Loft optometry ใช้อะไรวัดสายตา ?

by dr.loft 

public 17 January 2022

 

Intro

Inspire ในการเขียนเรื่องในวันนี้ เกิดขึ้นจากบทสนทนาในโทรศัพท์จากคำถามของท่านหนึ่งที่โทรมาเพื่อปรึกษาปัญหาสายตาและปัญหาของระบบการมองเห็นที่กำลังประสบอยู่และกำลังหาแนวทางเพื่อที่จะแก้ไข หลังจากศึกษาและตามอ่านจากสื่อต่างๆและประสบการณ์การทำแว่นจากที่ต่างๆ ว่ามันมีวิธีอย่างนั้นอย่างนี้ เทคโนโลยีอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้  จนกระทั่งเข้า search เข้ามาเจอบทความในเว็บไซต์ขอที่นี่  ซึ่งก็ได้ความรู้ที่เหมือนกำลังจะตอบโจทก์ปัญหาที่เป็น แต่ก็สงสัย เพราะไปที่เขาบอกว่าตรวจด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยก็แล้ว  ตรวจครบทั้ง  3 มิติ 4 มิติ ก็แล้ว ก็ยังแก้ไขไม่ได้  ก็เลยอยากทราบว่า ลอฟท์ ออพโตเมทรีใช้อะไรในการวัดสายตา ?

 

ก่อนอื่นต้องขออนุญาตด้วยความเคารถกับท่านที่โทรถามเข้ามาด้วย เพราะบทสนทนากับท่านในวันนั้น ช่วยสร้าง inspire ให้ผมอยากลุกขึ้นมาเขียนเพื่อปรับความเข้าใจกันกับทุกคน  ซึ่งผมจะหยิบเฉพาะเรื่องในบทสนทนาหลักๆมาก็แล้วกัน 

 

ref. Conversation

คำถาม คุณเป็น “นักทัศนมาตร” หรือเปล่า ? (คำถามในสาย)

อ๋อ ไม่ใช่ครับ ผมเป็น “ทัศนมาตร” เฉยๆ ครับ ไม่ใช่ “นักทัศนมาตร” (,ผมตอบ)

อ้าว...ไม่เหมือนกันหรือครับ ผมก็นึกว่ามันเหมือนกัน (,เสียงในสายถาม)

จริงๆก็เหมือนกันแหล่ะครับ ผมกวนพี่เล่นเฉยๆ แต่...ผมไม่ชอบคำว่า "นักทัศนมาตร"  ผมชอบคำว่า "ทัศนมาตร" มากกว่า (,ผมตอบพร้อมอธิบายว่าทำไมไ่ม่ชอบ)

อ้อ...ครับ ,ต้องขอโทษด้วยครับ ผมก็อ่านๆมา ที่เขาโพสต์ๆกัน ก็เลยเรียกตามที่ตัวเองเข้าใจ (,เสียงในสายตอบ)

ไม่มีไรครับ ผมอยากกวนพี่เล่นเฉยๆ  ว่าแต่อยากปรึกษาเรื่องอะไรครับ (,ผมถาม)

(แล้วก็คุยปรึกษาปัญหาการมองเห็นอยู่สักพักใหญ่) 

 

The Point 

ทีนี้ ประเด็นก็มีอยู่ว่า ถ้าผมจะเออออห่อหมกตามน้ำไปก็ได้ว่า “ใช่ ผมเป็นนักทัศนมาตร” ก็ดูจะไม่มีปัญหาอะไร เพราะส่วนใหญ่ optometrist ก็เรียกตัวเองอย่างนั้น ทำให้คนทั่วไปเข้าใจอย่างนั้น โดยไม่เคยเอะใจว่า การศึกษาเล่าเรียนปริญญาวิชาชีพสูงสุดในระบบการเรียนการสอนแบบ doctor degree ยาวนานถึง 6 ปีนั้น และ ไม่มีปริญญาวิชาชีพเฉพาะอื่นใดที่เรียนด้านปัญหาสายตาและระบบการมองเห็นที่มีปริญญาสูงกว่าให้เรียนแล้วที่จะมีเรียนก็เพียง specialist และ subspecialist แต่ก็อยู่บนรากฐานของวิชาชีพ optomtry อยู่ดี ดังนั้น doctor of optometry ,O.D. จึงเป็นปริญญาสูงสุดทางด้านนี้แล้ว จะจบออกมาเป็น “นัก” ได้อย่างไร

 

เราจึงไม่เคยได้ยินคำว่า "นักแพทย์"  “นักทันตแพทย์”  “นักเภสัชกร” “นักทนาย” “นักพยาบาล” “นักสถาปนิก” “นักวิศวกร” เป็นต้น เพราะวิชาชีพเหล่านี้เป็นวิชาชีพสูงสุดในสายของตัวเอง ไม่มีสูงไปกว่านี้แล้ว ถ้าสูงกว่านี้ก็จะเป็นการเรียนต่อก็จะเป็นในเรื่องของความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ซึ่งไม่ใช่ความรู้ใหม่ แต่เป็นความรู้เดิม ที่ลงลึกในรายละเอียด และ ลึกลงไปเรื่อยๆเป็น specialist และ subspecialist ต่อไป

 

วิชาชีพที่มีปริญญาสูงสุดของตนเอง เมื่อทำงานเฉพาะทางในสายของตัวเอง การตรวจ วิเคราะห์ วินิจฉัย จึงไม่ต้องขอความคิดเห็นจากวิชาชีพอื่น เช่นทันตกรรมจัดฟัน ก็คงไม่ต้องถามคนในวิชาชีพอื่น เพราะงานนั้นๆก็สุดในสายที่ตนเองทำงานแล้ว เว้นเสียแต่ว่า มีรอยโรคบางอย่างที่ไม่เกี่ยวข้องงานของตนเอง ก็จะต้องถามวิชาชีพอื่น อย่างนี้เป็นต้น

 

ตัวอย่างเช่นถ้าหาก อาการ ภาพมัว หรือ ภาพซ้อนที่อยู่ๆนั้นเกิดขึ้นมาแบบฉับพลันนั้นอาจเป็นไปได้ว่ามีความผิดปกติบางอย่างทางร่างกาย ก็ต้องส่งให้ผู้เชียวชาญด้านเวชกรรมเป็นผู้ดูแล แต่หากว่าเป็นอาการที่เกิดจาก refraction , binocular funciton หรือ accommodation ที่ทำงานผิดปกติ อันนี้ก็เป็นเรื่งอของทัศนมาตร

 

ดังนั้น ทัศนมาตร นั้นจึงเป็นปริญญาสูงสุดในวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสายตาและระบบการมองเห็นของสองตา และ แก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยเลนส์ชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเลนส์สายตา หรือ คอนแทคเลนส์ หรือ เลนส์ปริซึม หรือ ยาและอุปกรณ์อื่นๆตามที่กฎกระทรวงอนุญาต ได้ด้วยตนเอง โดยสามารถตรวจเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์​ สังเคราะห์ วินิจฉัย บูรณาการ ได้ตามความรู้ที่ตนเองมีได้เต็มที่โดยไม่ต้องถามใคร  เว้นเสียแต่ว่าพบรอยโรคที่ต้องรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัดซึ่งเป็นงานของเวชกรรม จึงจะส่งต่อเพื่อรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

 

ดังนั้น “ทัศนมาตร” จึงเป็น “ทัศนมาตร” ไม่ใช่นักทัศนมาตร แม้คนส่วนใหญ่จะใช้เพราะความไม่รู้ ก็ไม่เป็นไร แต่ผมกับพี่น้อง 3 มหาก็ยังคงยืนหยัดจะใช้คำว่า “ทัศนมาตร” ต่อไป เพื่อเป็นแบบอย่างถ้าหากใครต้องการจะเดินสายนี้  

 

“ทัศนมาตร คือ หมอสายตาหรือเปล่า” ?

 Optometry Doctor or Refraction Doctor ?

 

คำว่า “หมอสายตา” นั้นเป็นคำคิดขึ้นมาเอง ไม่ใช่คำตามกฎหมาย เกิดจากบางคนที่ยังไม่รู้สึกภาคภูมิใจในคำว่า วิชาชีพทัศนมาตร เพราะมองว่ามันเข้าใจยาก คำใหม่เกิน คนไม่เข้าใจ มันไม่ค่อย make sense ก็พยายามจะเลี่ยงไปใช้คำที่คนทั่วไปเข้าใจได้โดยง่าย ก็มักจะใช้คำว่า "เราคือนักทัศนมาตร หรือ หมอสายตา"

 

"หมอสายตา" Wording Analysis

 ถ้า “หมอ” คือ “doctor”  “สายตา” ก็คงจะเป็น “refraction” ดังนั้น “หมอสายตา” ก็คงจะให้ความหมายเป็น "refraction doctor" ถ้าอย่างนั้น optometrsit คือ refractionist หรือเปล่า  ซึ่งผมว่าไม่ใช่ เพราะ optometry หรือ optometrist นั้น ไม่ได้ทำงานเพียงแค่วัดแว่น หรือ วัดสายตา เว้นแต่ว่าจะมีใครจบมาทางด้านนี้แล้วทำงานแค่ refraction ถ้าอย่างนั้นก็จะเรียกว่า refractionist โดยพฤตินัย แม้โดยปริญญาจะเป็น optometry ก็ตาม

 

บางทีผมก็รู้สึกประหลาดใจที่เห็นทัศนมาตรบางคนรับทำแว่นตาม prescription จากอาชีพหรือวิชาชีพอื่นทั้งที่ตัวเองก็ทำหน้าที่หมอที่มีความรู้ด้านนี้ดีที่สุดอยู่แล้ว แต่กลับไม่ยอมดูแลแก้ไข้ด้วยตัวเอง ก็ไม่รู้ว่าเขารู้หรือเปล่าว่าเขาเป็นใคร ตัวอย่างเห็นได้ชัดคือ รับตัดแว่นออนไลน์ หรือ การจ่ายเลนส์แบบคัดสำเนาค่าสายตาเดิม โดยไม่ตรวจด้วยตนเอง  คำถามคือ ถ้าเป็นหมอที่กำลังจะจ่ายยา ใจคอจะไม่ตรวจสักหน่อยหรือ  หรือ  คิดจะสำเนายาเดิม จ่ายยาเดิม เพื่อหวังแค่จะขายยา ซึ่งถ้าทำอย่างนี้จะเรียกว่าการทำงานในวิชาชีพ (ก็ได้หรือ)

 

ปัญหาสายตา หรือ refractive error นั้น เป็นเพียงขาหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับระบบการมองเห็น แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญไปมากกว่านั้นคือ ระบบการมองของสองตา (binocular funciton) และ ระบบการเพ่งของเลนส์แก้วตา ( accommodation) ซึ่งทั้ง 3 ระบบนี้ ผูกเกี่ยวข้องโยงกันอย่างแยกไม่ออก เมื่อระบบหนึ่งเกิดฟังก์ชั่นที่ผิดปกติ ก็จะลามไปสู่ระบบอื่นๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  เช่นถ้ามี refractive error ที่ยังไม่ได้แก้ไข หรือ แก้ผิด ก็จะลามไปสู่ปัญหาของระบบการมองสองตาและระบบเพ่งของเลนส์แก้วตา  เช่นเราคงเคยเห็นเด็กตาเหล่เข้าเพราะมีสายตายาวแต่กำเนิดที่ยังไม่ได้แก้ไข และ ตาสามารถกลับมาตรงได้ทันทีที่ใส่แว่นที่ถูกต้อง เป็นต้น

 

ดังนั้นผมจึงไม่เห็นด้วยกับการใช้คำว่า “หมอสายตา” เป็นคำภาษาไทยแทนคำว่า “optometrist” เพราะงานทัศนมาตรนั้นมันลึกซึ้งกว่าการจะหาแค่ในเรื่องของสายตา แต่ถ้าใช้เป็นชื่อ commercial name หรือ trade name เพื่อส่งเสริมการขาย ก็ถือว่าทำได้ เช่น หมอดู หมองู หมอปลา หมอนาฬิกา หมอมือถือ  เพื่อจะบอกคนว่าเก่งเรื่องอะไรก็ทำได้  แต่ถ้าจะใช้เป็น generic name ซึ่งแทนรูแบบการทำงานในวิชาชีพทัศนมาตร ก็ควรใช้ให้ถูกต้องจะดีกว่า เช่น เปิดบ้านโปรโมทคณะ ก็โปรโมทไปเลยว่า ค่ายเปิดบ้านทัศนมาตร ไม่ใช่ค่ายหมอสายตา 

 

ดังนั้น ในส่วนนี้ จึงเป็นเหตุว่า ทำไมผมถึงยืนหยัดว่า “ทัศนมาตร” โดยไม่จำเป็นต้องใช้คำว่า “นัก” นำหน้า เพราะทัศนมาตรไม่ใช่ช่างเทคนิค และ ไม่น่าจะต้องใช้คำว่า “หมอสายตา” เพื่อให้ดูเหมือนหมอ เพราะงานของทัศนมาตรนั้นมีความเป็นหมออยู่ในงานที่ทำอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องพยายามจะเป็น ดังนั้น ถ้าอยากเป็นหมอ ผมว่าควรใช้คำว่า “หมอทัศนมาตร” จะดีกว่า

 

ส่วนตัวของผม ผมไม่ได้สนใจคำ prefix- อะไร เพราะผมก็คือผม  ผมมี  "ทัศนมาตร" นั้นมีอยู่เต็มหัวใจ เวลาทำงานก็ถ่ายทอดออกจากหัวใจผ่านงานที่ทำ การเป็นใครจึงไม่สำคัญเท่ากับผมทำอะไร หรือทำอย่างไร  ทำแล้วยังยกมือไหว้ตัวเองลงอยู่หรือไม่ และแท้จริงแล้ว วิชาชีพเป็นเรื่องของปัจเจกชน ใช่ว่าวิชาชีพเดียวกันแล้วจะทำงานเหมือนกัน ซึ่งจุดนี้ทุกคนก็รู้กันดี เหมือนกับช่างตัดผม ซึ่งเราต่างก็รู้ดีว่า ไม่ใช่ว่าช่างตัดผมจะตัดได้เหมือนกัน 

 

TOOLS

Loft optometry ใช้เครื่องอะไร วัดสายตา ?

 

เป็นอีกหนึ่งคำถามที่น่าสนใจ เพราะผมก็ไม่เคยถามคำถามนี้กับตัวเองเวลาผมทำงาน เพราะผมนี่แหล่ะที่เป็นคนตรวจ ที่คิด วิเคราะห์ วินิจฉัย และ หา best solution ในการที่จะแก้ไขปัญหาในแต่ละเคสให้ดีที่สุดเท่าที่ความรู้และวิทยาการจะมีได้

 

ส่วนเครื่องมือนั้น มันก็เป็นเครืองมือที่ช่วยในการเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ แต่เครื่องมือเหล่านั้น วิเคราะห์เองไม่ได้ วินิจฉัยเองไม่ได้ เชื่อไม่ได้ทั้งหมด  ดุลยพินิจทุกอย่างจะอยู่ที่ผมทั้งหมด ผมจึงไม่ได้มองว่า ผมตรวจด้วยเครื่องอะไร จึงไม่เคยยกเครืองมือไปช่วยส่งเสริมการขาย เหมือนที่ใครๆชอบทำกัน คนไข้ก็เลยเข้าใจผิดไปเองว่า ถ้ามีเครื่องมือเหล่านั้นเหล่านี้แล้วจะสามารถตรวจได้แม่นยำ

 

แต่ถ้าอยากจะรู้ว่าผมใช้เครื่องอะไรตรวจ ท่านในสายถามเข้ามา ผมก็ขอลิสต์อุปกรณ์ช่วยทำงาน ซึ่งผมได้คิดแล้วว่า เครื่องแต่ละตัวนั้นได้ะมาตรฐานที่สุดเท่าที่จะมี ขอยกตัวอย่างเช่น

Phoropter : Ultramatic RX Master™ Illuminated Phoroptor® (us) และอีกเครื่องเป็น  MÖLLER WEDEL Visutest  (germany) สองตัวนี้ฟังก์ชั่นดีไม่เหมือนกัน คือดีกันคนละอย่าง ใช้ต่างเงื่อนไขกัน และ ที่ไม่ใช้ auto-phoropter เพราะปัญหาหลักคือ ทำ retinoscope ลำบาก และ prism function ที่ไม่เป็นแบบ smooth แต่เป็น step

Ophthalmic unit : Topcon (Japan)

Chart projector : Nidek (Japan)

Slit lamp : Haag-streit  BQ900 (swiss)

Aberrometer : DNEye scan2 (germany)

Trial lens set : Macro correct curve trial lens set (us)

Trial frame : oculus ub4 (germany)

Fundus camera : Kowa nonmyd-7 (japan)

Retino-ophthalmo scope : keeler + Welch-Allyn

Centering  : ImpressionIST 4  (German)

Accessories : PD-meter , color test ,stereo-test , fixate stick  etc.

ทั้งหมดเหล่านี้ คือเครื่องมือหลัก ที่ใช้ในการ investigate เพื่อหาความผิดปกติต่างๆ แต่เครื่องเหล่านี้ ตรวจเองไม่ได้ คิดวิเคราะห์เองไม่ได้  อีกนัยหนึ่งก็คือ ต่อให้มีเครื่องก็ไม่ได้แปลว่าจะทำงานออกมาได้ดี ถ้าคิดไม่เป็น วิเคราะห์ไม่เป็น  ดังนั้น อย่าไปเพ้อฝันกับเครื่องมือให้มันมากมายนัก และ ต้องระวังการโฆษณาเครื่องเหล่านี้ที่เกินจริง เพราะมันใช้ rely ไม่ได้  และการมีเครื่องมือสำหรับใช้ในห้องตรวจนั้น เราหามาเพือมาช่วยงาน  ดังนั้น เราเป็นนายเครื่องมือ ไม่ใช่เครื่องมือเป็นนายเรา

 

What's key tools ?

ถ้าถามว่า เครื่องมืออะไรสำคัญที่สุดชนิดที่ขาดไม่ได้ก็คือ retinoscope  และ trial lens set ดี ๆ trial frame ดีๆ และ phoropter ดี ๆ  projector ดีๆ  แค่นี้ งานก็ออกมาดีแล้ว ที่เหลือก็เป็นได้เพียง accessories และแน่นอนว่าไม่มีเครื่องวัดสายตาระบบคอมพิวเตอร์ไม่ว่าเซลล์ขายเครื่องจะพรรณาเกินจริงไว้แค่ไหน

นักศึกษาทัศนมาตรศาสตร์ elective resident ที่มาฝึกงานที่ loft optometry นั้น หลังจาก observe เป็นระยะเวลาหนึ่ง ก่อนจะจบคลาส ผมจะให้โอกาสเขาทำเคสจริงๆ ด้วยเครื่องมือที่ basic ที่สุด ไม้ไม่มีไฟฟ้าก็สามารถหา refractive error ได้ในระดับที่ดีเยี่ยม ใช้เพียง manual phoropter , retinoscope ,trial frame ,trial lens set โดยไม่ต้องพึ่งพอคอมพิวเตอร์และนักศึกษาก็ทำออกมาได้ดีมาก

 

การมีเครื่องมือที่ดีสามรถช่วยให้หมอทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่ามีเครื่องแล้วไม่ต้องมีหมอก็ได้ 

 

แต่เห็นบางคนก็ชอบไปหาเครื่องคอมพิวเตอร์แพงๆเอามาส่งเสริมการขาย เช่นเครื่อง aberrometer ในแง่ที่ว่า วัดสายตาได้ละเอียด แม่นยำ ที่สุด ถึง 0.01D อันนั้นก็ “โม้เกินจริงมากไปหน่อย” ซึ่งเดิมทีผมก็คิดว่า ยุคนี้ ไม่น่าจะมีใครเชื่อ แต่พอพบคนไข้มาให้ช่วยแก้เลนส์ที่ทำไปเพราะเชื่อโฆษณาแล้ว รู้เลยว่า เหยื่อการตลาดนั้นมีมากกว่าที่คิด แต่ที่ผมซื้อเจ้าเครื่องตัวนี้มาใช้ ก็ด้วยเหตุผลหลักๆ คือเป็นเครื่องที่มีความเป็น combo ตรวจหาได้หลายอย่างในเครื่องเดียว ประหยัดพื้นที่ ประหยัดทรัพย์ และส่วนหนึ่งก็อยากจะรู้ว่า มันจะตรวจได้แม่นยำ 0.01D อย่างที่สื่อเขาโม้ๆกันหรือเปล่า

 

หลังจากการใช้งานอยู่ 2 ปีกว่าๆ ก็ได้ prove แล้วว่า เครื่อ 1.8 ล้านนี้ ถ้าในเรื่องการตรวจหา refractive eror นั้นเทียบกันไม่ได้เลยกับการทำงานของหมอทัศนมาตรเก่งๆ แม้จะใช้ manual ก็ตามแต่  แต่ถ้ากับคนที่ไม่มีความรู้แล้ว ก็ถือว่าพอใช้ได้ในระดับหนึ่ง แต่ไว้วางใจไม่ได้โดยเฉพาะกับคนที่อายุต่ำกว่า 40 ปี ยิ่งอายุต่ำมาก ความคลาดเคลื่อนก็ยิ่งมาก ซึ่งเกี่ยวข้องกับ amplitute of accommodation ที่ลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้การใช้กับผู้สูงอายุนั้น ให้ค่าที่ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่อายุน้อยกว่า (อายุมาก เลนส์ตานิ่ง ค่า varies น้อย , อายุน้อย เลนส์ตายืดหยุ่น ค่าจะ varies มาก) 

 

ดังนั้นหลังจากได้มาช่วยทำงานแล้ว ผมก็รู้ว่ามันไม่สามารถทำงานแทนหมอได้ จึงไม่เคยโฆษณาชวนเชื่อเพื่อส่งเสริมการขายอย่างที่นักการตลาดบางคนชอบทำเพราะมันทำไม่ได้ขนาดนั้น แต่ส่งหนึ่งที่มันทำได้คือสามารถนำไปใช้เก็บข้อมูลต่างๆทางกายภาพดวงตา นำมาวิเคราะห์ปัญหา และ ใช้เทคโนโลยีเลนส์ที่สำคัญบางอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ axial lenght ในการสั่งทำเลนส์เฉพาะดวงตาแต่ละคน ก็เท่านั้น ดาบที่แหลมคมนั้น ถ้าทักษะในการใช้ดาบไม่ดีพอ อาจทำให้ผู้ถือดาบนั้นถึงแก่ชีวิตได้ การโฆษณาคุณงามความดีที่เกินจริงย่อมย้อนกลับไปทำให้ผู้พูดนั้นเสียชื่อได้เช่นกัน ตัวอย่างก็มีให้เห็นมากมายในวงการแว่นตา 

 

ผมเขียนตรงๆแบบนี้เพื่อ ให้กำลังใจน้องๆทัศนมาตรที่จบใหม่ๆ ที่ทุนมีจำกัดว่า ให้น้องๆที่จะทำคลินิทัศนมาตรของตัวเองนั้น ให้ลำดับความสำคัญว่า อะไรที่จำเป็นต้องซื้อ อะไรที่ยังไม่ต้องซื้อก็ได้ แต่ถ้าเหลือ ก็เงินของเราจะซื้ออะไรก็ซื้อ คนที่มีก็อย่าไปโม้ให้มันเกินจริง  คนที่ยังไม่มีก็อย่าไปอิจฉาคนที่มี เพราะมันไม่ได้ดีขนาดนั้น  ฝีมือของเราต่างหากของจริง จงหมั่นอ่านตำรา ฝึกฝน ให้เชี่ยวชาญ สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยเหลือคนไข้ของเราได้มากกว่าเยอะ 

 

BARBER

ตัวอย่างหนึ่งคล้ายๆกัน แต่คนทั่วไปรู้สึก make sense ก็คือ “ช่างตัดผม”  ถ้าเราถามช่างตัดผมว่า ช่างคนนี้ใช้อะไรตัดผม ช่างตัดผมก็คงจะตอบเหมือนกันว่า ใช้ ปัตตาเลี่ยน หวี กรรไกร ปัตตาเลี่ยนและมีดโกน แต่ทุกคนรู้อยู่แก่ใจว่า สาระแก่นสารของการตัดผมนั้นไม่ใช่เรื่องของ อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ตัด แต่มันอยู่ที่ฝีมือของช่างตัดผมนั้นๆ ดังนั้นเมื่อเราเจอช่างที่ถูกใจ เราจึงมักไม่เปลี่ยนช่าง ผมเคยถามคุณปู่ท่านหนึ่ง แกแวะมาดัดแว่นก่อนที่จะไปตัดผม เพราะนัดช่างเอาไว้  ผมถามว่าร้านประจำหรือ ปู่ตอบว่าใช่  ตัดกับช่างมากี่ปีแล้ว ปู่บอกว่า ตั้งแต่สมัยเรียน  คือมากกว่า 50 ปี ที่ปู่ตัดผมกับช่างคนนี้ เรียกว่า แกไปด้วยกันกันเลยทีเดียว ซึ่งทุกคนต่างรู้สึกเหตุผลของเรื่องนี้ได้ คือความรู้ใจ เข้าใจในปัญหา ของกันและกัน 

credit image : https://tecnobitt.com

ทุกวันนี้ วงการแว่นตา ส่วนใหญ่ยังเชื่อว่า คอมพิวเตอร์วัดสายตานั้นมันดีและใช้ได้ ราวกับยอมรับว่าคอมพิวเตอร์วัดสายตาเก่งกว่าตัวเอง ก็เลยนับถือคอมพิวเตอร์เป็นสรณะหรืออาศัยเป็นเครื่องอยู่ พอเคสที่คอมพิวเตอร์เอาไม่อยู่ ก็จะเริ่มงง และ ถอยหลังลงคลอง หาจับเคสใหม่ไปเรื่อยๆ ถ้ามันดีขนาดนั้น คงไม่จำเป็นต้องมีวิชาชีพทัศนมาตรศาสตร์เกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้ 

 

Sufficiency Economy

เศรษฐกิจพอเพียง 

บางทีจะดีกว่าถ้าไม่ต้องออกหาปลาตามแม่น้ำลำคลอง แต่ขุดสระ สร้างระบบนิเวศน์ให้ดี ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพันธุ์ปลาและสัตว์น้ำ เราก็ไม่ต้องให้อาหารมาก cost ก็ต่ำ นึกอยากกินปลาอะไร ก็ไปจับมาเป็นตัวๆ  ส่วนตัวเล็กๆก็ให้เขาได้เจริญเติบโต ออกลูกออกหลาน ให้เรากินวันหน้า

ผมมีโอกาสได้ไปบ้านรุ่นน้องทัศนมาตรคนหนึ่ง ที่หัวสำโรง จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งพาเพื่อนๆ น้องๆ ไปกางเตนท์ริมบ่อ  ซึ่งได้เข้าใจเลยว่า ความอิสระของชีวิตที่ไม่ต้องขึ้นอยู่กับอะไร นั้นเป็นอย่างไร ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ในสวนมีผักสวนครัว ที่เหลือล้นและทุกอย่างสร้างมันขึ้นมาเอง พอชีวิตมันไม่ต้องไปขึ้นอยู่กับ...อะไรที่มันมากมาย หรือ ไม่ต้องไปยืมจมูกใครเขาหายใจ ชีวิตก็ง่าย เบา สบาย ซึ่งชีวิตจริงๆ มันควรจะเป็นแบบนี้หรือเปล่า อย่าบ้าหรือให้ค่ากับวัตถุนักเลย เผื่อชีวิตจะได้มีเวลาได้พักบ้าง 

 

แต่การตลาดที่ไม่สร้างสรรค์ มักเลือกที่จะทำลายระบบนิเวศน์ทุกอย่างขอให้ได้ปลา  ใช้สารพิษ ใช้ระเบิด ใช้ไฟฟ้าช๊อต  ตัวเล็กตายช่างมัน ไข่ปลาจะบรรลัยก็ช่างมัน ขอให้ฉันได้ปลามากินเป็นพอ เรื่องอื่นเอาไว้เรื่องวันหน้า และมักใช้วิธีนี้กับห้อยหนองคลองบึงสาธารณะ 

 

เราจึงเห็นว่ากลุ่มนักการตลาดที่เล่นวิธีนี้ จะต้องใช้ cost มากในการดำรงอยู่ เพราะไม่มีปลาที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองเลย ต้องออกไปหาปลาใหม่อยู่ตลอดเวลา แต่ยิ่งปลาหายากก็จะยิ่งใช้วิธีที่รุนแรงยิ่งขึ้น ไปๆมาๆ ระบบนิเวศก็เลยพัง

 

ผมจึงเลือกที่จะสร้างระบบนิเวศน์ใหม่ของตัวเอง กินน้อย ๆ อยู่น้อยๆ พอเพียง ไม่เกินตัว  เมื่อตัวเล็กก็อิ่มง่าย พออิ่มง่าย ก็สามารถรอให้ปลาทั้งหลายได้เติบใหญ่มาเติมเต็มระบบนิเวศน์ได้ เกิดสัตวน์น้ำน้อยใหญ่หลากหลายสายพันธุ์ ที่นำมาซึ่งความยั่งยืนในการใช้ชีวิต

 

ดังนั้น ผมจึงอยากจะเสนอให้เห็นมุมมองใหม่ในการดำเนินชีวิตว่าเราไม่ต้องใหญ่มากก็ได้ ไม่ต้องเป็นที่หนึ่ง ไม่ต้องเป็นเบอร์หนึ่ง ช้าๆ บ้างก็ได้ ไม่ต้องยึดหน้าหาดกวาดให้เหี้ยน แล้ววัดความสำเร็จด้วยดัชนีความสุขแทนความร่ำรวยบ้างก็ได้ ชีวิตก็ง่ายขึ้น ความสุขก็ง่ายขึ้น เท่านี้โลกก็น่าอยู่

 

THE LAST 

ผมไม่รู้ว่าจะสามารถปลุกกระแสทัศนมาตรทั้งหลาย ให้เรียกแทนถึงวิชาชีพตัวเองว่า “ทัศนมาตร” แทนคำว่า “นักทัศนมาตร หรือ หมอสายตา” ถ้าจะอยากจะเป็นหมอ ให้ใช้คำว่า “หมอทัศนมาตร” จะดีกว่า จุดเปลี่ยนเพียงแค่ชื่อเล็กๆนี้ จะทำให้เราเข้าใจตัวเราเองมากขึ้นว่าเราเป็นใคร เป็นช่างเทคนิค ที่ไม่ต้องมีความรับผิดชอบมาก เพียงแค่เก็บข้อมูลให้ถูกต้องตามเทคนิคก็พอ เพราะมีคนที่ตำแหน่งสูงกว่า เชี่ยวชาญกว่าเป็นผู้ดู ประเมิน วิเคราะห์ วินิจฉัย แทนอยู่แล้ว รักษาหายไม่หายก็ไม่ใช่เรื่องที่ช่างเทคนิคต้องนำมาคิด หรือ เป็นคนทำงานวิชาชีพสูงสุด ที่ต้องรับผิดชอบทุกอย่างของการกระทำ ไม่ว่าจะตรวจ วิเคราะห์ วินิจฉัย และ รักษา  ผลการรักษาทั้งหมดเป็นสิ่งที่คนทำงานในวิชาชีพสูงสุดต้องรับผิดชอบ 

 

เพจและเว็บไซต์นี้เป็นเว็บไซต์ส่วนตัว ผมเขียนด้วยความคิดเห็นส่วนตัว ไม่ได้เกี่ยวกับสมาคมใด โรงเรียนใด หรือมหาวิทยาลัยใด จึงไม่สามารถนำความคิดเห็นเหล่านี้ไปใช้อ้างอิงอะไรได้ และ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่มาตรฐานวิชาชีพที่ดียิ่งขึ้นไป ไม่ได้หวังผลประโยชน์ส่วนตัวใดๆ ถ้าใจไม่มืดบอดด้วยอคติก็จะเข้าใจเจตนารมย์ในงานเขียนครั้งนี้

 

อนึ่งก็มีบางคนที่ยัดเยียดว่า loft optometry พยายามจะสร้างลัทธิ โดย ดร.ลอฟท์ จะยกตนเองเจ้าลัทธิและหาคนมาเป็นสาวก คือเอาจริงๆ ก็ไม่ได้ว่างขนาดนั้น งานการมีทำ และ ผมก็ไม่ได้อะไรจากการทำเรื่องพรรณนั้น ใครทำดีก็ได้ดี ใครทำไม่ดีก็รับกรรมกันไป ก็เท่านั้นเอง  แต่ถ้าจะยัดเยียดให้ผมจะพอใจมากกว่าถ้าจะบอกว่าอยากเป็น  "นิกาย" ใหม่มากกว่า  เหมือน "ธรรมยุตินิกาย" กับ "มหานิกาย" ต่างก็เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาสายหีนยาน(เถราวาส) เพียงแต่มีวัตรปฎิบัติที่ต่างกันบ้าง  

 

ฝั่งหนึ่งเน้นปฏิบัติ เจริญสติ เจริญสมาธิ เจริญปัญญา เพื่อลดทุกข์ไปจนถึงการดับทุกข์ ลดความรุงรังในชีวิต จึงสร้างน้อยๆ มีน้อยๆ ไม่ต้องเรียนมาก จะได้ไม่ยึดมั่นถือมั่นมาก เอาหลักพระธรรมวินัยให้พอรู้เพื่อให้ปฎิบัติไม่ผิด แล้วมุ่งสู่ป่าหาความวิเวก  

 

อีกฝั่งหนึ่งเน้นการศึกษาปริยัติธรรมเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาและสร้างศาสนวัตถุไว้เป็นเครื่องจรรโลงจิตใจ ยึดเหนี่ยวจิตใจ  ให้ประชาชนเข้าถึงพุทธศาสนาโดยง่าย เพราะจะให้เข้าป่าเข้าถ้ำตามพระก็คงไม่ไหว  ซึ่งก็ถูกต้องทั้งสองแบบ เพราะเหมาะกับจริตของพุทธศาสนิกชน เพราะบางคนยังอยู่กับเรื่องการ ดูหมอ ต่อชะตา กราบไหว้ผีสางกันอยู่เลย เครื่องรางของขลังกันอยู่  แต่อย่างน้อยก็เป็นไปเพื่อลดอกุศล เพิ่มพูนปัญญา มากบ้างน้อยบ้างตาม กำลังปัญญา ลดภพลดชาติได้บ้างเร็วช้าแตกต่างกันไปตามบุญกรรมที่สั่งสมมา 

 

ฝากเอาไว้เท่านี้

สวัสดีครับ

DR.LOFT O.D / DR.JACK ,O.D. / DR.DEAR ,O.D.

we're all stand for the best.