The short cut story ,Part 1

“Trial lens” คำว่า trial ในที่นี้ไม่ใช่ “การลองผิดลองถูก”

Discuss by Dr.Jakrapan O.D. (Dr.Jack)

source : Podcast chanal : https://open.spotify.com/episode/507bCN7fi0yc2uNOJvwdKa

 

เป็นประเด็นหนึ่งที่ผมยกมาจาก podcast ของ loft optician ซึ่งเป็น podcast ที่เราทำกันขึ้นมาสนุกๆโดยน้องต้ำเพื่อพูดคุยกันเบาๆ เกี่ยวกับความเนื้อหรือเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในวงการที่เกี่ยวข้องกับสายตาและระบบการมองเห็น

 

มีอยู่ตอนหนึ่งที่น้องต้ำ ซึ่งทำหน้าที่เป็นคนดำเนินรายการ ซึ่งกำลังยกเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยทางทัศนมาตรคลินิกมาถาม ก็มีอยู่คำถามหนึ่งซึ่ง ดร.แจ๊ค ให้คำตอบมาได้น่าสนใจ ผมจึงยกขึ้นมาเป็นหัวข้อเล็กๆ ในวันนี้

 

ใน session ของเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจทางทัศนมาตรคลินิกซึ่งเป็นคำถามเกี่ยวกับเครื่อง phoropter และ trial frame / trial lens และดร.แจ๊ค ก็ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับ trial frame ได้อย่างน่าสนใจ

 

น้องต้ำ(ผู้ดำเนินรายการ)

Phoropter ที่หน้าตาคล้ายกับหัวกระโหลก มันจำเป็นต้องมีไหมในการทำงานทางคลินิก และถ้ามีแล้วเป็นต้องมี trial frame / trial lensl หรือไม่ แล้วคุณภาพแต่ละยี่ห้อต่างหรือเหมือนกันไหมอย่างไร .....

 

ดร.จักรพันธ์ (Dr.Jack) :

Phoropter ถือเป็นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่ง(เน้นว่าชิ้นหนึ่ง)ในการตรวจวินิจฉัยทางคลินิกในเชิงออพติก ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ประกอบไปด้วย set ของเลนส์ต่างๆมากมาย สำหรับการตรวจระบบต่างๆในทางออพติก ทั้งในเรื่องการหักเหแสงและระบบการทำงานของสองตาที่เป็นหัวใจในการทำงานทางทัศนมาตรชิ้นหนึ่ง (เน้นว่าชิ้นหนึ่ง เพราะในการตรวจวินิจฉัยทางทัศนมาตรคลินิกนั้นมีเรื่องที่ต้องดูหลายๆเรื่อง แต่ละเรื่องก็ใช้เครื่องมือแตกต่างกันไป)

แต่ trial frame ก็เป็นอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งที่มีความสำคัญในการตรวจวินิจฉัย ด้วยหลายๆสาเหตุเช่น คนไข้มี head tilt ขณะนั่งตรวจหลัง phoropter หรือ ระยะห่างที่คนไข้นั่งห่างก็เป็นเหตุให้ induced myopia ทำให้เกิดค่าสายตาสั้นที่มากเกินจริงได้ ตลอดไปจนถึงการ induce binocular function ทำให้เราประเมินความผิดปกติคลาดเคลื่อนได้ (โดยเฉพาะเก้าอี้ที่ไม่มีหมอนรองศีรษะที่สามารถปรับได้) จึงจำเป็นที่เราต้องใช้ trial frame ในการตรวจหลังจากได้ค่าจาก phoropter แล้ว

 

trial frame / trial lens คำว่า trial ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า “ลองผิดลองถูก” แต่ trial lens เครื่องมือ back to basic ที่จัดว่าเป็น need (เน้นว่าเป็น need ไม่ใช่มีหรือไม่มีก็ได้) สำหรับการตรวจบน free space ในขณะที่คนไข้ใช้ optic ที่ไม่ได้ผ่านเครื่องมือที่ถูก bias ได้ง่าย หรือลด bias ที่จะเกิดจากเครื่องมือให้มากที่สุด เพื่อให้ได้ค่า prescription ที่ถูกต้องจริงๆ

 

แต่ trial frame ไม่ใช่หมายความว่า ลองผิดลองถูก อันนี้ชัดไหม อันนี้ไม่ชัด อันนั้นชัดกว่า อันนี้ชัดกว่า ไม่ใช่แบบนี้ แต่เป็นการประเมินหา prescription จริงๆ กำลังเลนส์จริงๆ หรือ dose จริงๆที่ใช้ในการแก้ไขเชิงออพติก”

 

ในทัศนส่วนตัว

สำหรับผมนี่ถือว่าเป็นคำตอบของ trial frame ที่ค่อนข้างชัดเจน สมบูรณ์ และ เถียงไม่ได้ และที่ผมยกขึ้นมานี้ ก็เพราะว่า ในแวดวงแว่นตานั้น(มีหลายวง) มักใช้ trial frame ในการจัดสายตาเพื่อลองผิดลองถูก โดยการปรับนั่น แต่งนี่ ปัดองศาเอียงลงแกนหลัก เอาเอียงออก ปัดกำลังสายตาเอียงให้มันเท่าๆกัน ตบองศาให้มันไปอยู่แกนหลักเหมือนๆกัน จัดสายตามันเท่าๆกัน ถ้าใส่เอียงแล้วเมา ก็เอาเอียงออก พอเอาเอียงออกแล้วไม่ชัดก็ดันสายตาสั้นเพิ่มเข้าไป ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เรียกว่า “#กระบวนการลองผิดลองถูก” หรือ “trial and error” ประหนึ่งว่า การตรวจในห้องตรวจ 1 ชั่วโมงไม่ได้ให้ค่าอะไร ตรวจแล้วก็เอามาตัดทิ้ง ไปๆมาๆ ก็ลัดทุ่งเอาว่า ตรวจไปก็ต้องเอาทิ้งอยู่ดี ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ต้องไปตรวจอะไรให้มากมาย ยิงคอมพิวเตอร์แล้วจัดสายตาบนเลนส์เสียบ ขายแว่น จบ แต่นั่นไม่ใช่การงานในระดับทัศนมาตรคลินิก และบ่อยครั้งผมก็อดกังวลไมได้ที่เห็นหลายคนเอาเรื่องศาสตร์การจัดสายตาไปสอนในสถาบันการศึกษา แล้วถ้าแม่พิมพ์มีปัญหา ลูกพิมพ์ก็คงจะมีปัญหาไม่ต่างกัน

 

ดังนั้น #การเรียนการสอนการจัดสายตาสำหรับผมถือว่าเป็นการถ่วงวิชาชีพไม่ให้เจริญ และ ตลอดการทำงานของผมมาก่วา 8 ปี ไม่เคยใช้ศาสตร์จัดสายตา เมื่อต้องจ่ายเลนส์จ่ายก็ตรงไปตรงมาและไม่เคยมีปัญหา แล้วศาสตร์จัดสายตาคืออะไร ทำไมต้องสอน อันนี้ไม่เข้าใจจริงๆ

 

ใครสนใจฟัง podcast สนุกๆ เกี่ยวกับปัญหาสายตาและระบบการมองเห็น ก็บองไปฟังกันดูนะครับ https://open.spotify.com/episode/507bCN7fi0yc2uNOJvwdKa

ปล.วันที่ record ผมพึ่งไปถอนฟันคุดมาช่วงบ่าย เย็นก็มาอัดรายการเลย อาจจะฟังไม่ค่อยรู้เรื่องสักหน่อย เร็วๆ รัวๆ หน่อยๆ เพราะเจ็บฟันมาก ก็ต้องขออภัย

 

ขอบคุณทุกท่านสำหรับการติดตาม

ดร.ลอฟท์​ O.D.

#Trialไม่ใช่การลองผิดลองถูก

#ทัศนมาตรศาสตร์ไม่ใช่ศาสตร์จัดสายตา

#ตรวจวัดสายตาและตรวจสอบระบบการมองเห็นไม่ใช่วัดแว่น

#รักไม่ใช่ดวงดาวเมื่อพราวแสง