ปีท่ี 14 ฉบับที่ 34 พฤษภาคม – มิถุนายน 2563 - TCI กลุ่มที่ 2 มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปี 2563-2567


 

บทความงานวิจัย

การควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร  

Optometry Profession Practice Control

 

 

1.พิสุทธิ์ สมโภชพิสุทธิ์ (Pisut Sompochpisut)

2.เกียรติพร อำไพ (Kiarttiporn Umpai)

คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

School of Law, National Institute of Development Administration

Email: sunsdk55@hotmail.com

Received February 22, 2020; Revised April 6, 2020; Accepted June 20, 2020

 

Abstract

At present, Thailand has a wide range of practice of optometry. However, in Thailand, there is no law to control the practice of optometry, whether it is a process to enter the profession to determine the qualifications, basic knowledge of those who will practice, and consider allowing the practice of optometry in accordance with the professional ethics standards, measures to enforce the practice of optometry by the specified conditions. Including penalties for those who practice of optometry without permission. Resulting in people who do not have the knowledge and ability in optometry to practice optometry as a result, the current profession of vision is not ethical standards which may cause damage to clients. Therefore, this research has been conducted to study the necessity of establishing legal measures to control the practice of optometry with the study of facts ( Non- Doctrinal Legal Research) to know the problem, the fact that the profession of professional vision is a professional and considered a profession that requires professional supervision or not. After being aware of the facts, then studying the Doctrinal Legal Research by conducting a comparative study with foreign laws relating to the practice of optometry lead to proposals to regulate the profession of perspective measurement by law by stipulating conditions for professional practice Measures to enforce compliance with the law, including criminal penalties for violations.

Keywords: Optometry, Professional practice, Professional law

 

บทคัดย่อ

          ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรอยู่อย่างแพร่หลาย แต่การประกอบวิชาชีพทัศนมาตรในประเทศไทย ยังไม่มีบทกฎหมายใดๆเข้ามาควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการเข้าสู่วิชาชีพในการกำหนดคุณสมบัติความรู้พื้นฐานของผู้ที่จะทำการประกอบวิชาชีพและการพิจารณาอนุญาตให้ทำการประกอบวิชาชีพ การควบคุมการประกอบวิชาชีพให้เป็นไปตามมาตรฐานจรรยาบรรณแห่งการประกอบวิชาชีพ มาตรการบังคับให้การประกอบวิชาชีพเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด รวมทั้งบทกำหนดโทษแก่ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทัศนมาตรโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่งผลให้ผู้ที่ไม่มีความรู้ความสามารถในวิชาทัศนมาตรศาสตร์สามารถประกอบวิชาชีพทัศนมาตรได้ ทำให้การประกอบวิชาชีพทัศนมาตรในปัจจุบันไม่มีมาตรฐานจรรยาบรรณซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้รับบริการ

 

งานวิจัยฉบับน้ี จึงจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความจำเป็นในการกำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศมาตรโดยการศึกษาสภาพปัญหาข้อเท็จจริง (Non- Doctrinal Legal Research) เพื่อทราบสภาพปัญหาข้อเท็จจริงว่าการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรถือเป็นวิชาชีพเฉพาะทางและถือว่าเป็นวิชาชีพที่ต้องควบคุมการประกอบวิชาชีพหรือไม่ เมื่อได้รับรู้ถึงสภาพปัญหาข้อเท็จจริงแล้วจึงทำการศึกษาแบบการสืบค้นตาราเอกสารทางกฎหมาย (Doctrinal Legal Research) โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร นำไปสู่ข้อเสนอในการควบคุมการประกอบวิชาชีพ ทัศนมาตรโดยกฎหมาย โดยกำหนดเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพ มาตรการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายรวมทั้งบท กำหนดโทษทางอาญาสาหรับการฝ่าฝืน

 

คำสำคัญ: ทัศนมาตร, การประกอบวิชาชีพ , กฎหมายวิชาชีพ

 

บทนำ

เนื่องจากดวงตาของมนุษย์นั้น เป็นหน่ึงในอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย แต่อย่างไรก็ตามดวงตาก็เป็นอวัยวะของมนุษย์ที่มีความบกพร่องได้ง่ายที่สุดในแง่มุมของประสิทธิภาพการมองเห็น ไม่ว่าจะเป็นภาวะสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง หรือที่เรียกว่าปัญหาสายตา ทำให้ในปัจจุบันมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับการให้บริการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการมองเห็นหรือปัญหาสายตาจำนวนมาก ซึ่งอยู่ในรูปแบบการให้บริการตรวจวัดสายตา ประกอบแว่นตา จำหน่ายเลนส์สำผัส (คอนแทคเลนส์)โดยมีลักษณะของการประกอบกิจการในลักษณะที่เป็นศูนย์ให้บริการเฉพาะทาง ร้านค้าไม่ว่าจะเป็นร้านค้าทั่วไป ร้านค้าในห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้าในโรงพยาบาล ทั้งร้านค้าที่มีลักษณะเป็นการถาวรหรือร้านค้าที่มีลักษณะเป็นการชั่วคราว หน่วยรถเคลื่อนที่ แผงลอยในตลาดนัด รวมทั้งร้านที่ประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีราคาตั้งแต่หลักร้อยบาทจนถึงหลักล้านบาท ทั้งน้ีการให้บริการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการมองเห็นหรือปัญหาสายตาถือว่าเป็นการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร เนื่องจากตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2546) (Announcement of the Ministry of Public Health No. 2 (B.E. 2546)) เรื่อง การอนุญาตให้บุคคลทำการประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ (Optometry) ซึ่งได้ให้ความหมายของคำว่า ทัศนมาตร ไว้ว่า

 

"ทัศนมาตร หมายถึงการประกอบโรคศิลปะเกี่ยวกับสายตาของมนุษย์ ได้แก่ การวัด การวินิจฉัยความผิดปกติของการมองเห็นโดยใช้เครื่องมือที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประกาศกำหนดและแก้ไขฟื้นฟูความผิดปกติของการมองเห็นโดยกรรมวิธีการใช้แว่นตาเลนส์สัมผัสและการฝึก การบริหารกล้ามเน้ือตา โดยไม่รวมถึงการแก้ไขความผิดปกติเนื่องจากระบบประสาทตาหรือโรคทางตาที่ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของ การหักเหของแสง และไม่รวมถึงการแก้ไขความผิดปกติโดยการใช้ยาหรือการผ่าตัด และไม่รวมถึงการใช้เลเซอร์ชนิด ต่าง ๆ ด้วย"

 

ดังนั้น การให้บริการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการมองเห็นหรือปัญหาสายตา ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดหรือประกอบกิจการในลักษณะใดถือว่าเป็นการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร

 

สำหรับการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรในปัจจุบันนั้นยังไม่มีการควบคุมการประกอบวิชาชีพโดยกฎหมาย หรือหลักเกณฑ์ใด ๆ ทำให้กระบวนการการเข้าสู่วิชาชีพทัศนมาตร ผู้ที่จะทำการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรไม่จำเป็นต้องขออนุญาตในการประกอบวิชาชีพ นอกจากน้ีการไม่มีกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ใด ๆ มาควบคุมการประกอบวิชาชีพ ทำให้ไม่มีองค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุมผู้ที่ประกอบวิชาชีพทัศนมาตร รวมทั้งทำให้ไม่มีมาตรการที่กำหนดให้ผู้ที่ทำการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร ต้องทำการประกอบวิชาชีพ ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ทำให้สภาพการณ์ในปัจจุบัน ผู้ประกอบวิชาชีพทัศนมาตรสามารถประกอบวิชาชีพได้อย่างอิสระ โดยไม่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติ หรือผ่านการศึกษา หรือจบหลักสูตรที่เกี่ยวข้องในวิชาทัศนมาตรศาสตร์การแก้ความผิดปกติเกี่ยวกับการมองเห็นหรือการ ตรวจวัดสายตาประกอบแว่นแต่อย่างใด เพียงแต่สามารถใช้เครื่องมือในการแก้ไขความผิดปกติเกี่ยวกับการมองเห็นที่อาจจะได้รับการอบรมเป็นหลักสูตรระยะสั้น หรืออบรมการใช้เครื่องมือเบื้องต้นจากผู้จำหน่ายเครื่องมือ หรือในลักษณะของการเรียนรู้ด้วยตัวเองก็สามารถประกอบวิชาชีพทัศนมาตร ทั้งที่ประเทศไทยนั้นมีความพร้อมในทางวิชาการทัศนมาตรศาสตร์

 

โดยเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2544 สภามหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้มีมติ อนุมัติการจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพ และอนุมัติการเรียนการสอนหลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต และสภามหาวิทยาลัยรามคาแหง มีมติอนุมัติ ให้แยกหลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต ออกจากสถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพ และให้จัดตั้งเป็น “คณะทัศนมาตรศาสตร์” ในการประชุมครั้งที่ 14/2555 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 (Faculty of Optometry, Ramkhamhaeng University, n.d (a)) เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถทางวิชาการระดับมาตรฐานสากล สามารถประกอบวิชาชีพทางทัศนมาตรศาสตร์ (Optometry) ทัศนศาสตร์-เลนส์สายตาและทัศนศาสตร์ เชิงอุตสาหกรรม (Ophthalmic and Optical Industries) และทัศนวิทยาศาสตร์ (Vision Science) สามารถดูแล แก้ไขและฟื้นฟู รวมถึงการป้องกันสุขภาพทางสายตาแก่ประชาชนท่ัวไป โดยผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์นั้นสามารถ ตรวจ วินิจฉัยและแก้ปัญหาสายตา ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และ ชุมชน ให้คำแนะนำและการปรึกษาปัญหาสายตาตามหลักทัศนมาตรศาสตร์ โดยการแก้ปัญหาสายตาระดับบุคคลได้นั้นสามารถให้การวินิจฉัยปัญหาสายตาได้ ให้การแก้ไขความผิดปกติของสายตาด้วยวิธีต่าง ๆ และติดตามผลการดำเนินการตามมาตรฐานด้านทัศนมาตรศาสตร์ (Faculty of Optometry, Ramkhamhaeng University, n.d (b))

 

ทั้งน้ี ยังมีมหาวิทยาลัยที่ทำการเปิดการสอนหลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต ได้แก่ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร หลักสูตรทัศนมาตรศาสตร์บัณฑิตถือเป็นวิวัฒนาการของการยกระดับการให้บริการตรวจวัด สายตาประกอบแว่นตาให้เป็นการประกอบวิชาชีพเฉพาะ ที่จะต้องอาศัยความรู้ความสามารถเฉพาะทางของผู้ให้บริการเพื่อให้ผู้รับบริการได้รับบริการที่มีคุณภาพถูกต้องตามหลักวิชาการ นอกจากนั้น องค์การอนามัยโลกยังได้ กำหนดมาตรฐานสาธารณสุขไว้ว่าต้องมีนักทัศนมาตรศาสตร์ 1 คนต่อประชากร 6,000 – 10,000 คน (Kankanid Mitrpakdee, 2017) ทำให้เกิดประเด็นปัญหาที่จะต้องพิจารณาอย่างย่ิงว่าการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรนั้นจักต้อง ควบคุมโดยกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ใด ๆ หรือไม่ แค่ไหนอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดกระบวนการการเข้าสู่วิชาชีพ การกำหนดคุณสมบัติและมาตรฐานทางวิชาการของผู้ที่ทำการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร องค์กรวิชาชีพที่ทำหน้าที่ รับผิดชอบในการควบคุมการประกอบวิชาชีพ การกำหนดเงื่อนไขการประกอบวิชาชีพ มาตรการและกลไกการบังคับ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขของการประกอบวิชาชีพ รวมทั้งบทกำหนดโทษสำหรับการประกอบวิชาชีพที่ฝ่าฝืนการควบคุมการประกอบวิชาชีพในประเทศไทย

 

การประกอบวิชาชีพทัศมาตร ในปัจจุบันจำนวนร้านแว่นตาในจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ มีประมาณ 5,000 ร้านค้าแต่ในความจริงน่าจะมีประมาณ 7,000 ร้าน ขณะที่บุคคลได้รับอนุญาตให้ทำการประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ (Optometry) มีจานวน 172 คน (Rajavithi Hospital, 2017)

 

วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา แนวความคิด ทฤษฎี เหตุผลและความจำเป็นในการควบคุมการประกอบ วิชาชีพทัศนมาตร

2. เพื่อศึกษาถึงบทกฎหมาย มาตรการและวิธีการควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรทั้งกฎหมายภายใน และเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ

3.เพื่อศึกษาถึงปัญหาการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรตามพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542และกฎหมายอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง

4. เพื่อเสนอแนะแนวทางการตราหรือปรับปรุงแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวกับการ ให้บริการทางด้านสาธารณสุขให้มีผลคลอบคลุมถึงการประกอบวิชาชพีทัศนมาตรเพื่อใช้ในการควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรรวมทั้งการให้บริการต่างๆเกี่ยวกับสายตามนุษย์

 

ขอบเขตการวิจัย

การวิจัยน้ี มีขอบเขตของการศึกษาถึงเหตุผลและความจำเป็นในการควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยศึกษาสภาพปัญหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร และตำราเอกสารทางกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 โดยศึกษาหลักการเกี่ยวกับเสรีภาพการประกอบอาชีพ และการจำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพ หลักกฎหมายว่าด้วยการ ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพ กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข กฎระเบียบและมาตรการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร แต่ขอบเขตการศึกษาวิจัยน้ี ไม่รวมถึงการศึกษาวิจัยการควบคุม การประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตาม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 เนื่องจากผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภา สามารถประกอบวิชาชีพเวชกรรมซึ่งหากพิจารณาความหมายของวิชาชีพเวชกรรมนั้น ย่อมคลอบคลุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร และขอบเขตการศึกษาวิจัยน้ีไม่รวมถึงการศึกษาวิจัยการคุ้มครองผู้บริโภค ตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคพ.ศ.2552 เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคมุ่งเน้นไปในทางควบคุมการเข้าทำสัญญา แต่กฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะเป็นกฎหมายที่ควบคุมการประกอบวิชาชีพ

 

ทบทวนวรรณกรรม

การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร เป็นการประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับสายตาของมนุษย์ ได้แก่ การวัด การวินิจฉัย ความผิดปกติของการมองเห็น และแก้ไขฟื้นฟูความผิดปกติของการมองเห็น โดยกรรมวิธีการใช้แว่นตา เลนส์สัมผัส และการฝึกการบริหารกล้ามเน้ือตา จึงมีลักษณะเป็นการประกอบวิชาชีพ (Profession) ทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุขที่จะต้องอาศัยความรู้ความสามารถเฉพาะทางโดยการประกอบอาชีพนั้นจะต้องอยู่ภายใต้จรรยาบรรณแห่งอาชีพ และยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนในการได้รับบริการจากการประกอบอาชีพ

 

ดังนั้น การควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร จึงอยู่ภายใต้แนวความคิดของกฎหมายการแพทย์และการสาธารณสุข ซึ่งมีแนวความคิด คือการจัดตั้งองค์กรวิชาชีพ (Professional Organization) เพื่อทำหน้าควบคุมผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการประกอบวิชาชีพให้ประพฤติปฏิบัติตนตามครรลองคลองธรรมโดยเคร่งครัดเพื่อให้ประชาชนเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในการประกอบวิชาชีพ โดยการใช้กฎหมายเข้ามาควบคุมจรรยาบรรณและองค์กรวิชาชีพ ยังมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้บุคคลที่ไม่มีความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพ มาทำการประกอบวิชาชีพแข่งขันกับผู้ที่มีวิชาชีพโดยการใช้กฎหมายเข้ามาควบคุม

 

นอกจากนั้นแนวความคิดของกฎหมายการแพทย์และการสาธารณสุข คือ การคุ้มครอง สวัสดิภาพความปลอดภัยของประชาชนทั่วไป โดยเป็นการที่รัฐใช้กฎหมายเข้ามากำหนดมาตรฐานของผู้ที่ทำการประกอบวิชาชีพและมาตรฐานการให้บริการทางการแพทย์โดยการกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ในการประกอบวิชาชีพซึ่งกฎหมายลักษณะดังกล่าวนนั้นเรียกว่า“กฎหมายวิชาชีพ”

 

จากแนวความคิดที่ว่า การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร จะต้องถูกควบคุมโดยกฎหมายวิชาชีพและจะต้องมีองค์กรวิชาชีพ เพื่อทำหน้าที่ในการกำกับการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้น แนวความคิดดังกล่าวสอดคล้องกับทฤษฎีที่เกี่ยวกับกฎหมายต่างๆดังต่อไปนี้

 

หลักการคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วยในการได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพจากรัฐ

สิทธิของบุคคลในการที่จะได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพโดยเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องจัดให้ ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นรัฐยังมีหน้าที่ที่จะต้องพัฒนาการบริการสาธารณสุข ให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานสูงข้ึน ซึ่งจะเห็นได้จากบทบัญญัติในมาตรา 55 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่บัญญัติไว้ว่า “รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง เสริมสร้างให้ ประชาชนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค และส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการพัฒนา ภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด บริการสาธารณสุข ตามวรรคหน่ึง ต้องครอบคลุมการส่งเสริม สุขภาพ การควบคุม และป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพด้วย รัฐต้องพัฒนาการบริการ สาธารณสุขให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

 

หลักการจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ

เนื่องจากการควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรนั้นเป็นการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะประกอบวิชาชีพ ถ้าบุคคลใดไม่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดโดยกฎหมายจะไม่สามารถประกอบวิชาชีพได้ โดยแนวความคิดดังกล่าวสอดคล้องกับทฤษฎีที่เกี่ยวกับกฎหมายในเรื่องเสรีภาพในการประกอบอาชีพ โดยบุคคลทุกคนมีเสรีภาพในการเลือกที่จะประกอบอาชีพ การจำกัดการประกอบอาชีพของบุคคลต้องกระทำโดยกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 40 ว่า

 

“...บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหน่ึงจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดย อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อรักษาความมั่นคงหรือเศรษฐกิจของประเทศ การแข่งขันอย่างเป็นธรรม การป้องกันหรือขจัดการกีดกันหรือการผูกขาด การคุ้มครองผู้บริโภค การจัดระเบียบ การประกอบอาชีพ เพียงเท่าที่จำเป็น หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น การตรากฎหมายเพื่อจัดระเบียบ การประกอบอาชีพ ตามวรรคสองต้องไม่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติหรือก้าวก่ายการจัดการศึกษาของสถาบันการศึกษา...”

 

จากทฤษฎีดังกล่าวก่อให้เกิดการควบคุมวิชาชีพที่ให้บริการทางด้านสาธารณสุขและการคุ้มครองประชาชนทางในการได้รับบริการสาธารณสุขดังต่อไปน้ี

1) การควบคุม หมายถึงกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ เกี่ยวกับการประกอบประกอบวิชาชีพทัศนมาตร ดังนี้

- การเข้าสู่วิชาชีพ (Control Over Entry) คือ การกำหนดคุณสมบัติของบุคคลที่จะทำการประกอบโรคศิลปะ สาขาทัศนมาตร กล่าวคือการใช้กฎหมายกำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติของบุคคลที่ขอรับการอนุญาตทำการประกอบโรคศิลปะ

 

- การควบคุมการแก่งแย่งแข่งขันในการประกอบวิชาชีพ (Control Over Competitive Practice) คือเป็นการควบคุมการประกอบวิชาชีพ โดยการกำหนดจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพ

 

- การควบคุมการตลาดของการประกอบวิชาชีพ (Market Structure) หมายถึงการที่กฎหมายผูกขาดอำนาจการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรเอาไว้เฉพาะผู้ที่มีคุณสมบัติสำหรับการประกอบวิชาชีพและได้รับการอนุญาตแล้วเท่านั้น บุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติและไม่ได้รับการอนุญาตไม่สามารถประกอบวิชาชีพได้ หากทำการใด ๆ อันมีลักษณะ เป็นการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร หรือทำให้บุคคลอื่นเข้าใจว่าประกอบวิชาชีพทัศนมาตร จะมีกฎหมายกำหนดโทษ ทางอาญาไว้

 

- การควบคุมค่าบริการ (Control Over Payment) เนื่องจากรัฐจะให้อำนาจผูกขาดในการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรแก่บุคคลที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะ และได้รับอนุญาตให้ทำการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร แต่เพื่อ ไม่ให้เกิดการกำหนดราคาค่าบริการตามอำเภอใจ รัฐจำต้องเข้ามาควบคุมในส่วนของราคาค่าบริการของผู้ประกอบวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และปราศจากการเอารัดเอาเปรียบ ทั้งผู้ประกอบวิชาชีพและผู้รับบริการ โดยกระทำในรูปแบบการกำหนดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ไม่ให้ผู้ประกอบวิชาชีพคิดค่าบริการที่สูงเกินไป นอกจากนั้น เรื่องการควบคุมค่าบริการอาจจะรวมถึงการจัดระบบบริการด้วย ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการสังคม กล่าวคือ การกำหนดให้การรับบริการจากการประกอบวิชาชีพเป็นสวัสดิการสังคม ตามกฎหมายที่เกี่ยวกับสวัสดิการสังคม อื่นๆ เช่น กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม

 

2) การคุ้มครองประชาชน คือ การที่กฎหมายกำหนดโทษอาญา สำหรับผู้ที่ทำการประกอบวิชาชีพโดยไม่ได้รับการอนุญาต เพราะการที่บุคคลไม่มีความรู้ ความสามารถ มาทำการประกอบอาชีพ อาจทำให้เกิดอันตรายแก่ สวัสดิภาพแก่ประชาชน อันเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนไม่ให้รับความเสียหาย และเพื่อพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพให้มีการประกอบวิชาชีพที่มีคุณภาพและเป็นธรรมต่อประชาชน ซึ่งการคุ้มครองประชาชนนั้นมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

- การกำหนดขอบเขตของการประกอบวิชาชีพ
- การกำหนดข้อห้ามการกระทำใด ๆ ในการประกอบวิชาชีพ
- การกำหนดห้ามบุคคลที่ไม่มีความรู้ ความสามารถในการประกอบวิชาชีพ หรือไม่ได้รับการอนุญาตให้ทำการประกอบวิชาชีพ แสดงตนหรือแอบอ้างว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ (VitoonEungprabhanth,2005)

 

วิธีดำเนินการวิจัย

การวิจัยน้ี เป็นการศึกษาสภาพปัญหาข้อเท็จจริง (Non-Doctrinal Legal Research) เพื่อทราบสภาพปัญหา ข้อเท็จจริงว่าการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร ถือเป็นวิชาชีพเฉพาะทาง และต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพหรือไม่ เมื่อได้รับรู้ถึงสภาพปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว จึงทำการศึกษาแบบการสืบค้นตารา เอกสารทางกฎหมาย (Doctrinal Legal Research) ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบถึงประวัติความเป็นมา แนวความคิด และทฤษฎีการควบคุมการ ประกอบวิชาชีพ และการคุ้มครองผู้รับบริการจากการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยการศึกษากฎหมายว่าด้วยการ ควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร และศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ โดยเฉพาะกฎหมายคุมการ ประกอบวิชาชีพทัศนมาตรกฎหมายการแพทย์และการสาธารณสุขเพื่อนำมาวิเคราะห์หาแนวทางหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร

 

ผลการวิจัย

จากการศึกษากฎหมายต่างประเทศ เกี่ยวกับการควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร ตามข้อบังคับ รัฐมินนิโซตา บทที่ 148 ว่าด้วยการประกอบอาชีพเกี่ยวกับการสาธารณสุข (Minnesota Statutes, Chapter 148 Public Health Occupation) หมวดนักทัศนมาตร (Optometrists) ของประเทศสหรัฐอเมริกา, พ.ร.บ.ว่าด้วยนักทัศนมาตรและ ผู้ทำการประกอบแว่นตา ค.ศ. 2007 (Optometrists and Opticians Act 2007) แห่งสหพันธรัฐสิงคโปร์, รัฐบัญญัติ หมายเลข 8050 (Republic Act No. 8050) แห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Official Gazette of Republic of the Philippines, 1995) และ พ.ร.บ. ออฟปิคอล ค.ศ. 1991 (OPTICAL ACT 1991) แห่งสหพันธรัฐมาเลเซีย (Ministry of Health Malaysia, 2008) และกฎหมายไทยเกี่ยวกับการควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร คือ พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจะพบว่าในประเทศที่ได้ทำการศึกษานั้นมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยการตราเป็นกฎหมายระดับรัฐบัญญัติ หรือ พ.ร.บ. กำหนดให้บุคคลที่ต้องการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร ต้องมีความรู้ ความสามารถตามที่กำหนด และต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจะต้องประกอบวิชาชีพภายใต้เงื่อนไขจรรยาบรรณ หรือจริยธรรมที่กำหนด

 

ส่วนกฎหมายไทยตามที่ได้ ศึกษาพ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะพ.ศ.2542 และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องยังไม่มีบทบัญญัติที่ห้ามบุคคลท่ีไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน หรือได้รับอนุญาตทำการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร ผู้ที่ต้องการประกอบวิชาชีพสามารถ ดำเนินการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร หรือการให้บริการทางทัศนมาตรได้ โดยไม่ต้องมีการขึ้นทะเบียน หรือขออนุญาต และไม่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติ หรือคุณวุฒิ หรือเงื่อนไขใด ๆ บุคคลใด ๆ สามารถประกอบวิชาชีพทัศนมาตร หรือการให้บริการทางทัศนมาตรอย่างเป็นอิสระและไม่มีความผิดใดแต่ผู้ที่มีคุณวุฒิทางทัศนมาตรศาสตร์สามารถขออนุญาตทำการประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ได้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2546) เรื่อง การอนุญาตให้บุคคลทำการประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ (Optometry) ที่ออกโดย อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 และมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542

 

สำหรับองค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร ตามกฎหมายต่างประเทศจะกำหนดให้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการรับขึ้นทะเบียน หรืออนุญาตให้ทำการประกอบวิชาชีพ รวมทั้งออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประมวลจริยธรรม หรือประมวลจรรยาบรรณ เพื่อควบคุมการประกอบวิชาชีพของนักทัศนมาตรที่ได้รับการขึ้นทะเบียน หรือได้รับการอนุญาต รวมทั้งดำเนินการทางวินัยในกรณีที่มีการฝ่าฝืน ซึ่งองค์กรตามข้อบังคับรัฐมินนิโซตา บทที่ 148 ว่าด้วยการประกอบอาชีพเกี่ยวกับการสาธารณสุข (Minnesota Statutes, Chapter 148 Public Health Occupation) หมวดนักทัศนมาตร (Optometrists) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ตามมาตรา 148.52 ได้กำหนดให้มี คณะกรรมการทัศนมาตร แห่งรัฐมินนิโซตา (Minnesota Board of Optometry, 2003) ทำหน้าที่ควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร ส่วนองค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรของสหพันธรัฐสิงคโปร์ คือคณะกรรมการนักทัศนมาตรและผู้ทำการประกอบแว่นสายตา (Optometrists and Opticians Board) ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยนักทัศนมาตรและผู้ทำการประกอบแว่นตา ค.ศ. 2007 (Optometrists and Opticians Act 2007) สำหรับองค์กรทำหน้าที่ควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร ของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ คือ คณะกรรมการทัศนมาตร ตามมาตรา 7 แห่งรัฐบัญญัติหมายเลข 8050 (Republic Act No. 8050) และองค์กรควบคุมการประกอบ วิชาชีพทัศนมาตร ของสหพันธรัฐมาเลเซีย คือ สภาออฟปิคอลแห่งมาเลเซีย (Malaysian Optical Council) ตาม พ.ร.บ. ออฟปิคอล ค.ศ. 1991 (Optical Act 1991) มาตรา 3

 

ส่วนกฎหมายไทยนั้นตามที่ได้ศึกษาจากพ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะพ.ศ.2542 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พบว่า ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2546) เรื่อง การอนุญาตให้บุคคลทำการประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ (Optometry) ข้อ 5 ได้กำหนดให้คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ แต่งตั้ง คณะกรรมการเพื่อปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2546) เรื่อง การอนุญาตให้บุคคลทำการประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ (Optometry) โดยได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาการอนุญาตให้บุคคลทำการประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาการอนุญาตให้บุคคล ทำการประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ยังไม่มีคณะกรรมการวิชาชีพหรือองค์กรใดที่ทำหน้าที่ออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประมวล จริยธรรม หรือประมวลจรรยาบรรณ รวมทั้งควบคุมการประกอบวิชาชีพและดำเนินการทางวินัยที่เกี่ยวข้องกับบุคคล ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการประกอบโรคศลิปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์

 

สำหรับมาตรการทางกฎหมายและกลไกในการควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรนั้น ามกฎหมายต่างประเทศ จะมีข้อห้ามไม่ให้บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือขึ้นทะเบียนทำการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร หรือวิชาชีพการประกอบแว่นสายตา รวมถึงกระทำการอื่น ๆ ในทำนองที่มีลักษณะเป็นการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร บุคคลที่จะประกอบวิชาชีพทัศนมาตร ต้องได้รับการอนุญาตหรือได้รับการขึ้นทะเบียนจากหน่วยงานที่กำหนด โดยจะต้องมีคุณวุฒิและคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ โดยการขออนุญาตประกอบวิชาชีพ โดยหน่วยงานที่มีอำนาจจะรับขึ้นทะเบียน หรืออนุญาตโดยมีเงื่อนไขตามที่กฎหมายของแต่ละประเทศกำหนดไว้ ทั้งน้ี ผู้ที่ได้รับการอนุญาตหรือได้รับ การขึ้นทะเบียนให้ประกอบวิชาชีพทัศนมาตร จะต้องถูกควบคุมวินัย จรรยาบรรณ หรือจริยธรรมโดยกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประมวลจริยธรรม หรือประมวลจรรยาบรรณ ตามที่กำหนดไว้หากมีการฝ่าฝืนจะมีการดำเนินการทางวินัยโดยการเพิกถอน ระงับหรือจำกัดการอนุญาตหรือการขึ้นทะเบียนให้ประกอบวิชาชีพทัศนมาตร หรือถูกประณาม หรือชำระค่าปรับตามที่กำหนดไว้

 

ส่วนมาตรการทางกฎหมายและกลไกในการควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรตามกฎหมายไทยนั้น แม้บุคคลที่มีคุณวุฒิ และคุณสมบัติตามที่กำหนด สามารถขออนุญาตการประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์จากกองการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขโดยจะต้องผ่านการสอบความรู้จากคณะกรรมการประกอบโรคศิลปะตามพ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ประกอบกับประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2546) เรื่อง การอนุญาตให้บุคคลทำการประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ (Optometry) และเมื่อได้รับการอนุญาตให้ทำการประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์แล้วจะต้องอยู่ภายในบังคับของพ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะพ.ศ.2542 มาตรา 37 ที่กำหนดให้ทำการประกอบโรคศิลปะ ภายใต้บังคับแห่งข้อจำกัดและเงื่อนไขตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และตามมาตรา 38 ที่ต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ และห้ามมิให้ทำการโฆษณา ใช้ จ้าง วาน หรือยินยอมให้ผู้อื่น โฆษณาการประกอบโรคศิลปะของตน แต่ทั้งน้ีตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติให้บุคคลที่ได้รับความเสียหายหากประพฤติผิดเงื่อนไขการ ประกอบโรคศิลปะ ตามมาตรา 37 หรือหากปฏิบัติ ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ตามมาตรา 38 สามารถกล่าวหาผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการประกอบโรคศิลปะต่อ คณะกรรมการวิชาชีพหากคณะกรรมการวิชาชีพเห็นว่ามีมูลให้ตั้งคณะอนุกรรมการวิชาชีพเพื่อทำการสอบสวนและหากพบว่ามีความผิดให้คณะกรรมการวิชาชีพลงโทษโดยการว่ากล่าวตักเตือน หรือภาคทัณฑ์หรือพักใช้ใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาต

 

แต่อย่างไรก็ตาม จากการศึกษา พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ยังไม่มีกฎหมายที่กำหนดให้มีคณะกรรมการวิชาชีพทัศนมาตร เนื่องจากไม่มีการกำหนดให้การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร เป็นสาขาของการประกอบโรคศิลปะที่จะต้องขออนุญาตทำการประกอบโรคศิลปะ ทำให้บุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ทำการประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์แม้จะถูกควบคุมการประกอบโรคศิลปะให้ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการประกอบโรคศิลปะ ตามมาตรา 37 หรือตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 แต่หากกระทำการละเมิดบทบัญญัติดังกล่าวก็ไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ได้

 

ตามกฎหมายต่างประเทศที่ได้ทำการศึกษาพบว่า บุคคลใด ๆ ที่ทำการฝ่าฝืนมาตรการทางกฎหมายและ กลไกในการควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร มีความผิดต้องรับโทษทางอาญา ทั้งโทษจำคุก หรือโทษปรับ โดยตามข้อบังคับรัฐมินนิโซตา บทที่ 148 ว่าด้วยการประกอบอาชีพเกี่ยวกับการสาธารณสุข ในหมวดนักทัศนมาตร มาตรา 148.61 สาหรับบุคคลที่ประกอบวิชาชีพทัศนมาตรโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพทัศนมาตร จากคณะกรรมการทัศนมาตรแห่งรัฐ การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดทางอาญาขั้นต้น ส่วนสาธารณรัฐสิงคโปร์ได้ กำหนดให้ผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนมีความผิด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 เหรียญสิงคโปร์ หรือจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยนักทัศนมาตรและผู้ที่ทำการประกอบแว่นตา ค.ศ. 2007 (Optometrists and Opticians Act 2007) มาตรา 27 สำหรับสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ได้กำหนดให้บุคคลที่ทำการฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี หรือปรับไม่น้อยกว่า 10,000 เปโซ แต่ไม่เกิน 40,000 เปโซ หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 32 แห่งรัฐบัญญัติหมายเลข 8050 (Republic Act No. 8050) และสหพันธรัฐมาเลเซีย ได้กำหนดโทษสาหรับผู้ที่กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ออฟปิคอล ค.ศ. 1991 (Optical Act 1991) ต้องรับโทษปรับไม่เกิน 1,000 ริงกิต สำหรับความผิดครั้งแรก แต่หากกระทำความผิดซ้าต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 ริงกิต หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากน้ีระหว่างที่กระทำการฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับรายวัน วันละ 50 ริงกิต ตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนตาม มาตรา 37

 

อภิปรายผล

จากการศึกษาพ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะพ.ศ.2542 และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นพระราชกฤษฎีกาที่กำหนดให้สาขาวิชาใด ๆ เป็นสาขาของการประกอบโรคศิลปะ รวมถึงประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2546) เรื่อง การอนุญาตให้บุคคลทำการประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ (Optometry) พบว่า ในปัจจุบันไม่มีการควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรแต่อย่างใด ผู้ที่จะประกอบวิชาชีพทัศนมาตรหรือให้บริการที่เป็นการวัด การวินิจฉัยความผิดปกติของการมองเห็นและแก้ไขฟื้นฟูความผิดปกติของการมองเห็นโดยกรรมวิธีการใช้ แว่นตา เลนส์สัมผัส และการฝึกการบริหารกล้ามเน้ือตา สามารถกระทำได้โดยไม่จำเป็นต้องทำการขออนุญาตและไม่ถูกควบคุมการประกอบวิชาชีพแต่อย่างใด ทั้งในด้านตัวบุคคลที่มาประกอบวิชาชีพ ความรู้ความสามารถด้านการให้บริการ ด้านการเยียวยาความเสียหายแก่บุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการประกอบวิชาชีพ ซึ่งการขาดบทบัญญัติของกฎหมายควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรเหมือนต่างประเทศ ทำให้ไม่มีการควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศมาตร บุคคลที่ไม่มีความรู้ความสามารถประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพทัศมาตรได้เช่น การประกอบกิจการตรวจวัดสายตาประกอบแว่นย่อมไม่ก่อให้เกิดความปลอดภัยในการให้บริการทางด้านการแพทย์ และสาธารณสุขแก่ประชาชน

 

และจากการไม่มีการควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยกฎหมายนั้นทำให้ไม่มีการจัดตั้งองค์กรที่เหมาะสมตามกฎหมาย ในการทำหน้าที่ควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหา 2 ประการ คือ ประการแรก ทำให้ไม่มีองค์กรที่รับผิดชอบในการดำเนินการทางกฎหมายแก่บุคคลที่ประกอบวิชาชีพ โดยไม่ได้รับอนุญาต และ ประการที่สอง ทำให้ไม่มีองค์กรที่ทำหน้าที่รับคำกล่าวหา หรือคำกล่าวโทษจากบุคคลที่ได้รับความเสียหายหรือพบเห็นการกระทำที่ฝ่าฝืน มาตรา 36, มาตรา 37 และมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 และไม่สามารถลงโทษผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ที่กระทำ การฝ่าฝืน มาตรา 36, มาตรา 37 และมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ได้

 

นอกจากนั้นการไม่มีการควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรโดยกฎหมาย ทำให้ไม่มีบทลงโทษโดย กฎหมายในการควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร ส่งผลให้ไม่สามารถลงโทษทางอาญาผู้ที่ทำการประกอบวิชาชีพโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ นอกจากนั้นยังไม่สามารถลงโทษผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร แต่ทำการประกอบวิชาชีพโดยผิดเงื่อนไขที่ได้รับอนุญาต หรือทำผิดจรรยาบรรณ ทั้งโทษทางอาญา และโทษทางปกครอง เช่น โทษในการเพิกถอน หรือระงับการอนุญาตให้ทำการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร นอกจากนั้น การขาดบทลงโทษในการควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร ในส่วนของบทลงโทษทางแพ่งนั้นย่อมส่งผลให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายไม่มีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาความเสียหายจากการประกอบวิชาชพีทัศนมาตรหรือได้รับความเสียหายจากการประกอบวิชาชพีทัศนมาตรที่ไม่ได้รับอนุญาต

 

การที่ พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ไม่ได้กำหนดให้สาขาทัศนมาตรเป็นสาขาหน่ึงของการประกอบโรคศิลปะ ทำให้ผู้ที่จะทำการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรไม่ต้องดำเนินการขออนุญาต และไม่อยู่ในบังคับของ มาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ที่บัญญัติห้ามมิให้บุคคลทำการประกอบโรคศิลปะหรือ กระทำการใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเองเป็นผู้มีสิทธิทำการประกอบโรคศิลปะ เว้นแต่ได้ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตให้ทำการประกอบโรคศิลปะเพื่อดำเนินการ

 

แต่ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2546) เรื่อง การอนุญาตให้บุคคลทำการประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ (Optometry) กลับให้บุคคลท่ีมีความรู้ความสามารถมาดำเนินการขออนุญาตให้ทำการประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ได้ โดยบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้บุคคลทำการประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ตามประกาศกระทรวง สาธารณสุข ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2546) เรื่อง การอนุญาตให้บุคคลทำการประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ (Optometry) นั้นจะต้องทำการประกอบโรคศิลปะตามมาตรา 37 และต้องรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ตามข้อ 4 แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2546) เรื่องการอนุญาตให้บุคคลทำการประกอบโรคศลิปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ (Optometry) กล่าวคือต้องประกอบโรคศิลปะภายใต้บังคับ แห่งข้อจำกัดและเงื่อนไขตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด และต้องรักษาจรรยาบรรณ แห่งวิชาชีพตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดนอกจากนั้นต้องไม่โฆษณา ใช้จ้างวาน หรือยินยอมให้ผู้อื่น โฆษณาการประกอบโรคศิลปะ ความรู้ความชำนาญในการประกอบโรคศิลปะของตน เว้นแต่เป็นการโฆษณาเกี่ยวกับการแสดง ผลงานในหน้าที่ หรือทางวิชาการหรือเพื่อการศึกษา การประชุมทางวิชาการ การบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะและ การประกาศเกียรติคุณอาจกระทำได้

 

แต่อย่างไรก็ตาม การกำหนดให้ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ต้องทำการประกอบโรคศิลปะ ตามมาตรา 37 และมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบ โรคศิลปะ พ.ศ. 2542 หาได้มีสภาพบังคับตามกฎหมายไม่ เนื่องจากตาม พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 มาตรา 39 วรรคหน่ึง บัญญัติให้บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายเพราะผู้ประกอบโรคศิลปะ ฝ่าฝืน มาตรา 36 หรือ ประพฤติผิดข้อจำกัดและเงื่อนไขการประกอบโรคศิลปะ ตามมาตรา 37 หรือประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ตามมาตรา 38 มีสิทธิกล่าวหาผู้ประกอบโรคศิลปะผู้นั้นโดยทำคำกล่าวหาต่อคณะกรรมการวิชาชีพ และตามมาตรา 39 วรรคสองแห่งพ.ร.บ.การประกอบโรคศลิปะ พ.ศ.2542 ได้ บัญญัติให้กรรมการวิชาชีพหรือบุคคลอื่นซึ่งพบหรือทราบว่าผู้ประกอบโรคศิลปะผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 36 หรือประพฤติผิดข้อจำกัดและเงื่อนไขการประกอบโรคศิลปะ ตามมาตรา 37 หรือประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ตามมาตรา 38 มีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบโรคศิลปะผู้นั้น โดย ทำคำกล่าวโทษต่อคณะกรรมการวิชาชีพ

 

แต่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นไม่มีการกำหนดให้มีคณะกรรมการวิชาชีพสาขาทัศนมาตร เนื่องจากทัศนมาตรไม่ใช่สาขาของการประกอบโรคศิลปะตาม พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 จึงไม่มีการกำหนดให้มีคณะกรรมการวิชาชีพทัศนมาตรและไม่มีคณะกรรมการวิชาชีพทัศนมาตรที่ กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา เนื่องจากไม่มีพระราชกฤษฎีกาที่กำหนดให้สาขาทัศนมาตรเป็นสาขาของการประกอบโรคศิลปะ

 

นอกจากนั้นการที่กฎหมายไม่มีการกำหนดให้มีคณะกรรมการวิชาชีพทัศนมาตร ยังส่งผลให้การกระทำที่ฝ่าฝืนข้อ 4 แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2546) เรื่อง การอนุญาตให้บุคคลทำการประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ (Optometry) นั้นไม่สามารถลงโทษได้ เนื่องจากตามมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.การ ประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติให้คณะกรรมการวิชาชีพ เมื่อได้รับคำกล่าวหาหรือคำกล่าวโทษ ตามมาตรา 39 แล้วพิจารณาเห็นว่ากรณีมีมูลให้ส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการวิชาชีพ ซึ่งคณะกรรมการวิชาชีพแต่งตั้งขึ้นให้ทำหน้าที่สอบสวนการกระทำผิดตามมาตรา 40 แห่งพ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 คณะกรรมการวิชาชีพ ได้รับสำนวนการสอบสวนและความเห็นของคณะอนุกรรมการวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่สอบสวนแล้ว ให้คณะกรรมการ วิชาชีพพิจารณาวินิจฉัยโดยยกคำกล่าวหาหรือคำกล่าวโทษ กรณีที่เห็นว่าผู้ประกอบโรคศิลปะ มิได้กระทำผิดตามคำกล่าวหาหรือคำกล่าวโทษ หรือลงโทษโดยการว่ากล่าวตักเตือน หรือภาคทัณฑ์ หรือพักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกินสองปี หรือเพิกถอนใบอนุญาต ตามมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542

 

สรุปผล

ในปัจจุบันการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรมีอยู่จานวนมากและหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการ ดำเนินการในรูปแบบของร้านแว่นตา ร้านค้าตามตลาดนัด แผงลอย หน่วยรถเคลื่อนที่ ซึ่งส่วนมากมักจะมีการให้บริการตรวจวัดสายตา ตัดเลนส์ ให้คำแนะนำในการใช้แว่นสายตา รวมทั้งใช้เครื่องมือที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร ซึ่งการให้บริการดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยบุคคลที่ดำเนินการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทัศนมาตร หรือให้บริการตรวจวัดสายตา ตัดเลนส์ ให้คำแนะนำในการใช้แว่นสายตา ส่วนใหญ่นั้น ไม่ได้มีการกำหนดคุณสมบัติขั้นพื้นฐานของผู้ที่ประกอบวิชาชีพทัศนมาตรแต่อย่างใด ผู้ประกอบวิชาชีพทัศนมาตร ส่วนใหญ่ไม่ได้ผ่านการรับรองความรู้ ความสามารถในวิชาชีพทัศนมาตรจากองค์ใด ๆ เพียงแต่มีความสามารถในการใช้เครื่องมือในการประกอบวิชาชีพก็สามารถประกอบวิชาชีพทัศนมาตรได้โดยการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรนั้นไม่มี กฎหมาย กฎระเบียบ หรือองค์กรใด ๆ ทำหน้าที่ในการควบคุมการประกอบวิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการการเข้าสู่ การประกอบวิชาชีพ การควบคุมมาตรฐานคุณสมบัติของผู้ที่ประกอบวิชาชีพทัศนมาตร การกำหนดขอบเขตวิชาชีพทัศนมาตร การกำหนดและควบคุมแนวประพฤติปฏิบัติ มาตรฐานจรรยาบรรณ มาตรฐานการศึกษาวิชาทัศนมาตรศาสตร์

 

ทั้งน้ี แม้ในปัจจุบันจะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร คือ พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2546) เรื่อง การอนุญาตให้บุคคลทำการประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ (Optometry) นั้น แต่หากพิจารณาหาบทกฎหมายดังกล่าวจะเห็นว่า กฎหมายดังกล่าวไม่ได้เป็นกฎหมายที่ควบคุมการประกอบวิชาทัศนมาตรแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นกฎหมายที่อนุญาตให้บุคคลที่มีคุณสมบัติสามารถขอทำการประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ โดยผู้ที่ได้รับอนุญาตประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ ตามกฎหมายดังกล่าวจะต้องทำการประกอบโรคศิลปะ ตาม พ.ร.บ. การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 มาตรา 37 และต้องรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพตาม มาตรา 38 โดยอนุโลม

 

โดยในทางกลับกันบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ตามประกาศ กระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2546) เรื่อง การอนุญาตให้บุคคลทำการประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัย ทัศนมาตรศาสตร์ (Optometry) กลับสามารถประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับใด ๆ แห่งกฎหมาย

 

จากการศึกษากฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร ได้แก่ ข้อบังคับรัฐ มินนิโซตา บทที่ 148 ว่าด้วยการประกอบอาชีพเกี่ยวกับการสาธารณสุข (Minnesota Statutes, Chapter 148 Public Health Occupation) หมวดนักทัศนมาตร (Optometrists), ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยนักทัศนมาตรและผู้ทำการประกอบแว่นตา ค.ศ. 2007 (Optometrists and Opticians Act 2007) ของประเทศสิงคโปร์, รัฐบัญญัติหมายเลข 8050 (Republic Act No. 8050) ของประเทศฟิลิปปินส์ และ พ.ร.บ. ออฟปิคอล ค.ศ. 1991 (OPTICAL ACT 1991) ของ ประเทศมาเลเซีย จะพบว่า มีหลักการที่สำคัญในการควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร คือ การกำหนดขอบเขตของการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร ว่าการกระทำใดเป็นการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรที่จะต้องควบคุมภายใต้ กฎหมาย และกำหนดองค์กรที่มีหน้าที่ในการควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยมีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้ บุคคลทำการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรโดยบุคคลที่ประกอบวิชาชีพทัศนมาตรจะต้องมีความรู้ความสามารถในวิชาทัศนมาตรศาสตร์เป็นคุณสมบัติเบื้องต้น

 

เมื่อได้รับอนุญาตให้ทำการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรแล้วจะต้องทำการประกอบวิชาชีพภายใต้กฎหมายเงื่อนไขข้อกำหนดและต้องอยู่ภายใต้หลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพทัศนมาตร หากผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร ได้ทำการประกอบวิชาชีพโดยฝ่าฝืนกฎหมาย เงื่อนไข ข้อกำหนด และหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพทัศนมาตร จะต้องได้รับการลงโทษไม่ว่าจะเป็นการพักหรือเพิกถอนการอนุญาตให้ทำ การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร รวมทั้งการชำระค่าปรับหรือเงินแก่ผู้เสียหาย อนึ่งผู้ที่ทำการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการประกอบวิชาชีพนั้นจะต้องรับโทษทางอาญา

 

ข้อเสนอแนะ

1. เสนอให้มีการตรากฎหมายระดับ พ.ร.บ. เพ่ือควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร เน่ืองจากกฎหมายที่ควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรเป็นกฎหมายที่กระทบและจำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพ จึงต้องตราเป็นกฎหมายเพ่ือสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 40 โดยการตรา พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร

 

2. เสนอให้ พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร มีเน้ือหาสาระที่มีขอบเขตการใช้บังคับกับการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรโดยทั่วไป แต่ พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร จะไม่ใช้บังคับแก่การประกอบวิชาชีพทางการแพทยและสาธารณสุขอื่นตามกฎหมายว่า ด้วยการนั้น ๆ โดยบัญญัติใน พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดย มีข้อความว่า “พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตรไม่ใช้บังคับแก่การประกอบวิชาชีพเวชกรรมตาม พ.ร.บ.วิชาชีพ เวชกรรม”

 

3. เสนอให้ พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร มีเน้ือหาสาระโดยการกำหนดการกระทำที่เป็นการ ประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยบัญญัติใน พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยมีข้อความว่า “การประกอบวิชาชีพทัศนมาตรหมายถึงการกระทำใด ๆ ที่เป็นการวัด การวินิจฉัยความสามารถหรือความผิดปกติของการมองเห็น ใช้เครื่องมืออัตโนมัติหรือเครื่องมือใด ๆ และการแก้ไขฟื้นฟูความผิดปกติของการมองเห็นโดยการใช้แว่นตา เลนส์ สัมผัส และการฝึกการบริหารกล้ามเน้ือตา การให้คำแนะหรือ การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการแก้ฟื้นฟูความผิดปกติของการมองเห็น รวมถึงการจำหน่ายเลนส์แว่นตาหรือเลนส์สัมผัส” โดยการกระทำใด ๆ เป็นการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร จะต้องถูกควบคุมตามพ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยบัญญัติใน พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตรโดยมีข้อความว่า“การประกอบวิชาชีพทัศนมาตรต้องถูกควบคุมโดยพ.ร.บ.นี้”

 

4. เสนอให้ พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร มีเน้ือหาสาระที่กำหนดว่าเป็นการประกอบวิชาชีพ ทัศนมาตร คลอบคลุมถึงการจำหน่ายเลนส์แว่นตา หรือเลนส์สัมผัสทางการตั้งร้านค้าในห้างสรรพสินค้า ร้านค้า ชั่วคราว ร้านค้าเคล่ือนที่ รวมถึงการจำหน่ายทางออนไลน์ด้วย โดยบัญญัติใน พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยมีข้อความว่า “การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร ตาม พ.ร.บ.น้ีคลอบคลุมถึงการจำหน่ายเลนส์แว่นตาหรือเลนส์สัมผัสทางการตั้งร้านค้าในห้างสรรพสินค้าร้านค้าช่ัวคราว ร้านค้า เคลื่อนที่ รวมถึงการจำหน่ายทางออนไลน์”

 

5. เสนอให้ พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร มีเน้ือหาสาระที่เป็นการควบคุมการประกอบวิชาชีพ ทัศนมาตร โดยการที่บุคคลที่จะประกอบวิชาชีพทัศนมาตร ต้องมีคุณสมบัติและความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิชาทัศนมาตรศาสตร์ตามที่กำหนด โดยจะต้องทำการตรวจสอบคุณสมบัติ การศึกษา การอบรม และทดสอบความรู้ ความสามารถ นอกจากนั้นยังต้องได้รับการอนุญาตให้ทำการประกอบวิชาชีพและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ เม่ือได้รับอนุญาตให้ทำการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรแล้ว ต้องประกอบวิชาชีพทัศนมาตร ตามเง่ือนไขที่ พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตรกำหนด ไม่ว่าจะการประกอบวิชาชีพในระยะเวลาที่อนุญาต รวมทั้งการรักษาจรรยาบรรณ แห่งวิชาชีพ การกำหนดข้อห้ามในการประกอบวิชาชีพ รวมทั้งการกำหนดโทษผู้ที่ประกอบวิชาชีพทัศนมาตรโดยไม่เป็นตามเง่ือนไขตามที่ พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตรกาหนด โดยการว่ากล่าวตักเตือน, ภาคทัณฑ์, พักใช้ ใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาต

 

6.เสนอให้พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตรมีเน้ือหาสาระห้ามไม่ให้บุคคคลท่ีไม่ได้รับอนุญาตประกอบวิชาชีพทัศนมาตร หรือประกอบกิจการที่เกี่ยวกับทัศนมาตร รวมทั้งการจ้างบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตประกอบวิชาชีพทัศนมาตร มาดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทัศนมาตร แต่อย่างไรก็ตามอาจจะมีข้อยกเว้นบางประการที่สามารถกระทำได้ เช่น การจำหน่ายเลนส์แว่นตาที่ไม่มีค่าสายตา หรือแว่นขยาย การจำหน่ายแว่นตาของเล่น หรือการซ่อมแซม หรือ ทดแทนเลนส์ที่ชำรุดบกพร่อง ที่จำหน่ายโดยผู้ที่ประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยบัญญัติใน พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยมีข้อความว่า “ห้ามไม่ให้บุคคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตประกอบวิชาชีพทัศนมาตร หรือประกอบกิจการที่ เกี่ยวกับทัศนมาตร รวมทั้งการจ้างบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตประกอบวิชาชีพทัศนมาตรมาดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทัศนมาตร เว้นแต่การจำหน่ายเลนส์แว่นตาที่ไม่มีค่าสายตาหรือแว่นขยาย การจำหน่ายแว่นตาของเล่น หรือการซ่อมแซม หรือทดแทนเลนส์ที่ชำรุดบกพร่องที่จำหน่ายโดยผู้ที่ประกอบวิชาชีพทัศนมาตร”

 

7. เสนอให้ พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร จัดตั้งองค์กรที่มีอานาจเพ่ือบังคับการให้เป็นไปตาม กฎหมาย คือ สภาวิชาชีพทัศนมาตร โดยบัญญัติใน พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยมีข้อความว่า “กำหนดให้มีสภาวิชาชีพทัศนมาตร เพื่อทำหน้าที่ในการควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยการกำหนดเง่ือนไข คุณสมบัติผู้ที่จะขออนุญาตในการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร การพิจารณาอนุญาตให้ทำการประกอบวิชาทัศนมาตร การขึ้นทะเบียนผู้ที่ประกอบวิชาชีพทัศนมาตร การกำหนดจริยธรรมจรรยาบรรณของผู้ที่ทำการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร รวมทั้งพิจารณามีอานาจสอบสวนและพิจารณาโทษตาม พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร ของผู้ที่ประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยฝ่าฝืนพ.ร.บ.การประกอบวิชาชพีทัศนมาตร”

 

8. เสนอให้ พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร กำหนดโทษทางอาญาทั้งโทษปรับ และโทษจำคุกแก่ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยไม่ได้รับอนุญาตและข้อยกเว้นความผิดโดยบัญญัติใน พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยมีข้อความว่า “บุคคลที่กระทำการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยไม่ได้รับการอนุญาตรวมทั้งบุคคลท่ี กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ผู้อ่ืนเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิทำการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร เว้นแต่เป็นการปประกอบวิชาชีพทัศนมาตรที่เป็นการกระทำต่อตนเอง หรือเป็นการช่วยเหลือหรือเยียวยาผู้ป่วยตามหน้าที่ ตาม กฎหมาย หรือตามธรรมจรรยา โดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน หรือนักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรม ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร”

 

9. เสนอให้ พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร มีเน้ือหาสาระที่เป็นการสนับสนุนวิชาการทัศนมาตรศาสตร์ โดยบัญญัติใน พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยมีข้อความว่า “กำหนดให้สภาวิชาชีพทัศนมาตร มีอำนาจรับรองหลักสูตรทัศนมาตรศาสตร์ของสถาบันการศึกษา ที่มีมาตรฐานวิชาการทัศนมาตรศาสตร์ เพ่ือกำหนด เป็นคุณสมบัติของผู้ที่ขออนุญาตประกอบวิชาชพีทัศนมาตร”

 

10. เสนอให้ พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร มีเน้ือหาสาระที่เป็นการบูรณาการผู้ประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยบัญญัติใน พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยมีข้อความว่า “ให้มีสมาคมวิชาชีพทัศนมาตร เพ่ือทำหน้าที่ร่วมกำหนดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ รวมทั้งเป็นศูนย์รวมแห่งวิชาการทัศนมาตรศาสตร์และห้ามมีสมาคมหรือชมรมใดๆเกี่ยวกับการประกอบวิชาชพีทัศนมาตรนอกจากสมาคมวิชาชีพทัศนมาตร”

 

11. เสนอให้ พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร มีเน้ือหาสาระที่เป็นการคุ้มครองผู้ที่รับบริการจากการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยบัญญัตใน พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยมีข้อความว่า “ให้บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายเพราะผู้ประกอบวิชาชีพทัศนมาตร ฝ่าฝืน หรือประพฤติผิดข้อจำกัดและเง่ือนไขการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร หรือประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทัศนมาตร มีสิทธิกล่าวหาผู้ประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยทำคำกล่าวหาต่อสภาวิชาชีพทัศนมาตร เม่ือสภาวิชาชีพทัศนมาตรได้รับคำกล่าวหาจากผู้ที่รับบริการจากการประกอบ วิชาชีพทัศนมาตร ให้ทำการสอบสวนและมีคำส่ังยกคำกล่าวหา หรือมีคำสั่งลงโทษ”

 

12. เสนอให้ พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร มีเน้ือหาสาระท่ีเป็นการคุ้มครองประชาชนโดยบัญญัติใน พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยมีข้อความว่า “บุคคลใด ๆ ซึ่งพบหรือทราบว่าผู้ประกอบวิชาชีพทัศนมาตร ฝ่าฝืน หรือประพฤติผิดข้อจำกัดและเง่ือนไขการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร หรือประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ทัศนมาตร มีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยทำคำกล่าวโทษต่อสภาวิชาชีพทัศนมาตร เมื่อสภาวิชาชีพทัศนมาตรได้รับคำกล่าวโทษให้ทำการสอบสวน และมีคำสั่งยกคำกล่าวโทษหรือมีคำส่ังลงโทษ”

 

13. เสนอให้ พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร มีเน้ือหาสาระที่เป็นการจำกัดการแข่งขันการประกอบวิชาชีพ โดยการกำหนดห้ามไม่ให้โฆษณา ใช้ จ้าง วาน หรือยินยอมให้ผู้อ่ืนโฆษณาการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร ความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยบัญญัติใน พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตรโดยมี ข้อความว่า “ห้ามมิให้ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพทัศนมาตรทำการโฆษณา ใช้ จ้าง วาน หรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรหรือความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร”

 

14. เสนอให้ พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร มีเน้ือหาสาระท่ีเป็นการสงวนอาชีพเฉพาะบุคคลสัญชาติ ไทย โดยการกำหนดให้เฉพาะบุคคลสัญชาติไทย เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติในการขอรับการอนุญาตให้ทำการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยบัญญัติใน พ.ร.บ.การประกอบวิชาชีพทัศนมาตร โดยมีข้อความว่า “บุคคลที่จะได้รับอนุญาตให้ทำการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร ต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย” ผู้เขียนเสนอเห็นควรให้มีการสนับสนุนการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร จากผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ โดยผู้รับบริการจากการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรได้รับการคุ้มครองตามสิทธิจากกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม โดยการกำหนดให้ผู้ที่รับบริการจากการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร สามารถเบิกเงินจากสานักงานประกันสังคมได้

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย

1. ทำให้ทราบถึงประวัติความเป็นมา แนวความคิด ทฤษฎี เหตุผลและความจำเป็นในการควบคุมการ ประกอบวิชาชีพทัศนมาตร

2. ได้รูปแบบและแนวทางที่เหมาะสมจากการศึกษากฎหมายเปรียบเทียบในการคุ้มครองประชาชนในการรับบริการจากการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรโดยมีกฎหมายองค์กรหรือมาตรการต่าง ๆ เข้ามาควบคุมการประกอบวิชาชีพ

3. สามารถวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรเพ่ือนำไปกำหนดเป็นแนวทางในการควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรที่จะทำให้ผู้รับบริการจากการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรได้รับบริการที่เป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาการทัศนมาตรศาสตร์จากผู้ให้บริการที่ได้รับการรับรองในฐานะผู้ที่มีวิชาชีพเฉพาะโดยองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายรวมถึงมีมาตรการในการควบคุมผู้ให้บริการ

4. ทำให้ได้แนวทางในการปรับปรุงกฎหมาย หลักเกณฑ์ ข้อบังคับอ่ืน ๆ และการจัดตั้งองค์กรวิชาชีพ ทัศนมาตร ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุขให้คลอบคลุมถึงสาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์ เพื่อควบคุมการประกอบวิชาชพีทัศนมาตร

 

References

Announcement of the Ministry of Public Health No. 2 (B.E. 2546) regarding the authorization of persons to practice the art of healing by optometry. The Government Gazette, Volume 120, Special Section 25 Ngor, 7–9.

Eungprabhanth, V. (2005). Forensic Medicine (8th ed.). Bangkok: Ramkhamhaeng University.

Faculty of Optometry, Ramkhamhaeng University. (n.d)a. Profile of Faculty of Optometry,

Ramkhamhaeng University. Retrieved April 30, 2017, from http://www.opto.ru.ac.th/ index.phpOption=com_content&view=article&id=3&Itemid=103
Faculty of Optometry, Ramkhamhaeng University. (n.d)b. Bachelor of Optometry, Ramkhamhaeng University. Retrieved April 30, 2017, from http://www.opto.ru.ac.th/PDF/OptoProgram /opto-program.pdf
Ministry of Health Malaysia. (2008). OPTICAL ACT 1991. Retrieved February 20, 2018, From

http://www.moh.gov.my/index.php/database_stores/attach_download/317/25 Minnesota Board of Optometry. (2003). Board Responsibilities. Retrieved April 30, 2017 From

https://mn.gov/boards/optometry/board-staff/boardresponsibilities.jsp
Mitrpakdee, K. (2017). Tassana-Suksa. A DAY, 17(201), 49.
Official Gazette of Republic of the Philippines. (1995). Republic Act No. 8050. Retrieved February

20, 2018, from http://www.officialgazette.gov.ph/1995/06/07/republic-act-no-8050/ Rajavithi Hospital. (2017). The risk...that comes with cutting the ‘eye glasses’. Retrieved March

24, 2019, from https://www.rajavithi.go.th/rj/?p=4120
Singapore Government. (2008). Optometrists and Opticians Act. Retrieved February 20, 2018,

from https://sso.agc.gov.sg/Acts-Supp/36-2007/Published/20070814?DocDate

=20070814#P1VI-
The Constitution of the Kingdom of Thailand. The Government Gazette, Volume 134 Section 40

Gor, 1-90.
The Office of the Revisor of Statutes, Minnesota, The United States of America. (2019). Chapter

148. Public Health Occupation. Retrieved February 20, 2018, From https://www.revisor. mn.gov/statutes/?id=148

Download PDF : Optometry Profession Practice Control