โปรเกรสซีฟ แก้ตาเหล่เข้าแบบซ่อนเร้นจาก Accommodative Esophoria

Review Case 

เรื่อง  การใช้เลนส์โปรเกรสซีฟในการแก้ไขปัญหาคนไข้เหล่เข้าแบบซ่อนเร้น 

สวัสดีแฟนคอลัมป์ทุกท่าน วันนี้มีเคสที่คือว่าเป็น common case ที่พบได้อยู่เรื่อยๆ และมีลักษณะที่เป็น pattern ที่ตรวจและวิเคราะห์ไม่ยากจนเกินไปนัก ซึ่งก็คือ คนไข้ Accommodative Esophoria  ที่มี High AC/A ratio  ซึ่ง the best solution สำหรับเคสลักษณะนี้ก็คือการใช้โครงสร้างโปรเกรสซีฟในการลดปัญหาเขเข้าซ่อนเร้น ซึ่งช่วยให้คนไข้ที่มีปัญหาเหล่เข้าซ่อนเร้นนั้นรู้สึกสบายตาขึ้น ทำงานที่ระยะใกล้ได้ยาวนานขึ้น  ซึ่งในเคสนี้เป็นเคสของทันตแพทย์หญิงท่านหนึ่ง 

เรื่องมีอยู่ว่า 

คนไข้หญิง อายุ 29 ปี มาด้วยอาการ  "ต้องการแว่นตาที่สามารถใช้งานได้จริง"  (ปัจจุบันใส่ contact lens )  ปัญหาของแว่นตาที่เคยทำมาตลอดคือใส่ไม่ได้ เพราะมีอาการปวดศีรษะ โดยเฉพาะบริเวณ บริเวณหว่างคิ้ว รอบๆเบ้าตา  แต่กลับไม่มีอาการดังกล่าวเมื่อใส่คอนแทคเลนส์ 

ประวัติเกี่ยวกับสุขภาพตา 

พบจักษุแพทย์ครั้งสุดท้ายเมื่อ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ด้วยอาการตาแดง มีตุ่มใต้เปลือกตาจากการใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลานาน (Giant Cell Papilloma ,GPC) หมอ fullow up อีก 1 อาทิตย์

แว่นแรก : เริ่มใช้ตั้งแต่สมัยเรียนประถม  ปัจจุบันใส่คอนแทคเลนส์เป็นหลัก  และต้องการเลิกใช้คอนแทคเลนส์มาใช้แว่นแทน 

ไม่มีประวัติทางสุขภาพตาอื่นๆ ที่ต้องระวัง  ไม่มีประวัติเห็นแฟล๊ช (flash)  หยากไย่ลอยไปมา (floater) หรือเห็นรุ้งรอบดวงไฟ (Hoalos) 

Health History 

แข็งแรง ตรวจร่างกายประจำปีทุกปี ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มีภูมิแพ้ 

Social History  

เป็นทันตแพทย์ ทำงานดูใกล้ ในการทำทันตกรรมเป็นหลัก รวมถึง คอมพิวเตอร์และมือถือ

ตรวจเบื้องต้น 

Cover Test : พบเหล่เข้าแบบซ่อนเร้น (esophoria at near) จากการทำ cover test โดยให้คนไข้ใส่แว่นเดิม

ผลการตรวจสายตา 

Best Visual Acuity ,BVA 

OD  -4.75-0.75x167  VA 20/15

OS  -5.50-0.75x3       VA 20/15

 

Binocular Function 

#Distant ( 6 m.)

Associate phoria3 prism Base Out (esophoria)

BI-Reserve (Divergence Reserve)  : x/8/2

BO-reserve (Convergence Reserve: 18/30/10

 

#Near ( 40 cm.)

Dissociate phoria 6 prism Base Out (esophoria) 

AC/A : 8:1

BI-Reserve (Divergence Reserve)  :6/16/4

BCC : 0.75 

NRA :+1.75

 

Assessment 

1.Compound Myopic Astigmatism 

2.Accommodative Esophoria 

 

Plan 

1.Full Correct for Distant  with Prism Correction 

2.Add Plus to reduce  Accommodative Esophoria 

 

จุดที่น่าสนใจสำหรับเคสนี้คือ 

1.คนไข้เป็น High AC/A  และมีเหล่เข้าแบบซ่อนเร้นที่ระยะไกล ( Distant Esophoria)

Concern !  คนไข้ High AC/A  บอกเราว่า การที่เลนส์ตาเกิดการเพ่งแม้เพียงเล็กน้อยนั้นจะไปกระตุ้นการเหลือบเข้า (convergence) ของคนไข้มาก  ดังนั้นเดิมขณะที่คนไข้ relax accommodation อยู่แล้วก็ยังมี esophoria อยู่ ถ้าเราจ่ายค่าสายตามองไกลเกินสายตาจริง ก็จะทำให้คนไข้เหล่เข้ามากยิ่งขึ้น ในอัตราส่วน 1:8  

หมายความว่า ถ้าเลนส์ตาเพ่ง 1.00D  กล้ามเนื้อตาจะเหลือบเข้าถึง  8 prism diopter  หรือถ้าจ่ายสายตาเกินมาเพียง -0.25D ก็จะทำให้คนไข้เหล่เข้าเพิ่มขึ้นถึง 2.00 prism diopter (เดิมมีอยู่ 3 ก็จะยิ่งไปสร้างปัญหาให้กับคนไข้)

ดังนั้น การวัดสายตาเพียงแค่เอาชัดนั้น  ไม่ใช่การวัดสายตาที่ถูกต้อง แต่ต้องประเมินปัญหาอื่นๆที่จะตามมาด้วย 

 

2.คนไข้เป็น Accommodative Esophoria 

Accommodative Esophoria นั้นคือเหล่ซ่อนเร้นที่ถูกกระตุ้นให้เกิดจากเลนส์ตามีการเพ่ง  ในคนปกตินั้น (คนปกติหมายถึงคนที่ไม่มีสายตามองไกล  ซึ่งเป็นละคำกับคนที่ไม่มีปัญหามองไกล คืออาจมีปัญหาสายตาแต่อาจไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหา) คนปกติจะไม่มีมุมเหล่ซ่อนเร้นขณะมองไกล ถ้าจะมีค่าปกตินั้น จะเป็นเหล่ออกซ่อนเร้นไม่เกิน 1 prism base in  และเมื่อดูใกล้จะมีเหล่ออกซ่อนเร้นไม่เกิน 3 +/- 2 prism base in 

หมายความว่า คนปกติ ถ้าจะมีเหล่ซ่อนเร้น แต่จะมีเป็นเหล่ออก 

แต่คนไข้คนนี้มีเหล่เข้าซ่อนเร้น ทั้งไกลและใกล้  และพบว่ามีปัญหาที่ใกล้มากกว่าที่ไกล  เนื่องจากว่า ขณะที่คนไข้ดูใกล้นั้น เลนส์ตามีการเพ่งเพื่อให้ภาพชัด  และเนื่องจากคนไข้มีค่า AC/A ที่สูงถึง 1:8  หมายความว่า เพ่งไป 1.00 ตาเหลือบไป 8 Prism   แต่ที่ 40 ซม. ตาต้องเพ่ง 2.5 D ดังนั้น มุมเหลือบจะไปไกลถึง 8x2.5= 20 prism diopter 

แต่ความจำเป็นที่ตาต้องเหลือบดูใกล้ที่ 40 ซม.นั้นเพียง 15 prism ทำให้เหลือบเข้าเกินความเป็นจริงมาถึง 5 prism รวมกับมองไกลอีก 3 prism ก็เลยได้ค่ามาประมาณที่ 6 prism Esophoria 

 

การพิจารณาเพื่อแก้ปัญหาเหล่เข้าซ่อนเร้น 

1.ค่าสายตา (refractive Error)

ค่าสายตามองไกลนั้นเราจำเป็นต้องจ่ายตามความเป็นจริง (Full Corrected) อยู่แล้ว เพื่อให้มองไกลชัด (แต่อย่าไปจ่ายเกิน) 

2.จ่ายปริซึม ( prism correction )

แม้ว่าเราจะจ่ายค่าสายตามองไกล ให้เห็นชัดโดยเลนส์ตาไม่มีการเพ่งแล้ว แต่กระนั้นก็ตามก็ยังมีเหล่เข้าซ่อนเร้นซ่อนอยู่ 3 prism ซึ่งกำลังปริซึมที่จะจ่ายนั้น ก็ต้องพิจารณากำลังกล้ามเนื้อตาที่คนไข้สามารถออกแรงชดเชยได้เองร่วมด้วย  ซึ่งในเคสนี้ผมจ่ายปริซึมมองไกลช่วยไปบางส่วน คือช่วยไป 1.00 prism diopter Base Out 

3.จ่าย Addition เพื่อลดกำลังเพ่ง เพื่อส่งผลให้ลดเขเข้าแบบซ่อนเร้น 

แม้ว่าในเคสนี้จะเป็นเด็ก และไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการเพ่งเหมือนกับคนสูงอายุ แต่ผมตั้งใจจ่ายเลนส์โปรเกรซีฟที่มีค่า Addition +1.00D เพื่อให้เลนส์ตาคลายตัวขณะที่คนไข้ดูใกล้ และเนื่องจากคนไข้มี High AC/A 8:1 นั่นหมายความว่า การที่ผมจ่ายเลนส์ไป +1.00D  จะทำให้คนไข้เพ่งน้อยลง 1.00D. และทำให้เหล่เข้าซ่อนเร้นลดลงถึง 8 Prism Dioptor และได้ผลลัพธิ์สุดท้ายคนคนไข้มีลักษณ์กล้ามเนื้อตาแบบเหล่ออกซ่อนเร้นเล็กๆ (ประมาณ 2 prism) ซึ่งเป็นค่า Norm และคนไข้มีกำลังในการเหลือบเข้ามหาศาลอยู่แล้ว ดังนั้นสบาย

สรุป 

AC/A นั้นเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจในการพิจารณาจ่ายเลนส์สายตาเพื่อแก้ปัญหาการมองเห็น หรือจะจ่ายปริซึมเพื่อแก้ปัญหากล้ามเนื้อตา 

Low AC/A  หรือ AC/A น้อยกว่า 2:1  

บอกเราว่า เลนส์ตากับกล้ามเนื้อตา มีความสัมพันธ์กันน้อย ดังนั้นถ้าในเคสนี้ เราจะไม่สามารถจ่ายปริซึมเพื่อลดเหล่เข้าขณะคนไข้ดูใกล้ได้ถ้าคนไข้เป็น Low AC/A  ซึ่งจะต้องพิจารณาในการจ่ายปริซึมหรือบริหารกล้ามเนื้อตาเพื่อเพิ่มแรงในการชดเชยปัญหากล้ามเนื้อตาแทน 

High AC/A หรือ AC/A มากกว่า 6:1 

บอกเราว่า การไปเริ่มหรือไปลดกำลังเพ่งเพียงเล็กน้อยนั้น จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของกล้ามเนื้อตามาก  เช่นถ้าเราจ่ายเลนส์สายตาเกินจริง (over minus) จะทำให้กล้ามเนื้อตานั้นเกิดการเหลือบเข้า (convergence) มากกว่าปกติ  ซึ่งถ้าคนไข้เป็นตาเหล่ออกอยู่ จะเหล่น้อยลง แต่ถ้าคนไข้เป็นเหล่เข้าอยู่จะเหล่เข้ามากขึ้น เป็นต้น ดังนั้น  ในเคสนี้ คนไข้เป็นเหล่เข้าซ่อนเร้น และมี High AC/A  ผมจึงพิจารณาจ่าย Add +1.00D เพื่อให้เลนส์ตาคลายตัว เพื่อลด esophoria แต่ถ้าคนไข้เป็นเหล่ออกซ่อนเร้น ผมจะทำแบบนี้ไม่ได้ เพราะย่ิงจะสร้างปัญหาให้มากขึ้น 

ทิ้งท้าย 

ก็อยากจะฝากไว้  สำหรับเคสที่มีลักษณะ pattern ที่ common แบบนี้ ซึ่งเจออยู่เรื่อยๆแหล่ะ  และเราสามารถใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันในการแก้ปัญหาให้คนไข้ของเรามีชีวิตที่ดีขึ้น มีความสุขกับการใช้สายตามากขึ้น และ โปรเกรสซีฟไม่ใช่ของสงวนไว้สำหรับผู้สูงอายุเท่านั้น  เด็กก็สามารถได้ประโยชน์จากมันด้วยเช่นกัน 

จบ 

ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ 

สมยศ เพ็งทวี ,O.D. (dr.loft)



Prescription 

Frame : LINDBERG  (Customized)

Lens : Rodenstcok Multigressiv MyView 2 (Unique Customization)

toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel situs toto toto togel toto togel toto togel toto togel situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto