลผลจากข้อมูลแต่ละบุคคลที่ได้รับมาได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และ รวดเร็ว ซึ่งโรเด้นสต๊อกมีความเชี่ยวชาญเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2000 กับ online-unique customization technology ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการคำนวณออกแบบโครงสร้างที่สามารถทำงานแบบออนไลน์ได้ทันทีที่ได้รับคำสั่งออเดอร์เข้ามาและใช้เวลาเพียงไม่ถึงนาทีก็สามารถหาโครงสร้างที่ดีที่สุดบนตัวแปรที่กำหนดได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ซึ่งรูปแบบการคำนวณนั้นไม่ได้มองแค่เพียง reference point ที่ตำแหน่งมองไกลหรือใกล้ แต่ทั้งหมดทั่วทั้งเลนส์เพื่อโฟกัสแต่ละจุดบนเลนส์นั้นไปตกบน image plan (เรตินา) ซึ่งมีลักษณะของจอที่โค้งตามลักษณะของลูกตา (ต่างจากจอรับโปรเจคเตอร์ฉายหนัง ที่มีลักษณะเป็นแผ่นเรียบตรงๆ)

 

สรุปก็คือ DNeye technology นั้นเป็นเทคโนโลยีการคำนวณที่ใช้การคำนวณแบบ wave front ที่ไม่ได้คำนวณเพียงแค่จุด verex sphere (กำลังเลนส์รวมที่ผิวหลังเลนส์ที่จะบังคับแสงให้ไปตกบนจุดรับภาพที่ far point sphere หรือ เรตินา (ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจริงๆแล้วห่างออกไปเท่าไหร่(เพราะใช้ standard eye model))  แต่ทั่วทั้งหมดว่า เมื่อแสงผ่านชั้นต่างๆของลูกตาจนถึงจอประสาทตา เแล้วดูว่าภาพที่จะเกิดบนเรตินาจริงนั้นเป็นอย่างไร และการคำนวณกำลังเลนส์นั้นไม่ใช่แค่เพียงกำลังสายตาสั้น/ยาว/เอียงเท่านั้น แต่ยังดูลักษณะของ wavefront เมื่อเคลื่อนที่ผ่าน refractive surface ว่ามี Higher order aberration ,HOA เกิดขึ้นอย่างไร เพื่อให้สัญญาณภาพจากเรตินานั้นเป็นสัญญาณที่มีความคมชัดทั่วทั้งเลนส์และพร้อมจะส่งสัญญานที่มีคุณภาพไปยังสมองเพื่อแปรเป็นภาพที่คมชัดต่อไป

 

จากการกระทำดังกล่าวที่ใช้ลักษณะทางกายภาพของแต่ละดวงตา (ocular biometry) ความยาวของกระบอกตาจริงนำมาคำนวณร่วมกับพารามิเตอร์ต่างๆของกรอบแว่นตาขณะสวมใส่ ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นแตกต่างไปจากการคำนวณแบบเดิมอย่างมีนัยสำคัญ และให้โฟกัสของภาพที่คมชัดขึ้นอย่างชัดเจน

 

ตาแต่ละดวงนั้นมีความเฉพาะและทุกพารามิเตอร์จะถูกนำไปคำนวณ

2% Corrected in Gullstand’s

Gullstrand eye model – เป็นโมเดลจำลองลูกตามาตรฐาน โดยกำหนดขนาดดวงตาของมนุษย์ทุกคนว่าจะมีพารามิเตอร์ของกายภาพดวงตาเป้นอย่างไร เช่น ความยาวกระบอกตา ความลึกของช่องน้ำในลูกตา ความลึกของวุ้นตา และกำลังของส่วนต่างๆของตาเช่น กระจกตา เลนส์แก้วตา เพื่อใช้ในการพัฒนาวงการออกแบบเลนส์สายตา 

 

คนบนโลกกว่า 7,500 ล้านคน รวมดวงตากว่า 15,000 ล้านดวงนั้น ตาแต่ละดวงล้วนมีความแตกต่างกัน นั้นหมายถึงความหลากหลายของพารามิเตอร์ทางกายภาพที่ต่างกัน ทั้งในแง่ของ ความยาวกระบอกตา (axial length) และ รูปทรง (shape) ทำให้การทำงานร่วมกันของส่วนต่างๆนั้นเกิดความไม่สมบูรณ์ของโฟกัสขึ้นได้ในคนส่วนใหญ่ ทำให้เกิดปัญหาสายตา (สั้น/ยาว/เอียง) ขึ้นมา (ametropia) ทำให้จำเป็นต้องใช้เลนส์สายตาในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว  นี่เป็นเหตุผลว่า ยิ่งเราสามารถรู้ข้อมูลดวงตาแต่ละดวงได้ชัดเจนแม่ยำเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งสามารถออกแบบเลนส์ให้เหมาะสมกับดวงตาข้างนั้นและคู่นั้นได้ดีที่สุดได้เช่นกัน

 

พารามิเตอร์ทางกายภาพของดวงตาที่เราจะต้องนำมาคิดเป็นสิ่งแรกสำหรับข้อมูล biometric data ก็คือความยาวของกระบอกตา หรือ axial lenght ซึ่งโรเด้นสต๊อกได้ศึกษาและพัฒนาเรื่องนี้มายาวนานหลายปีและพบว่า การกระจายตัวของความยาวกระบอกตาของแต่ละคนที่มีปัญหาสายตานั้น มีค่าเบี่ยงเบนจากความยาวกระบอกตามาตรฐานถึง +/-10 มม. (norm axial lenght = 24 mm) นั่นหมายความว่า ความยาวกระบอกตานั้นสามารถเป็นได้ได้ตั้งแต่ 10 ม.ม.-30 มม. โดยประมาณ และ ในทุกๆ มิลลิเมตรที่ต่างกันนั้น สามารถสร้างกำลังหักเหที่ต่างกันถึง +/-3.00 D

 

จากข้อมูลที่ศึกษามาหลายปีพบกว่า มีเพียง 14 % ของประชากรเท่านั้นที่มี axial length ตรงกับ eye model แบบเดิม โดยความแตกต่างของ axial lenght นั้นขึ้นอยู่กับปัญหาสายตาที่เป็น โดยสายตาสั้น(myopia)จะมี axial lenght ที่มากกว่าค่ากลาง (กระบอกตายาว) และ คนสายตายาวแต่กำเนิด(hyperopia)จะมี axial lenght ที่สั้นกว่าค่ากลาง(กระบอกตาสั้น) หรือแม้แต่คนสายตาสั้น/ยาว เท่ากัน ก็สามารถมีความยาว axial lenght ที่ต่างกันได้ด้วยเช่นกัน (เพราะ refractive power จากกระจกตาและเลนส์ตาไม่เท่ากัน แม้ axial lenght เท่ากัน สายตาก็สามารถต่างกันได้เช่นกัน)

 

ถ้าจะพิจารณาลงไปในแต่ละพารามิเตอร์ทางกายภาพ เราจะพบว่ามีค่าที่ต่างกันได้มาก  ความยาวของกระบอกตาก็เป็นหนึ่งในพารามเตอร์นั้นที่มีความหลากหลาย ซึ่งโรเด้นสต๊อกได้ทำการศึกษาคนที่มีปัญหาสายตา ทั้งประเภทของสายตา กำลังหักเหของกระจกตา ความลึกของช่องน้ำในลูกตา โดยใช้โมเดลเดิมของ Gullstrand พบว่ามีเพียง 2% เท่านั้นที่ได้ค่าใกล้เคียงกับโมเดลเก่า จึงเป็นเรื่องที่ดีกว่าถ้าเราสามารถทิ้งโมเดลเก่าทั้งหมดแล้วคำนวณโครงสร้างเลนส์ขึ้นมาใหม่สำหรับดวงตาของแต่ละคน

 

การจะทำความเข้าใจเรื่องนี้ให้มากขึ้นนั้น สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจกันก่อนก็คือหลักการเดิมของ eye model แบบเก่า ซึ่งเราจะเริ่มด้วยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจวัดสายตา (subjective refraction)

 

จุดมุ่งหมายในการตรวจวัดสายตานั้นทำไปเพื่อหากำลังเลนส์เพื่อวางโฟกัสของภาพที่สะท้อนมาจากวัตถุซึ่งอยู่ที่ระยะอนันต์ (ไกลกว่า 6 เมตร) ให้มาโฟกัสบนจุดรับภาพบนเรตินา เพื่อให้เกิดภาพที่คมชัด (ถ้าห้องตรวจยาวไม่ถึง นั่นก็หมายความว่าไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่กำลังพูดถึงอยู่นี้)

 

แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับก็คือ “ไม่มีโฟกัสอะไรที่สมบูรณ์แบบ” เนื่องจากระบบหักเหแสงไม่ว่าจะเป็นชุดเลนส์ของตามนุษย์หรือเลนส์สายตาหรือเลนส์กล้องก็ล้วนมี Higher order aberration(HOA) อยู่เสมอ ดังนั้นโฟกัสที่ว่านั้นคือโฟกัสที่ดีที่สุดในบริบทนั้นๆ ก็คือจุดที่เราเรียกว่า circle of least confusion (แม้ว่าจะได้ค่าแท้จริงของ สั้น ยาว เอียง ดีแล้วก็ยังมีเรื่องของ Higher order aberration ที่ไม่สามารถตรวจวัดได้ทางคลินิกอยู่ดี) ดังนั้นโฟกัสที่เกิดขึ้นจริงบนเรตินาคือ S.E. หรือ spherical equivalent หรือ best sphere หรือ sphero-cylinder หรือ circle of least confusion (คำเหล่านี้ให้ความหมายเดียวกัน) ของทั้ง LOA และ HOA ที่ระบบเลือกที่จะปรับให้โฟกัสบนจุดรับภาพ 

 

ดังนั้นสิ่งที่เลนส์ต้องทำก็คือ บังคับแสงด้วยการบีบแสงที่ออกจากเลนส์ลอง (trial lens) ซึ่งถูกวางบนแว่นลอง (trial frame) ซึ่งอยู่ห่างกระจกตาออกไป (ประมาณ 12 มม.) เมื่อวิ่งผ่านกระจกตา เลนส์แก้วตาแล้วก็ควรจะไปโฟกัสที่เรตินาพอดี โดยที่ไม่ต้องอาศัยการบีบตัวของเลนส์แก้วตาช่วย ( relax accommodation) แต่เรตินาอยู่ที่ไหนก็ขึ้นอยู่กับว่ากระบอกตายาว/สั้น เท่าไหร่ ซึ่งก็เป็นในเรื่องลักษณะทางกายภาพของดวงตา(แต่ละคน)

 

ส่วนจุดมุ่งหมายของเลนส์สายตา (เลนส์แว่น) ก็ทำเรื่องเดียวกันคือ นำภาพจากวัตถุที่ระยะอนันต์มาโฟกัสบนจุดรับภาพเช่นเดียวกันกับที่ trial lens ทำ แต่สิ่งที่เลนส์แว่นตาต้องทำมากกว่าคือ การใช้งานในชีวิตจริงตาไม่ได้ fixate ที่ VA-chart ในตำแหน่งตาตรง ( primary gaze) อยู่ตลอดเวลา แต่มีการเคลื่อนที่ไปมารอบจุดหมุน (center of rotation ,COR.)ทั่วทั้งเลนส์​ (และต่างจากเลนส์กล้องที่เราใช้การ pan กล้องไปยังวัตถุที่ต้องการเก็บภาพ) ทำให้แนวโฟกัสนั้นเกิดเป็นเส้นโค้งเรียกว่า far piont sphere 

 

ดังนั้นในการออกแบบเลนส์แว่นตาขึ้นมาจึงต้องสร้าง “แบบจำลองลูกตา” (ophthalmic eye model) ขึ้นมาเพื่อทำการคำนวณให้เส้นแนวโฟกัสจากทุกจุดของเลนส์ที่ตากำลังมองดูอยู่นั้นวิ่งมาตัดกันที่จุดเดียวกัน ณ ตำแหน่งของของจุดหมุนของดวงตา (center of rotation,z)

เมื่อดวงตามีการเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่างๆ ก็จะเกิดโฟกัสเป็นแนวโค้งตามลักษณะการเคลื่อนที่ของดวงตา(รอบจุดหมุน) แนวโฟกัสโค้งตามการเคลื่อนที่นั้น เราเรียกว่า “far point sphere” เมื่อเราลองจินตนาการด้วยการกางขาวงเวียนโดยให้มีมุมพอดีกับแนวเส้น far point sphere แล้วใช้ center of rotation เป็นจุดหมุน(จุดสมมติอีกนั่นแหล่ะ) เราก็จะได้แนวโฟกัสเป็นรูปวงกลม

เมื่อได้จุดหมุน(สมมติ) ขึ้นมาแล้ว ก็จะได้แนวโฟกัสของ far point แล้วหน้าที่ของวิศวกรออกแบบโครงสร้างเลนส์คือจะทำกำลังเลนส์ในแต่ละจุดอย่างไร ให้ตาที่มองผ่านตำแหน่งนั้นๆแล้วจะเกิดโฟกัสที่ far point sphere พอดี เราเรียกค่ากำลังเลนส์ในแต่ละจุดบนเลนส์สายตานั้นว่า vertex spere และนี่คือเทคนิคในการออกแบบเลนส์ให้มีกำลังหักเหให้บังคับแสงไปตกบนเรตินาตามแนวการเคลื่อนที่รอบจุดหมุน โดยไม่ต้องไปดูเรตินาจริงว่าอยู่ที่ไหนและหลักนี้เองที่เอามาเป็นพื้นฐานในการออกแบบเลนส์ด้วยแบบจำลองลูกตา โดยที่ไม่ต้องเข้าไปวัดภายในลูกตา

 

ศึกษา far point sphere ได้จากบทความเก่าที่ผมเคยได้เขียนไปจากล้ิงที่แนบมา https://www.loftoptometry.com/พื้นฐานการออกแบบเลนส์ชั้นเดียว

 

 โมเดลดวงตามาตรฐานที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น จะใช้จุดศูนย์กลางการหมุนของดวงตาเป็นเซนเตอร์ของ far point sphere ซึ่งเป็นจุดเสมือนที่ติ๊งต่างว่าแสงไม่ว่าจะมาจากจุดไหนของเลนส์(ตามแต่การกลอกของลูกตา) จะวิ่งผ่านที่จุดนี้  และ ถือเป็นศูนย์กลางของ vertex sphere ซึ่งเป็นจุดของกำลังรวมของเลนส์ที่จะบังคับแสงให้ไปตกบน far point sphere 

 

 เป็นเหตุให้เลนส์ที่ใช้โมเดลมาตรฐานนั้น  ไม่สามารถจะทำให้แสงที่เข้าจากทางด้านข้างของเลนส์ (เมื่อมีการกลอกตา) ตกบนจุดรับภาพได้พอดี ทำให้เกิดภาพเบลอบนจอรับภาพ เป็นให้มัวเมื่อมีการกลอกตามองผ่านด้านข้างของเลนส์  เนื่องจากเราไม่รู้ตำแหน่งที่แท้จริงของจุดหมุนของดวงตา ทำให้แสงด้านข้างนั้นวิ่งไม่ผ่านจุดหมุน 

 

แต่อย่างไรก็ตาม center of rotation หรือจุดหมุนของดวงตาไม่ได้มีอยู่จริง แต่เป็นจุดสมมติขึ้นมา (มโนนิดๆ) บนแบบจำลองลูกตาของ Gullstand’s และตาที่เคลื่อนที่โดยไม่ใส่แว่นกับคนที่ใส่แว่น เมื่อมองไปยังตำแหน่งต่างๆของขอบเลนส์ จะให้ค่าที่ต่างกัน  โดยคนที่ใส่แว่นจะทำให้โฟกัสไม่ผ่านจุดหมุนและทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของโฟกัส (เพราะเลนส์แว่นไม่ได้วิ่งตามตาที่กลอก) เป็นเหตุให้เกิดภาพไม่ตกบนจุดรับภาพ และเกิดภาพมัว ตามแต่ลักษณะของกายภาพดวงตาของแต่ละคน ดังนั้น ถ้าเราสามารถหาจุดหมุนแท้จริงได้ เราจึงจะสามารถคำนวณกำลังของ vertex sphere เพื่อบังคับภาพให้ตกบน far point sphere ได้ 

 

เมื่อเรารู้ลักษณะทางกายภาพแท้จริงของดวงตาแต่ละข้าง เราสามารถคำนวณหาจุดหมุนของดวงตาและ far point sphere ได้แม่นยำมากขึ้น การคำนวณ vertex sphere เพื่อให้โฟกัสจากจุดต่างๆบนเลนส์ไปตกบน far point sphere ก็มีความแม่นยำมากขึ้น ทำให้เกิดภาพที่คมชัดในทุกจุดของแนวการกลอกตา 

 

การที่เรารู้ลักษณะทางกายภาพของดวงตาแต่ละคน และด้วยเทคโนโลยีที่โรเด้นสต๊อกมี ทำให้สามารถหาคำนวณความสัมพันธ์ของลักษณะการเกิดโฟกัสแท้จริงที่เกิดจากดวงตาและเลนส์สายตากระทำร่วมกันได้ ทำให้แนวโฟกัสผ่านเลนส์จากจุดต่างๆบนเลนส์นั้นสามารถตกในแนว far point sphere ได้ในทุกแนวของการมองซึ่งความแตกต่างของการคำนวณที่เกิดขึ้นจากการใช้ biometric eye model กับการใช้ standard eye model (ผังดวงตาจำลอง) นั้นให้ค่าที่แตกต่างกันมากน้อยตามลักษณะทางกายภาพของตาแต่ละคนว่าต่างจากของ Gullstand มากน้อยแค่ไหน

ดังนั้น ในการคำนวณเลนส์ที่ใช้พื้นฐานดวงตาจำลองของ Gullstrand นั้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับคุณภาพของการมองเห็นที่ดี แต่ดวงตาจำลองนั้นก็มีหลายมาตรฐานอยู่หลายอย่าง(นอกจาก Gullstand) อยู่ที่ว่าใครจะเอาแบบมาตรฐานไหนไปใช้ ก็จะผิดถูกมากน้อย ลดหลั่นกันไป แต่เป็นไปได้ยากที่จะ matching กับตาแต่ละดวงจริงๆ

 

เรื่องจริงก็คือว่า มากกว่า 98% ของประชากรนั้น มีลักษณะพารามิเตอร์ทางกายภาพแตกต่างจากโมเดลตามาตรฐาน จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เราต้องรู้ลักษณะโครงสร้างดวงตาแต่ละดวงจริงๆเพื่อนำไปคำนวณหาค่าที่ถูกต้อง

 

ผลจากการศึกษา

 

การจะทำความเข้าใจในเรื่องผลของกายภาพดวงตาต่อการโฟกัสภาพขณะใส่แว่นนั้น จำเป็นต้องเข้าใจในเรื่อง dynamic vision จึงจะสามารถเข้าใจระบบการมองเห็นได้ทั้งหมด

 

 

ลูกตามีการเคลื่อนที่ตลอดเวลามากกว่า 250,000 ครั้ง/วัน เพื่อมองหาสิ่งที่ตัวเองสนใจจะมอง โดยมีลานตา (periphery vision) เป็นตัวช่วยในการนำทางโฟกัสชัดของภาพให้เกิดความรวดเร็วในการโฟกัส (เช่นมีเงาแว๊บๆด้านข้างก็กระตุ้นให้เราหันไปมองให้ชัด) นั่นหมายความว่า เลนส์สายตาที่ดีจะต้องสามารถให้ระบบการมองเห็นนั้นดีในทุกๆด้านทั้ง แนวโฟกัสที่ไปจุดรับภาพ (central vision) และ แนวโฟกัสด้านข้างที่ไปยังลานสายตา (dynamic vision) ซึ่งทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นได้จะต้องอาศัยข้อมูลลักษณะทางกายภาพที่แม่นยำเท่านั้น

 

เครื่องมือที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลดวงตาแต่ละคนจึงเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์เพื่อให้การออกแบบเลนส์นั้นสามารถให้ค่าแม่นยำที่สุด เพื่อให้ระบบการทำงานของดวงตานั้นทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

 

ด้วยทฤษฎีและหลักการข้างต้นนี้ โรเด้นสต๊อกเรียกคอนเซปต์นี้ว่า B.I.G. (Biometric Intelligent Glasses) และได้ทำการศึกษากับผู้ใช้งานจริง 283 ตัวอย่าง พบว่า

92% รายงานว่า ภาพคมชัดขึ้นเมื่อใช้ B.I.G. นอกจากภาพที่คมชัดขึ้นแล้วสิ่งที่ผู้สวมใส่รู้สึกได้คือ visual field ที่กว้างขึ้นในทุกระยะของการมอง contrast ดีขึ้น ปรับตัวได้เร็วขึ้น  โดยรวมแล้ว 84% รายงานว่าเห็นได้ดีขึ้น และ 88% รายงานว่าความสบายตาดีขึ้น ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ เกิดมาจากเลนส์สามารถส่งสัญญาณภาพที่ดีขึ้นไปยังสมอง ทำให้การประมวลผลของสมองนั้นรับรู้ได้ถึงความคมชัดและความสบายดังกล่าว

 

สรุป

 

B.I.G. เป็นเทคโนโลยีเลนส์ใหม่ ที่เปลี่ยนกระบวนทัศน์ในในการคำนวณโครงสร้างเลนส์ใหม่ทั้งหมด เพื่อจะยกระดับคุณภาพของการมองเห็น ไม่เพียงแค่ในส่วนของ optic เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการรับรู้ในระดับสมอง และ ด้วยลักษณะของดวงตาแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกันและโมเดลลูกตามาตรฐานเก่านั้นไม่ตอบโจทก์ที่ดีพอกับทุกคน ทำให้กว่า 98% ของผู้สวมใส่แว่นตานั้นไม่ได้รับคุณภาพของการมองเห็นอย่างที่ควรจะเป็น  แต่ B.I.G. นั้นต่างออกไป เลนส์แต่ละคู่นั้นถูกออกแบบมาเพื่อดวงตาแต่ละดวง เพื่อจะส่งมอบโฟกัสที่คมชัดเท่าที่จะเป็นไปได้ให้กับสมอง

 

ทิ้งท้าย

 

เนื้อหา B.I.G. ในตอนที่ 2 นี้เป็นเทคโนโลยีในการเก็บ real biometric data เพื่อนำไปคำนวณร่วมกับค่าพารามิเตอร์อื่นๆในการออกแบบเลนส์ ซึ่งต้องใช้เครื่องสแกนที่เรียกว่า DNEye Scan 2 ซึ่งกลุ่มเลนส์ที่ต้องอาศัยข้อมูลจากเครื่องนี้คือ Progressiv B.I.G. Extract ,Multigressiv B.I.G. Extract  และ Impression B.I.G. Extract

 

แต่ในกรณีที่ร้านไม่ได้มี DNEye Scan หรือ ผู้รับบริการไม่ได้ต้องการเลนส์ที่ cost ของเทคโนโลยีสูงขนาดนั้น แต่ก็ยังสามารถได้ประโยชน์ของเทคโนโลยีนี้ด้วยเช่นกัน โดยใช้ AI เข้ามาช่วย Group แล้ววิ่งหา eye model ที่ดีที่สุด กับเลนส์กลุ่ม B.I.G. Norm ได้แก่ Progressiv B.I.G. NORM ,Multigressiv B.I.G. NORM และ Impression B.I.G. NORM ซึ่งเรื่องราวจะเป็นอย่างไร ผมขอยกไว้ใน B.I.G. Vision For All ,ตอนที่ 3

 

อีกเรื่องทิ้งท้ายสำคัญ​ B.I.G. ไม่ได้มีไว้ให้กับการ compromise ดังนั้น การจัดสายตาไม่ว่าจะการไม่ยอม full corrected ก็ดี  การตัดเอียงทิ้งก็ดี การปรับสายตาให้เท่ากัน(ทั้งที่ไม่เท่ากัน)ก็ดี การตบองศาเอียงเข้าแกนหลักหรือปรับให้แกนมันเหมือนกัน(ทั้งที่ไม่เท่ากัน)ก็ดี  การจ่ายค่าที่ผิดจากความจริงก็ดี over corrected ก็ดี under corrected ก็ดี สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความผิดพลาดของการโฟกัสมากกว่าสิ่งที่ B.I.G.ทำอยู่มากโขนัก ดังนั้น เลนส์ดีแค่ไหน ถ้า compromise ทุกอย่างก็เป็นโมฆะ เพราะ B.I.G. คือ precision technology ไม่ใช่เทคโนโลยี for compromise

 

ขอบคุณทุกท่านสำหรับการติดตาม เจอกันใหม่ตอนหน้า

สวัสดีครับ 

ดร.ลอฟท์ O.D.


Loft Optometry 

578 Wacharapol rd. Bangkhen ,BKK 10220 

mobile : 090-553-6554

line : loftoptometry 

fb : @loftoptometry 


References : data & Image

www.mieducation.com

www.rodenstock.com

  1. D. Uttenweiler et al. Ten years of Impression. Part 1 and 2. Optician, 05 and 06/2010.
  2. W. Becken et al. Optimisation of progressive lenses: Listing’s Law. Optician Online, 02/2016.
  3. W. Becken et al. Listing’s law: eye movement and near vision. Optician Online, 03/2016.
  4. K. Nicke et al. Brillengläser der Zukunft – Eye-Model. Der Augenoptiker, 6/2011
  5. K. Nicke et al. Brillengläser der Zukunft – Personal Eye-Model. Der Augenoptiker, 11/2011
  6. Jeremias, K., Urech, D. (2013). Von der Wissenschaft zur Praxis –und zurück. DOZ 2013(2) 58
  7. H. Paul (Hrsg.) Lexikon der Optik. Spektrum Akademischer Verlag, 2003
  8. Görsch, H. (1996). Wörterbuch der Optometrie. Enke Verlag, Stuttgart: Enke Ferdinand
  9. C. W. Oyster. The Human Eye: Structure and Function. Sinauer Associates (imprint of Oxford University Press), 1999
  10. G. Esser et al. Derivation of the refraction equations for higher order aberrations of local wavefronts at oblique incidence. JOSA A, Vol. 27, No. 2 (2010)
  11. G. Esser et al. Derivation of the propagation equations for higher order aberrations of local wavefronts at oblique incidence. JOSA A, Vol. 28, No. 11 (2011)
  12. S. Trumm et al. Simulating the actual imaging in the individual eye: a novel approach to calculating spectacle lenses. SPIE 2020.
  13. Y. Bénard, A. Welk (2016). Physiological study I: Haag-Streit biometer LenStar vs. Rodenstock DNEye Scanner 2, Internal study Rodenstock.
  14. F. Schulz, Y. Bénard, W. Eisenbarth & A. Seidemann (2019). Physiological study II: LenStar (Haag-Streit) vs. Individual eye model. Study in collaboration with the University of applied science Munich.
  15. G. Esser and W. Müller. Industrie 4.0 – Die Zukunft der Brillenglasoptik. FOCUS, 1/2016
  16. M. Jalie. The principles of ophthalmic lenses, ABDO, 1994
  17. Oh, AJ, Chen, T, Shariati, MA, Jehangir, N, Hwang, TN, Yaping, Joyce and Liao, YJ. (2018). A simple saccadic reading test to assess ocular motor function in cerebellar ataxia. PLoS ONE 13(11)
  18. Sebastian, Burge & Geisler (2015). Defocus blur discrimination in natural images with natural optics. Journal of Vision, 15(5):16, 1–17
  19. Ludwig, C., Davies, J. & Eckstein, M. (2013). Foveal Analysis And Peripheral Selection During Active Visual Sampling. Santa Barbara: University Of California
  20. Adams RW. (1971). Peripheral Vision And Visual Attention. Retrospective Theses and Dissertations, 4933.
  21. Gegenfurtner, K. R. (2016). The Interaction Between Vision and Eye Movements. Perception, 45(12), p. 1333–1357
  22. Swiss study. (2014, 2018). DNEye. 
    Kundenbefragung. Zürich.