ทีแรกผมก็ไม่ได้คิดว่าจะต้องเขียนเรื่องนี้ เพราะนึกว่าเป็นเรื่องที่ common sense แต่หลังจากมีความคิดเห็นจากช่างแว่นตาท่านหนึ่ง ที่แฟนเพจ copy ส่ง inbox ข้อความมาให้อ่าน เพื่อขอคำอธิบายในเรื่องร่างกฎกระทรวงกิจการวัดสายตาประกอบแว่นว่า ตกลงยังไง รับไม่รับดี เจอบทความนี้ช่างแว่นก็มีเป๋ๆไปบ้างเหมือนกัน เพราะถ้ามองในมุมช่างแว่นที่โพสต์นี้ ก็ฟังดูขึ้นในมุมมองของช่างแว่นเช่นกัน
ซึ่งทีแรกว่าจะไม่เขียน เพราะคุยกับ ดร.แจ๊คแล้ว ดร.แจ๊ค มีความเห็นว่าเราโตแล้วอย่าไปเล่นกันเด็ก มันดูไม่งาม ดังนั้นอย่าไปให้ priority กับเรื่องนี้ แต่ผมก็ไม่ทราบว่า เป็นความคิดเห็นของเด็กหรือผู้ใหญ่หรือผู้อาวุโส เพราะผมเห็นเพียงข้อความอย่างเดียว ไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของ แต่ก็เป็นความคิดเห็นที่ดี จึงอยากจะอธิบายในความกังวลใจของช่างแว่นท่านนี้
เขาแสดงความคิดเห็นไว้ว่า
“พรบ.ประกอบโรคศิลป์ดีกว่าอย่างไรต่างกับพรบ.ฉบับนี้ (หมายถึงพรบ.สถานบริการสุขภาพ) อย่างไร และถ้าดีกว่าแล้ว จะมีอะไรมายืนยันว่า พรบ.ประกอบโรคศิลป์จะออกมาตามที่ว่านี้แน่ๆ 100% มั่นใจมั้ยว่า จะให้ช่างแว่นได้วัดสายตาและได้ใช้เครื่องมือครบถ้วน ไม่มีกฎอะไรออกมาบังคับว่าจะห้ามทำโน่นห้ามทำนี่ ไม่ต้องไปลงทะเบียนเสียเงินโดยยังไม่มีกฎหมายมารองรับ และทำให้ช่างแว่นจะสามารถส่งต่อธุรกิจให้ลูกหลานทำได้โดยไม่ต้องไปเรียนทัศนมาตร ถ้ามันดีจริงๆก็สนับสนุน พร้อมจะคัดค้านและผมก็เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ก็พร้อมที่จะคัดค้าน ว่าตามเหตุผลนะผมยังไม่เห็นข้อไหนดีกว่าฉบับนี้เลย”
หลังจากที่ผมเห็นความคิดเห็นที่แฟนเพจส่งมาให้อ่าน แว๊บแรกที่คิดขึ้นมาเลยก็คือ “ผมน่าจะปล่อยหรือช่วยดันให้ร่างกฎกระทรวงนี้คลอดซะให้จบเรื่องจบราวไป ส่วนเรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก็ให้ถือว่าเป็นเวรเป็นกรรมของวงการแว่นตาที่ทำมาก็แล้วกัน คนทำดีก็เยอะ คนทำไม่ดีก็มาก (วันนี้เราขอพูดเรื่องจริงนะครับ) เพราะนี่ก็ไมใช่เรื่องอะไรของผมเลย ที่ต้องเอาตัวมาแลก รบกับอะไรอยู่ก็ไม่รู้ ข้าศึกมีอำนาจเงินมหาศาล ตรงข้ามกับผมที่มีแต่ ข้ อ มู ล และ ค ว า ม จ ริ ง เป็นอาวุธ และความจริงอีกเรื่องก็คือคือทัศนมาตรไม่ได้เดือดร้อนอะไรกับกฎนี้เลย เพราะกฎนี้มันคือ ส า ร ส้ ม ดีๆนี่เอง ที่ช่วยแยกตะกอนดินออกจากน้ำ และทำให้รู้ว่า อั น ไ ห น น ำ ไ ป อุ ป โ ภ ค บ ริ โ ภ ค ไ ด้ อั น ไ ห น เ อ า ไ ป ท ำ ปุ๋ ย
แต่ผมจะเห็นแก่ตัวแบบนั้นไม่ได้เพาะมีช่างแว่นตาจำนวนมาก ที่เขามีศักยภาพ มีความรู้ มีความสามารถ และพร้อมที่จะพัฒนาศักยภาพตนเอง ท้ายสุดคือ ประชาชนคนไทยได้รับบริการกับผู้ให้บริการที่ได้มาตรฐาน ทำงานถูกต้องตามหลักวิชาการทัศนมาตรที่โลกให้การยอมรับ และจะได้สนองว่าเป็น Medical Hub จริงๆ ตามที่นโยบายรัฐพยายามผลักดัน ซึ่งผมยังมองไม่เห็นว่า พรบ.สถานบริการสุขภาพ จะพาการบริการสายตาไปสู่ world medical hub ได้อย่างไร
ด้วยเหตุที่ผมห่วงเพื่อนๆที่เป็นช่างแว่นตา ซึ่งหลายคนเป็นเพื่อนสนิทผม ผมก็ต้องเดินหน้าทำความเข้าใจต่อ แต่ถ้าทำสุดแล้ว มันก็จะต้องคลอดร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ ก็คงต้องปล่อย ผมก็ได้พัก และเร่งฟูมฟักวิชาชีพทัศนมาตรให้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนต่อไป ผลจะเป็นอย่างไรก็ค่อยปล่อยเป็นเรื่องเวรเรื่องกรรมทีหลัง ขณะนี้ยังพอมีเวลา ก็คงต้องเดินหน้าอธิบายต่อไป
เอาหล่ะ เรามาแยกเป็นประเด็นกับความคิดเห็นเบื้องต้น ที่ช่างแว่นตาท่านนี้มีความกังวลใจ
1.พรบ.ประกอบโรคศิลป์ ดีกว่า พรบ.สถานบริการสุขภาพ ต่างกันอย่างไร
2.มั่นใจได้ไหมว่า ช่างแว่นตาจะได้ทำงานอย่างทัศนมาตรทำ
3.มั่นใจได้แค่ไหนว่าไม่ต้องลงทะเบียนเรียนเสียเงิน
4.มั่นใจได้อย่างไรว่าเราสามารถส่งต่อธุรกิจแว่นตาให้ลูกหลานโดยไม่ต้องเรียนทัศนมาตร
5.ยังไม่เห็นฉบับไหนดีกว่าฉบับนี้เลย
จากความคิดเห็นเบื้องต้น ทำให้อุทานในใจว่า อุ๊ต่ะ! ตายห่า เขียนมาตั้งนาน ไม่เคยเขียนเลยว่า พรบ.ประกอบโรคศิลป์ กับ พรบ.สถานบริการสุขภาพต่างกันอย่างไร เพราะนึกว่าเป็น common sens ว่าคนจะแยกออก เพราะถ้าคนเข้าใจ มันจะไม่เกิดคำถามข้อ 4 มาว่า “มั่นใจได้อย่างไรว่าเราสามารถส่งต่อธุรกิจแว่นตาให้ลูกหลานโดยไม่ต้องเรียนทัศนมาตร”
งั้นขอตอบ ข้อ1 กับข้อ 4 ก่อนละกันเพราะถ้าเข้าใจ 1 จะไม่เกิดคำถาม 4 ออกมา
ปุจฉา : พรบ.ประกอบโรคศิลป์ ดีกว่า พรบ.สถานบริการสุขภาพ ต่างกันอย่างไร
วิสัชนา : ตอบแบบกำปั้นทุบดินได้ว่า “มั น ค น ล ะ เ รื่ อ ง กั น ค รั บ”
พรบ.ประกอบโรคศิลป์ เป็น “ก ฎ ห ม า ย บั ง คั บ ค น”
พรบ.สถานบริการสุขภาพ เป็น “ ก ฎ ห ม า ย บั ง คั บ ส ถ า น ที่”
ซึ่ง 2 พรบ.นี้มันคนละเรื่องละราว
พรบ.ประกอบโรคศิลป์
พรบ.ประกอบโรคศิลป์ เป็น “ก ฎ ห ม า ย บั ง คั บ ค น” เขาบังคับว่า คนที่จะประกอบโรคศิลป์ได้ จะต้อง มี คุ ณ ส ม บั ติ อ ย่ า ง ไ ร เรียนอะไรมา จบอะไรมา สอบผ่านอะไรมา ถึงจะสามารถทำงานประกอบโรคศิลป์ได้ โดยแต่ละวิชาชีพประกอบโรคศิลป์ก็จะมีกฎเกณฑ์ของตนเอง เ พื่ อ บั ง คั บ ค น ซึ่งจะเข้ามาเป็นผู้ประกอบโรคศิละในสาขาการประกอบโรคศิลปะของแต่ละวิชาชีพ
ซึ่งพรบ.ประกอบโรคศิลป์ มีกฎหมายบับคับในเรื่องสถานที่ติดตัวมาคือ พ ร บ . ส ถ า น พ ย า บ า ล ซึ่งมาคู่กัน คือ ห ม อ ต้องทำงานในถานที่เฉพาะและมีกฎเกณฑ์กติกาบังคับว่าจะต้องมีลักษณะของสถานที่มี ความสะอาด ความปลอดภัยอย่างไร ซึ่งจะมีระเบียบบังคัับชัดเจนในนิยาม ส ถ า น พ ย า บ า ล ว่าจะต้องมีลักษณะหน้าตาเป็นอย่างไร เมื่อได้สถานที่ที่ถูกสุขลักษณะแล้ว จากนั้นก็ไปจดขึ้นทะเบียนเป็นสถานพยาบาลแบบค้างคืน (โ ร ง พ ย า บ า ล) หรือ แบบไม่ค้างคืน (ค ลิ นิ ก)
ดังนั้นหมอจะทำการประกอบโรคศิลปะใน ก ร ะ ท่ อ ม หรือทำใน ส ป า ไม่ได้ เพราะงานของหมอเป็นการประกอบโรคศิลปะ
สรุปได้ว่า พรบ.ประกอบโรคศิลปะนั้น บั ง คั บ ค น ให้ประกอบโรคศิลปะใน ส ถ า น พ ย า บ า ล
พรบ.สถานบริการทางสุขภาพ
ส่วน พ ร บ . ส ถ า น บ ริ ก า ร สุ ข ภ า พ หรือ พ ร บ . ส ป า เป็นกฎหมายที่บังคับ “ส ถ า น ที่ ไม่ ไ ด้ บั ง คั บ ค น”
ดังนั้นกฎหมายสปา จึงระบุกฎเกณฑ์เกี่ยวกับสถานที่ที่จะนำมาใช้เป็นสถานที่สำหรับบริการสุขภาพ(สปา)เท่านั้น แต่จะไม่บังคับว่าคนที่จะมาให้บริการทางสุขภาพหรือมานวดสปานั้น จะต้องมีความรู้อย่างไร จบอะไรมา ได้ประกาศนีียบัตรวิชาชีพอะไรมา หรือสอบได้ใบอนุญาตอะไรมา พูดอีกนัยหนึ่งคือ ใครก็ได้สามารถมาทำงานในสถานที่ที่ได้รับอนุญาตนี้ได้ และสามารถส่งต่อสถานที่ได้ เและผู้ที่รับการส่งต่อกิจการนั้น ไม่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติอะไร เพราะกฎหมายบังคับเฉพาะสถานที่ ไม่ได้บังคับคน เ ข้ า ใ จ๋ ยั๊ ง แยกออกหรือยัง ว่า พรบ.ประกอบโรคศิลป์ กับ พรบ.สถานบริการทางสุขภาพ ต่างกันอย่างไร
ดังนั้นข้อที่ 4. ที่ถามว่า “มั่นใจได้อย่างไรว่าเราสามารถส่งต่อธุรกิจแว่นตาให้ลูกหลานโดยไม่ต้องเรียนทัศนมาตร” มันจึงเป็นคำถามที่ไม่ make sens ตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว เพราะ พรบ.ประกอบโรคศิลป์มันบังคับคน แต่เรื่องของการส่งต่อธุรกิจมันเป็นเรื่องสถานที่ไม่เกี่ยวกับคน จึงไม่เกี่ยวกับ พรบ.ประกอบโรคศิลป์
ขยายความต่อ
คือถ้า ช่างแว่นตา เลือกเข้ามาขึ้นทะเบียนอยู่ใน พรบ.ประกอบโรคศิลป์ ดังนั้นร้านแว่นตาที่ทำอยู่จะต้องจดทะเบียนเป็นสถานพยาบาลโดยปริยาย ดังนั้นสถานพยาบาลต้องดำเนินกิจการโดยผู้ประกอบโรคศิลปะก็คือช่างแว่นที่ขึ้นทะเบียนแล้วหรือทัศนมาตรเท่านั้น ไม่สามารถให้ตามี ยายมา หรือ ตาอิน ตานา ที่ยังไม่ขึ้นทะเบียนสามารถทำได้
พูดอีกนัยหนึ่งก็คือว่า ถ้าคิดว่าจะส่งต่อธุรกิจแว่นตาซึ่งเป็นสถานพยาบาลต่อให้ลูก ถ้าลูกเป็นทัศนมาตรวิชาชีพหรือเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนแล้วจึงจะสามารถดำเนินการได้ แต่ถ้าลูกไม่ใช่เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ก็ไม่สามารถดำเนินการได้ แต่สามารถเป็นผู้ประกอบการ โดยจ้างผู้ประกอบโรคศิลปะมาทำงานแทนได้
พูดให้ภาพคือ “หมอ” ซึ่่งเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะและเป็นเจ้าของคลินิกซึ่งเป็นสถานพยาบาลของตน สามารถส่งต่อคลิินิกของตน ให้กับลูกที่ไม่ได้เรียนหมอได้หรือไม่
คำตอบคือได้แน่นอน แต่ลูกไม่มีสิทธิในการประกอบโรคศิลปะในสถานพยาบาล เพราะลูกไม่ใช่ผู้ประกอบโรคศิลปะ แต่สามารถจ้างหมอให้มาทำงานในคลิินิกได้
แต่ถามจริงๆ ถ้าพ่อเป็นหมอผ่าตัดสมอง จะส่งอาชีพผ่าตัดสมองให้ลูกที่ไม่ได้เรียนจบหมอมา กระนั้นหรือ ใจคอทำด้วยอะไร ดังนั้น พรบ.การประกอบโรคศิลป์ ชัดของมันอยู่แล้วว่า เขาบังคับ “คน” จ่ะ เข้าใจตรงกันนะ
ถ้าอ่านเอาประโยชน์เป็นที่ตั้ง เราก็เห็นว่าก็ปกติดี แฟร์ต่อผู้บริโภค แต่ถ้า “คนแก่ตัว” ไม่ได้สนใจผู้รับบริการว่าเขาจะมาเจอกับอะไร เอาแต่ประโยชน์ตนเป็นที่ตั้ง ก็จะไม่เห็นด้วย เพราะอยาก จั บ เ สื อ มื อ เ ป ล่ า คนพรรณนี้ควร สั บ ใ ห้ เ ป็ ด กิ น ให้หมด
แล้วใจคอจะให้วงการแว่นตา มันถอยหลังเรื่องคุณภาพกันแบบนี้จริงๆหรือ เราไม่คิดจะพัฒนาวงการของเราให้มันไปไกลกว่านี้หรือยกระดับการให้บริการที่มันดีกว่านี้หน่อยหรือ
ถ้าลูกหลานคิดจะรับกิจการแว่นตาซึ่งเป็นสถานพยาบาลและทำงานเป็นผู้ดำเนินการ มีความจำเป็นที่ต้องไปเรียนทัศนมาตร เพื่อเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ เพราะคุณต้องทำงานดูแลสุขภาพมนุษย์
แต่ถ้าไปเรียนด้านอื่น ก็รับกิจการมาได้แต่ทำในรูปแบบของผู้ประกอบการแล้วจ้างทัศนมาตรมาทำงาน จริงๆ หลายๆร้าน เขาก็ทำกันอย่างนี้นะ แต่ร้านแว่นตาสะดวกซื้อจะเดือดร้อน เพราะ suupply จะมีอย่างจำกัดทันที ขยายกิจการยาก ร้านแว่นตาสะดวกซื้อเลยไม่ชอบ เข้าใจตรงกันนะ มาดูข้อต่อไป
2.มั่นใจได้ไหมว่า ช่างแว่นตาจะได้ทำงานอย่างทัศนมาตรทำ
ความคิดผมนะ ยินดีอย่างยิ่งครับที่มีคนอยากทำงานอย่างทัศนมาตร ถ้าสามารถเรียนรู้และเข้าใจการทำงานของดวงตาทั้งระบบ มองเห็นภาพรวมได้ทั้งหมด มีแต่เรื่องที่น่ายินดี ที่ประชาชนจะสามารถเข้ารับบริการจากที่ตรงไหนก็ได้ ไม่ต้องถ่อสังขาร เดินทางมาไกล ๆ และตอนนี้ช่างแว่นตาหลายคนที่ผมรู้จักก็ทำอยู่ และก็ทำได้ดีด้วย แต่ก็มากอีกเช่นกันที่ไม่ได้ทำเลย คำถามปัจจุบันที่ไม่ยอมทำคือ ใ ค ร ห้ า ม ไ ม่ ใ ห้ ท ำ ห รื อ
เพราะความจริงคือมันไม่ได้ง่ายที่จะทำ มันมีเรื่องต้องเรียนรู้ ต้องเข้าใจอีกมาก ดังนั้นผมคิดว่าเรื่องนี้ไม่ต้องห่วงเพราะมันเป็นเรื่องที่ดีต่อผู้บริโภค และกฎขอบเขตในการทำงาน เราดูจากนิยาม พรบ.ว่าเขาให้เราทำอะไรได้บ้าง ก็ในเมื่อเราขึ้นทะเบียนเดียวกัน เราก็ต้องได้ใช้นิยามเดียวกันสิ จะไปกลัวไม่ให้ทำทำไม แต่ถ้าเกิดว่า คุณเลือกกฎกระทรวงกิจการวัดสายตาประกอบแว่นสิ อันนั้น ห้ามชัดเจน ดูจะสับสนกับ logic ของตัวเองนะ
ดังนั้น ถ้าช่างแว่นตา ได้รับการขึ้นทะเบียนให้อยู่ใน พรฎ.ทัศนมาตร ก็ต้องใช้นิยามเดียวกัน เพราะมันมีนิยามของ พรฎ.การประกอบโรคศิลป์สาขาทัศนมาตรอยู่ ดังนั้นจึงสามารถทำงานได้อย่างที่ทัศนมาตรทำ เพราะเราว่ากันที่นิยาม ถ้าไม่ผิดนิยามก็คือว่าสามารถทำได้ เช่นทัศนมาตรมีกฎห้ามผ่าตัดหรือใช้ยาเพื่อรักษา ก็ต้องปฏิบัติตามนิยามนั้น ก็ไม่ได้ผิดปกติอะไร
ส่วนคุณสมบัติของผู้ที่จะมาขึ้นทะเบียน ว่าจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ตรงนี้ก็อยู่ที่กฎเกณฑ์ว่าจะใช้มาตรฐานในการวัดความรู้ความสามารถของผู้ที่จะมาประกอบโรคศิลปะในสาขาอย่างไร
ปัจจุบัน การขึ้นทะเบียนเป็นทัศนมาตรวิชาชีพนั้นใช้การสอบจากข้อสอบของกองประกอบโรคศิลปะ ที่มีกรรมการเป็นทัศนมาตรและจักษุแพทย์ ทำการออกข้อสอบทั้งข้อเขียนและปฏิบัติ ใช้เวลาสอบ 2 วัน ทฤษฎี 1วัน และ ปฏิบัติ 1 วัน
เมื่อสอบผ่านจะได้หนังสืออนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตร ซึ่งมีอายุ 2 ปี และต้องต่อหนังสืออนุญาต โดยใช้ใบประกาศนียบัตรที่ได้จากการอบรมในงานที่กองประกอบโรคศิลป์รองรับ ก็จะสามารถต่อได้ โดยเสียค่าธรรมเนียม พันกว่าบาท หน้าตาหนังสือเหมือนด้านล่าง
ผมคิดว่า โมเดลที่จะใช้ก็คงไม่ต่างกันกับการรับช่างแว่นตาที่มาขึ้นทะเบียน ว่าจะต้องคุณสมบัติ มีความรู้ อย่างไร และคงต้องจัดสอบเฉพาะกาลขึ้นมา โดยใช้ข้อสอบอีกฉบับเฉพาะกาลขึ้นมา
พอมาถึงตรงนี้ ผมเข้าใจว่าหลายท่าน ก็กังวลใจว่า จะเอาความรู้ที่ไหนไปสอบ ซึ่งก็คงต้องไปเรียน เสียค่าเรียน แล้วเรียนที่ไหน โรงเรียนอะไร ท่านนี้ก็เลยถามมาเป็นข้อที่ 3 ว่า
3.มั่นใจได้แค่ไหนว่าไม่ต้องลงทะเบียนเรียนเสียเงิน
มุมมองนี้น่าสนใจ เพราะว่า ผู้ที่กำลังจะเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะอยู่หลัดๆ กำลังไม่สบายใจที่ต้องเสียเงินลงทะเบียนเรียน แต่ความกลัวไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญสูงสุดคือ ความรับผิดชอบและความซื่อสัตย์กับงานที่ทำอยู่ การที่จะเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ไม่มีความรู้ไม่ได้ เพราะถ้าปลามันเน่าตัวเดียวมันจะเน่าทั้งข้อง
แล้วจะเรียนที่ไหน จะต้องเสียค่าเรียนเท่าไหร่ เรื่องนี้น่าสนใจ เพราะเป็นเรื่องที่ผมกลัวสมาคมทัศนมาตรจะถูกโจมตีว่า ที่พยายามต้านร่างกฎกระทรวงกิจการวัดสายตาประกอบแว่นเพราะต้องการสร้างโรงเรียนเพื่อหาผลประโยชน์จากเรื่องนี้
เบื้องต้น ผมได้ถามตรงๆกับผู้ใหญ่ฝ่ายผมในไลน์กลุ่มสมาคมทัศนมาตรต่อหน้าสมาชิกทัศนมาตร 298 ชีวิต ถึงความกังวลใจในเรื่องการสร้างโรงเรียนหลักสูตรระยะสั้นสำหรับช่างแว่นตา ซึ่งสามารถถูกโจมตีว่าเป็นการหาผลประโยชน์ได้ และเป็นเรื่องที่ฝ่ายโรงเรียนสอนช่างแว่นปัจจุบัน พยายามป้ายสีเรื่องนี้ให้สมาคมทัศนมาตรอยู่ เพราะเป็นเค้กก้อนใหญ่ที่โรงเรียนช่างแว่นหวงนักหวงหนา
เค้กใหญ่ขนาดไหนเชียว พูดให้เห็นภาพได้ว่า ถ้า พรบ.สถานบริการสุขภาพ (พรบ. (สปา) ว่าด้วยการวัดสายตาประกอบแว่น) ออกมา แน่นอนว่าสมาชิกจะต้องมีการเข้าอบรม 300 ชม. ตามคำกล่าวในช่วงการทำประชาพิจารณ์ แน่นอนว่า โรงเรียนที่พร้อมที่สุดก็คงจะเป็นโรงเรียนสอนช่างแว่น อันมีสมาคมแว่นเป็นประมุข โดยมีบริษัทค้าส่งและนายทุนแว่นตาต่างๆเป็นคนชักไยอีกที (วงการนี้ซับซ้อนนะ)
คิดง่ายๆว่า ถ้ามีช่างแว่นที่จะต้องมาเรียน 5,000 คน (คิดจากสาขาร้านแว่นที่จดทะเบียนพานิชย์) คิดค่าคอร์สต่อคนอยู่ที่ 30,000 บาท จะเป็นเงินทั้งหมดเท่าไหร่ ผมไม่ตอบก็แล้วกัน ลองคูณเล่นกันดู นั่นแหล่ะ “เค้กใหญ่ไหมหล่ะ”
ดังนั้น ถ้าร่างกฎกระทรวงกิจการวัดสายตาประกอบแว่น มีอันถูกค้านให้ตกไป เค้กมูลค่า 5,000x30,000 บาทเป็นอย่างน้อย ก็มีอันต้องตกไปอยู่ในมือของคนอื่นเช่นกัน หรือต้องแบ่งเค้กหลายคน เพราะตอนนี้ เก็บกินคนเดียวอยู่ (อร่อยไหมท่าน)
ด้วยเหตุนี้ พรบ.ประกอบโรคศิลป์สาขาทัศนมาตร จึงถูกเอาสีมาป้ายว่าอยากแบ่งเค้ก
ซึ่งผมถามผู้ใหญ่ในสมาคมทัศนมาตร ต่อบรรดาสมาชิกทัศนมาตร เรื่องการเปิดโรงเรียนแข่งกับโรงเรียนสอนช่างแว่น ว่ามีความคิดนี้หรือไม่
ได้คำตอบว่า “ทางสมาคมทัศมาตรไม่มีความคิดที่จะเปิดโรงเรียนสอนแข่งกับโรงเรียนช่างแว่น”
ซึ่งคำตอบนี้ ทำให้ผมสบายใจว่า สมาคมทัศนมาตรที่ผมอยู่นั้น ไ ม่ เ ปื้ อ น แต่งานก็จะเข้าสำหรับช่างแว่นตา ว่าจะเรียนเอาความรู้จากไหน เพื่อเอาไปสอบเพื่อรับหนังสืออนุญาตประกอบโรคศิลปะ
ความคิดต่อไปนี้ ผมอยากให้ทุกฝ่ายได้อ่านกันโดยถี่ถ้วน ทั้งผู้ใหญ่ฝ่ายสมาคมทัศนมาตร มหาวิทยาลัย ทัศนมาตรและช่างแว่นตาว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร
ผมเห็นว่า ผู้ที่เหมาะสมที่สุดในการจัดตั้งโรงเรียนสอนช่างแว่นตาเพื่ออบรมความรู้เพื่อนำไปสอบขอหนังสืออนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ ควรเป็น มหาวิทยาลัยที่ปิดสอนคณะทัศนมาตรศาสตร์อยู่ ดูจะเหมาะสมและงดงามที่สุด และสมาคมทัศนมาตรควรทำหน้าที่เป็นเพียงที่ปรึกษาในการร่างมาตรฐานของหลักสูตรเท่านั้น แต่จะเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ได้เพราะมันไม่งามและจะเป็นที่หรหาได้
ซึ่งปัจจุบันมี 3 มหาวิทยาลัยที่มีสาขาทัศนมาตรเปิดสอนอยู่คือ ม.รามคำแหง ม.รังสิต และ ม.นเรศวร อาจจะตั้งชื่อหลักสูตรว่า pre-optometry ก็ได้ อาจจะใช้โมเดลของหลักสูตรผู้ช่วยจักษุแพทย์ก็ได้ ศิริราชเขาเปิดสอนให้เข้าไปเรียนอยู่ แต่เขาคิดตังค์ค่าเรียนนะ ไม่ได้เรียนฟรี
ข้อดีของการให้มหาลัยเปิดหลักสูตรอบรมช่างแว่นตา
มหาวิทยาลัยมีความพร้อม ทั้งทางสถานที่ บุคลากร เครื่องมือ ที่จะอบรมให้ความรู้กับช่างแว่นตาที่มาขึ้นทะเบียน โดยเรียน เสาร์-อาทิตย์ หรือช่วงปิดเทอม เพื่อไม่ให้กระทบกับนักศึกษาที่เรียนอยู่ตามปกติวิสัย รายได้ที่เกิดขึ้น ก็ขอให้เกิดขึ้นแก่มหาลัย เพื่อนำไปพัฒนาสถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือ ต่อไป แน่นอนที่สุดคือความงดงามของวิชาชีพและสมาคมทัศนมาตร
แล้วสมาคมทัศนมาตรจะได้รายได้อย่างไร ก็ได้จากการเสียค่าธรรมเนียมประจำปีของสมาชิก ปีละ 1,000 บาทอยู่แล้ว ก็นำเงินตรงนี้มาจัดหลักสูตรอบรมให้กับสมาชิก ฟรี!!!!! ก็จะเกิด โมเมนตัม ขององค์ความรู้เกี่ยวกับการวัดสายตาประกอบแว่น และเกิดความงดงามในวิชาชีพ เตรียมรับสู่การเป็น World Medical Hub อย่างแท้จริง เป็นไง
อ้าว...อย่างนี้ก็เสียตังค์เรียนสิ
แหม่...ถ้าเจอกับคนที่ถามอย่างนี้ ผมควรจะตอบเขายังไงดีครับ รู้หรือเปล่าทัศนมาตรเรียน 6 ปี ค่าเทอม(สมัยผมเรียน) เทอมละ 85,000 บาท บางเทอม 95,000 บาท เราเรียนกัน 6 ปี (12 เทอม) เรียนยากและเรียนหนักด้วย แทบตายกว่าจะจบมาได้ สอบในอนุญาตก็ยาก เลือดตาแทบกระเซน ปัดโธ่
แต่ก็คิดว่าหลักสูตรอบรมระยะสั้นลักษณะนี้ คงไม่ได้ค่าเทอมมหาโหด อย่างโรงเรียนทัศนมาตรหรอก ดังนั้นการเสียตังค์เรียนบ้าง เหนื่อยที่ต้องเข้าห้องเรียนบ้าง ก็คือว่าเป็นค่าเทอม และอีกอย่างเราก็จะเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแล้ว อย่าไปตืดให้มันมากหน่อยเลย คิดอะไรให้มันไกลไปกว่า หม้อข้าวหม้อแกงของตนเองบาง แล้วโลกมันจะน่าอยู่ขึ้น
ก็ขอฝากทั้ง มหาวิทยาลัย สมาคมทัศนมาตร ช่างแว่นตา ทัศนมาตวิชาชีพ ช่วยกันคิดหน่อยว่า ทางนี้มันเวิร์คไหม ผมว่าเข้าท่านะ เรื่องโรงเรียนถ้าให้งามที่สุดก็ให้เป็นผลประโยชน์กับมหาวิทยาลัย เพราะจะเป็นที่เพาะพันธ์ุอนาคตทัศนมาตรอีกมากมาย ประเทศไทยจงเจริญ ชัยโย โห่ หิ้ววว
ข้อสุดท้าย ข้อ 5 ผมไม่ตอบแล้วกัน เจ็บคอ คิดเอาเองนะ
สวัสดีครับ
ดร.ลอฟท์