Case Study 26 : Accommodative Fatigue ,กำลังเพ่งของเลนส์ตาล้า (ชั่วคราว)


Case Study 26

Topic  : Accommodative Fatigue (tempolary)  ; กำลังเพ่งของเลนส์ตาล้า (ชั่วคราว)

By  Dr.Loft ,13/08/2019

 

Abstract

เรื่องย่อของเคสนี้คือ คนไข้ชาย อายุ 42 ปี อาชีพเป็นแพทย์เชี่ยวชาญด้านกระดูก มาด้วยอาการ ปวดตึงๆบริเวณกระบอกตา  เมื่อยตา  เป็นมา 5 วัน  ซึ่งอยู่ๆก็เป็นขึ้นมา ดูใกล้ไม่ค่อยชัด ต้องเพ่ง และโปรเกรสซีฟที่ใช้อยู่รู้สึกว่าต้องเงยหน้าเยอะ ทำให้เมื่อยตา จึงเข้ามาตรวจเพื่อหาความผิดปกติ

 

ในเบื้องต้น คนไข้คิดว่าเป็นเรื่องของแว่นเบี้ยว  ซึ่งเมื่อนำแว่นมาให้ผมดูก็พบว่าเบี้ยวจริงโดยมุมเท (panto angle) ขวา/ซ้าย นั้นมีมุมเทไม่เท่ากัน จึงคิดว่าเกิดจากแว่นเบี้ยวจริงๆ และได้ทำการดัดและ calibrate  ซึ่งคนไข้รู้สึกว่าดีขึ้น และไปลองใช้ดูเผื่อว่าอาการจะหาย  วันถัดมาคนไข้แจ้งว่าดีขึ้นแต่อาการก็ยังไม่หาย  อาการต้องเพ่งเวลาดูใกล้ยังมีอยู่  ผมจึงนัดคุณหมอให้เข้ามาตรวจในวันถัดไป 

 

หลังจากที่ตรวจสายตาและระบบการทำงานของสองตาทุกระบบแล้ว พบว่า สายตามองไกลนั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากเดิม แต่สิ่งที่ผิดปกติอย่างเห็นได้ชัดคือ ค่า BCC หรือค่า addition ของคนไข้นั้นสูงขึ้นผิดปกติ จาก BCC+1.00D เมื่อปีที่แล้ว กลายเป็น +2.00D ในวันที่เข้ามาตรวจ (อายุ 41ปี)  ซึ่งเป็นการ progress ของค่า addition ที่ไม่ปกติ ซึ่งแสดงถึงความล้าของเลนส์ตาที่ผิดธรรมชาติมากๆ  ซึ่งการที่ค่า add จะเพิ่มถึง 1.00D นั้นปกติจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 8-10 ปี (อายุประมาณ 50 ปี)  แต่เวลาพึ่งผ่านมา 1 ปี ไม่น่าจะเป็นไปได้

 

ผมถามคนไข้ว่า ช่วงก่อนที่จะมีอาการปวดกระบอกตานี้ มีกิจกรรมอะไรที่ผิดไปจากเดิมไหม เช่นดูใกล้มาก หรือ ใช้สายตาดูใกล้มากๆ กว่าช่วงอื่นไหม เพราะถ้าเป็นความล้าของกำลังเพ่งที่ลดลงตามอายุหรือสายตาคนแก่นั้น  เป็นความอ่อนแรงที่ค่อยเป็นค่อยไป ใช้เวลานานหลายปี คนไข้จะจำช่วงเวลาไม่ได้ชัดเจนว่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่  แต่ถ้าอาการเกิดขึ้นแบบ Suddenly นั้นต้องมีเหตุบางอย่างมากระตุ้น

 

คุณหมอแจ้งว่า  ช่วงก่อนจะมีอาการนั้น ต้องเข้าเวรเพิ่ม ครึ่งเข้าเข้า OPD ใช้คอมพิวเตอร์เยอะ ช่วงบ่ายก็เข้าผ่าตัดต่อเนื่องทั้งวัน 2-3 วันติดก่อนมีอาการ  ผมจึงขอให้คุณหมอหาเวลามาใหม่  ให้พักตาหรือทำงานดูใกล้ให้น้อย แล้วหาวันสบายๆ นอนพักผ่อนเพียงพอแล้วเข้ามาตรวจอีกครั้ง  ซึ่งคุณหมอก็พักงานไป  3 วัน เมื่อร่างกายพร้อมแล้วก็นัดเวลาเข้ามาตรวจใหม่

 

หลังจากตรวจสายตาใหม่พบว่า ค่าสายตามองไกลยังคงเหมือนเดิม phoria ที่มีก็ยังคงเหมือนเดิม และที่น่าสนใจคือ Addition กลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ BCC+1.25 ซึ่งก็ makesens ว่ามี add ขยับขึ้น +0.25 ในเวลา 1 ปี ก็ถือว่าปกติ

 

ซึ่งผม accessement  เคสนี้ว่า เป็น Accommodation Fatique หรือกล้ามเนื้อตาล้าจากการหักโหมใช้สายตาดูใกล้หนักและต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้เลนส์ตาเกิดการล้าและแสดงอาการให้เห็นดังกล่าว  แต่ก็เป็นความล้าที่เกิดขึ้นชั่วคราว เมื่อได้พัก เลนส์ตาก็กลับมามีแรงเพ่งเพิ่มขึ้นเป็นปกติ

 

หัวใจของเรื่องนี้ อยู่ที่การให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมของร่างกายก่อนตรวจเข้ารับบริการทางคลินิกทัศนมาตร เพื่อให้ผลในการตรวจนั้นเป็นค่าที่ถูกต้องแท้จริง ไม่ใช่ค่าที่เกิดจากความผิดพลาดเนื่องจากร่างกายไม่ได้อยุ่ในภาวะที่ปกติ   และผมเห็นว่ามีประโยชน์จึงนำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ 

 

แต่ก่อนที่จะเข้าไปสู่รายละเอียด เรามาดูเคสตั้งแต่ต้นกันดีกว่า

 

เมื่อ 5/8/2561 (ตรวจครั้งแรก)

Case History 

คนไข้ชาย อายุ 40 ปี อาชีพแพทย์เชี่ยวชาญด้านกระดูก มาด้วยอาการปวดศีรษะมึนๆหลังจากใส่แว่นซึ่งเป็นเลนส์ single vision ที่เคลมว่ามีเทคโนโลยีช่วยลดกำลังเพ่งในคนเริ่มมีปัญหากำลังเพ่งอ่อนแรงในวัยเริ่มเป็นสายตาคนแก่  ซึ่งแว่นก็พึ่งทํามาไม่นาน  ถอดแว่นแล้วอาการปวดตึงตาดีขึ้น  ซึ่งมีอาการนั้นมีตั้งแต่วันไปรับแว่นมาจนถึงวันที่แวะมาที่ลอฟท์ประมาณ 1 เดือน เดิมคนไข้คิดว่าเป็นเรื่องปรับตัวกับแว่น  แต่ผ่านไปหลายวันแล้วอาการก็ยังคงเป็นอยู่ จึงอยากจะเข้ามาเพื่อค้นหาปัญหา  

                                                                                                                                     เลนส์ซ้าย blue block ที่มีปัญหา / เลนส์ขวา แก้ปัญหาทั้งหมดโดยไม่ต้องอาศัย blue block

 

(ผมหยิบเลนส์มาดูเป็นเลนส์ระยะเดียวตระกูล anti-fatique ค่ายหนึ่งซึ่งเคลือบผิวด้วยเลนส์ BlueBlock อยู่ และผมได้เขียนเรื่องในเพจว่า "เหตุผลของการจ่ายBlueBlockคืออะไร" ซึ่งผมอยากจะ promote ads แต่ทำไม่ได้เพราะโดน report ว่าสร้างความทะเลาะขัดแย้ง ทำนองนั้น ซึ่งเนื้อหาเป็นอย่างไรลองไปอ่านกันดูครับ  http://bit.ly/2KB9PBG ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ก็ช่วยแชร์ต่อก็ดีครับเพราะว่าผม promote ไม่ได้ )

 

Patient Ocular Health History (POHx)

- ไม่เคยรับการตรวจสุขภาพตาจากจักษุแพทย์มาก่อน
- CL ; ไม่เคยใช้คอนแทคเลนส์
+ Glasses : คนไข้เริ่มใช้แว่นครั้งแรกตั้งแต่อายุ 15 ปี แว่นปัจจุบันที่ใส่อยู่อายุ 1 เดือน เป็นเลนส์ชั้นเดียวแบบลดกำลังเพ่งเคลือบตัดแสงสีน้ำเงิน (anti-fatique single vision lens ) ใส่แล้วรู้สึกปวดตึงบริเวณลูกตา 

-ไม่มีประวัติอุบัติเหตุทางตาหรือศีรษะ  ไม่มีประวัติผ่าตัด บาดเจ็บ ติดเชื้อที่เกิดขึ้นกับดวงตา  สุขภาพตาโดยรวมแล้วไม่เคยมีปัญหามาก่อน 

HA/Diplopia

+HA : ปวดศีรษะทุกครั้งที่ใส่แว่น ถอดแล้วดีขึ้น ระดับความปวด 4/10 พักแว่นแล้ว อาการดีขึ้น
-Diplopia : ภาพมีเงา แต่ไม่ซ้อนเป็นสองภาพ

สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจําตัว มีภูมิแพ้ฝุ่น จาม น้ํามูกไหล
ไม่มีโรคอย่างอื่น หรือความผิดปกติทางสุขภาพร่างกายหรือญาติพี่น้องที่ต้อง concern

ใช้สายตา ผ่าตัด คอมพิวเตอร์ มือถือ ตลอดทั้งวัน

 

Preliminary eye exam

VAcc 20/100 OD , 20/70 OS ( เห็น VAcc ไม่ดี จึงไม่ได้สนใจค่ากําลังของเลนส์เดิม)

Alt.Cover Test  : Ortho ,EP’

Refraction

Retinoscope

OD -1.50 - 0.75 x 150  VA 20/20

OS -2.25 - 1.00 x 50    VA 20/25

Subjective Refraction (SRx)

OD -1.25 - 0.62 x 152  VA 20/15

OS -2.75 - 0.62 x 52    VA 20/15

 

Binocular function                6m           40 cm

Horz.Phoria                       1BO                -

BI-vergence                       x/6/2               -

BO-vergence                     6/12/4             -

Vertical Phoria                  1 BUOS (R-hyperphorai)

Supra Vergence               2/1 (LE)

Infra Vergence                 4/2 (LE)

BCC                                   -                    +1.25D

NRA/PRA                         -                    +1.00/-1.00

 

Assessment

1.compound myopic astigmatism :  ปัญหาสายตาที่คนไข้เป็นนั้น มองไกลมีสายตาสั้น ร่วมกับสายตาเอียง โดยโฟกัสของ sphere /cylinder  นั้นตกก่อนจอกรับภาพทั้งคู่  และเป็น anisometropia คือสายตาสองข้างนั้นต่างกัน > 1.00D ซึ่งเป็น criterior ที่ต้องเริ่ม concern เรื่อง binocular vision

 

2.มองไกลมีเขเข้าซ่อนเร้น (esophoria)

 

3.มองไกลมีเหล่ซ่อนเร้นในแนวดิ่งหรือตาสูงต่ำ โดยมีมุมเหล่ตาขวานั้นอยู่สูงกว่าตาซ้าย 1 prism (right -hyperphoria)

 

4.มีสายตาชราตามวัย (presbyopia) ทำให้ดูใกล้ไม่ชัด

 

Plan

1. Full Correction

OD -1.25 - 0.62 x 152 

OS -2.75 - 0.62 x 52  

2. prism Rx : 0.5BOOD/0.5BOOS

3. Pris Rx  :  0.5BDOD/0.5BUOS

4.progressive additional lens ; Add+1.25

 

Result

อาการที่มานั้น เช่นปวดตึงบริเวณเบ้าตา เมื่อยล้าตาเวลาทำงานนั้น หายไปทั้งหมด ใช้ชีวิตปกติ  จากนั้นคนไข้ก็หายไปร่วมๆปี จนกระทั่งล่าสุดเมื่อกลางเดือนที่แล้ว ( 13/7/62 ) คนไข้กลับเข้ามาอีกครั้งด้วยอาการ ปวดตึงๆบริเวณกระบอกตา เมื่อยตา  แต่พึ่งเป็นมา 5 วัน  ซึ่งอยู่ๆก็เป็นขึ้นมา ดูใกล้ไม่ค่อยชัด ต้องเพ่ง และโปรเกรสซีฟที่ใช้อยู่รู้สึกว่าต้องเงยหน้าเยอะ ทำให้เมื่อยตา

 

เบื้องต้นคิดว่ามีสาเหตุจากแว่นเบี้ยว เนื่องจากพบว่าแว่นเบี้ยวจริง จึงทำการ calibrate แล้ว adjust ให้พารามิเตอร์ถูกต้อง  แล้วให้คนไข้กลับไปลองใช้  พบว่าปัญหาก็ยังคงมีอยู่  จึงได้นัดคนไข้เข้ามาตรวจอีกครั้ง

 

ผลการตรวจล่าสุดเมื่อวันที่ 17/7/62

Chief Complain 

คนไข้ Complain ปวดๆ ตึงๆตาบริเวณรอบๆดวงตา เป็นมา 5 วัน แบบ sudden และ ช่วงเวลานั้นมีงานผ่าตัดต่อเนื่อง 2 วัน ใช้สายตาหนัก แล้วก็เร่ิมมีอาการ พักผ่อนตื่นเช้า มาก็ยังไม่หาย

 

Clinical Finding

Keratometry

OD 40.75@165 /42.25@75 (corneal astig.  -1.50 x 165)
OS 41.00@20 / 42.25@110 (corneal astig. -1.25 x 20)

 

Retinoscope

OD -1.50 - 1.00 x 160   VA 20/20

OS -2.75  -1.25 x 50     VA 20/20

 

Subjective Refraction

OD -1.25 - 1.00 x 150    VA 2015

OS -2.75 - 0.75 x 45      VA 2015

 

Binocular function        6 m            40 cm

Horz.Phoria                         1 BO (eso)         14 BI (exophoria)

BI-vergence                         x/6/0                     -

BO-vergence                       6/10/4                   -

Vertical Phoria                    0.5 BUOS ( R-Hyperphoria)

Supra Vergence                  2/1 (LE)                 -

Infra Vergence                     3/2 (LE)                -

BCC                                       -                       +1.75D

NRA/PRA                              -                     +0.75/-0.75

 

Ocular Health

Antr.segment. : Normal / Normal

Pupil : PERRLA  w/o RAPD+

Meso 5.4 /4.9 mm

Photo 3.1/3.1  mm


IOPc : OD  11.7 mmHg (CCT 551 micron)

            OS 12.4 mmHg (CCT 562 micron)

Angle : IAT          IAN

   OD   44ํ          42ํ

    OS  43ํ          44ํ

 

Fundus

C/D ratio : 0.7 OD/OS  (** Suspect Glaucoma Tilting disc ,OD, OS)
Ground look normal
AV ratio ; 2/3

ALR ratio : 1/3

OD C/D ratio 0.7
OS : C/D ratio 0.7

Assessment

  1. อาการสําคัญต่างๆที่พบนั้น การเปลี่ยนแปลงของสายตานั้น ไม่ได้มีนัยสําคัญ แต่จะมีค่า accommodation ที่ขยับขึ้นจาก +1.00D เมื่อปีที่แล้ว มาเป็น +1.75D ใน 1 ปี ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกของคนไข้ที่มีอายุเพียง 41 ปี 
     
  2. NRA/PRA ของคนไข้ตรวจมาได้เพียง +0.75/-0.75 ซึ่งก็ถือว่าต่ำ แสดงถึงความล้า ของระบบ accommodation ทําให้ accommodation facility ต่ำเมื่อเทียบกับอายุ
     
  3. Esophoria ไกลของคนไข้นั้นยังคงมีอยู่ 1base-out เหมือนเดิม แต่ Hyperphorai ลดลงเหลือ 0.5 BDOD
     
  4. Exophoria Phoria ที่ดูใกล้ของคนไข้นั้นก็พุ่งสูงขึ้นมากผิดปกติ เมื่อเทียบกับอายุ อาจะเป็น sign ของการ weak ของเลนส์ตาอย่างรวดเร็ว
     
  5. C/D ratio ถือว่าค่อนข้างใหญ่ แต่ IOPc ปกติ และ Ground ของเรตินาทั่วไปดูเหมือนบาง และมี tilt disc คล้ายคนสายตาสั้นมากๆ แต่คนไข้สายตาสั้นไม่ได้มาก ขนาดนั้น ตรวจลานตาด้วย confrontation ก็ดูปกติดี
     

Plans

1. Add ที่พุ่งสูงขึ้นมานี้ ยังไม่ได้ปักใจเชื่อว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ แต่อาจจะเกิดจาก ภาวะบางอย่างในร่างกายที่ยังฟังก์ชั่นผิดปกติ จึงแนะนําให้คนไข้ไปพบจักษุแพทย์ เพื่อประเมินเพิ่มเติม

2-4 F/U
5. Refer Ophthalmologist เพื่อทําการตรวจวินิจฉัยต้อหินต่อไป

 

ผลจากการตรวจสุขภาพตา 

หลังจากให้คนไข้ไปพบจักษุแพทย์เพิ่มเติม ซึ่งแพทย์ได้ทำการตรวจลานสายตาและตรวจความดันตาเพิ่มเติม รวมทั้งทำ OCT ก็พบว่า ขั้วตานั้นใหญ่จริง C/D ratio 0.7/0.7  ส่วนความดันตานั้นยังไม่ได้สูงมาก และลานสายตาจาการทดสอบนั้นเสียไปบางจุด แต่แพทย์ไม่ได้คิดว่าเกิดจากการเสียจริง  แต่น่าจะเกิดจาก error ที่เกิดจากการผิดพลาดจากตรวจมากกว่า คุณหมอเลยยัง Suspect Glaucoma   ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังไปก่อน ให้ผ่านไปอีกสัก 1-2 เดือนค่อยมา monitor ดูลานสายตากันอีกรอบ

 

หลังจากคุณหมอหาเวลาได้ หลังจากหยุดงานไม่ทำงานที่ต้องใช้สายตาดูใกล้มาก ๆ ต่อเนื่องกันประมาณ 3 วัน  ผมก็ได้โทรนัดหมอให้เข้ามาตรวจอีกครั้ง

 

Clinical Finding ล่าสุด 

Refraction 

OD -1.25 -0.75 x 152  VA 20/15+2

OS +2.75 -0.75 x 52   VA 20/15+2

BCC +1.25 

NRA/PRA +1.00/-1.00

Binocular Function  กับมาเป็นค่าเดิม 

 

Assessment 

1. Acommodation Fatigue (tempolary)  เป็นอาการล้อของกำลังเพ่งของเลนส์ภายในลูกตา แบบชั่วคราว จากการใช้สายตาดูใกล้อย่างหนักและต่อเนื่อง

 

Plan

1.Full Coreectoin 

OD -1.25 -0.75 x 152  

OS +2.75 -0.75 x 52  

2.Ergonomic progressive lens 

อีกปัญหาหนึ่งของคนไข้คือ ขณะนี้ใส่แว่นโปรเกรสซีฟเดิมที่ทำไปเมื่อปีที่แล้ว (Multigressiv MyLife PRO410 ,type Expert.) ยังชัดเจนปกติ ปัญหาปวดหัวหายไปแล้ว  แต่คนไข้ยังรู้สึกว่า progressive lens อย่างไรก็ตามยังคงต้องเงยหน้าเล็กน้อยเพื่อให้มอง PC ที่อยู่ตรงหน้า ทำให้เวลากรอกข้อมูลบนคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานนั้นรู้สึกว่าเมื่อยต้นคอ  ผมจึงแนะนำให้ใช้เลนส์ Ergonomic หรือเลนส์ office แทนเลนส์โปรเกรสซีฟเมื่อต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน  ซึ่งผมแนะนำให้ใช้  Progressiv Erogo PC  ก็เป็นอันจบปัญหาไป 

 

Case Analysis 

1.Blue Control หรือ Blue Block นั้น เป็น Option สำหรับคนที่รู้สึกไม่สบายใจเกี่ยวกับแสงสีน้ำเงินจากหน้าจอเท่านั้น  เพราะจากรายงานการแพทย์ปัจจุบันของผลกระทบแสงสีน้ำเงินต่อดวงตามนุษย์จริงนั้นยังไม่มี   ดังนั้น ถ้าท่านรู้สึกเหนื่อยล้า ปวดเบ้าตา แพ้แสง เมื่อยตา ปวดศีรษะเวลาดูหน้าจอหรือมือถือ  สาเหตุมากกว่า 99 % นั้นเกิดจาก ท่านมีปัญหาสายตาที่ยังไม่ได้แก้ไขอยู่  หรือแว่นที่ท่านใส่อยู่นั้นไม่ตรงกับค่าสายตาจริง หรือเซนเตอร์หรือมุมแว่นของท่านไม่ถูกต้อง หรือคุณภาพของเลนส์ที่ท่านใช้อยู่นั้นไม่รองรับปัญหาสายตาของท่าน  หรือไม่ก็ใช้งานต่อเนื่องยาวนานเกินไปซื้อถ้าจะใช้นานมากๆขนาดนั้น อ่านหนังสือไม่มีแสงสีน้ำเงินก็ปวดหัวอยู่ดี  

 

ส่วนที่จะมีสาเหตุมาจากแสงสีน้ำเงินนั้นน้อยกว่า 0.01%  และถ้าจะกลัวว่า จอประสาทตาจะเสื่อมจากแสงสีนำ้เงิน ก็ให้ทำใจได้ ถ้าท่านจอประสาทตาเสื่อมจากแสงสีนำเงิน ท่านจะเป็นผู้ที่โชคร้ายที่สุดในโลก เพราะปัจจุบันยังไม่มีรายงานทางการแพทย์เรื่องนี้  ส่วนท่านที่เป็นจอประสาทตาเสื่อมปัจจุบันนี้ ล้วนแต่ไม่ได้เป็นผู้ที่อยู่หน้าจอหรือดูหมือถือทั้งวัน แต่กลับเป็นผู้สูงอายุที่เกิดก่อนดิจิทัลจะเกิดเกือบทั้งสิ้น ซึ่งสาเหตุแพทย์ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่า บุหรี่นั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญ แต่ยังไม่มีการระบุว่า แสงสีน้ำเงินเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญ

 

Blue is not  Evil  , ผมไม่เคยทำร้ายใคร https://www.loftoptometry.com/whatnew/BlueBlock

ดังนั้น จากข้อนี้สรุปได้ว่า  เลนส์กรองแสงนำ้เงินนั้น เพื่อรักษาอาการทางใจ ให้คลายกังวลได้เท่านั้น  และอย่าไปโฆษณาว่ามันจะทำให้ท่านไม่เมื่อยตา ไม่ล้าตา ไม่ปวดศีรษะ หากค่าสายตาที่ตรวจอยู่ก็ยังทำกันไม่ค่อยจะถูก  แล้วจะคิดว่าเลนส์กันบลูจะช่วยกลบเกลื่อนค่าสายตาที่ uncorrected ก็คงจะไม่มีเรื่องนั้น  แต่ถ้าการห้อยพระทำให้ท่านรู้สึกสบายใจขึ้น มั่นใจขึ้น ก็คงไม่ได้ผิดอะไร  เช่นเดียวกัน ถ้าการใส่ blue block ทำให้ท่านรู้สึกสบายใจขึ้น ก็คงไม่ผิดเช่นกัน  ดังนั้น ผู้ขายขายได้ถ้าอยากขาย  ส่วนผู้ซื้อก็ซื้อได้ถ้าสบายใจ  แต่อย่าไปคาดหวังมันจนเกิดเหตุว่ามันจะช่วยอะไรได้มากกว่าความสบายใจ ถ้าสายตายังแก้กันไม่ค่อยจะถูกต้อง  เพราะเท่าที่สังเกตมา คนไทยจำนวนมาก เราแยกระหว่างคำจริงกับคำโฆษณาไม่ค่อยออก 

 

2.Acommodation Problem 

ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบการเพ่งของเลนส์ตานั้นมีอยู่หลายอย่างซึ่งมีอาการแสดงแตกต่างกัน  เช่น

 Accommodative Insufficiency คือกำลังเพ่งของเลนส์แก้วตาไม่พอต่อระยะที่ต้องการจะดู  ตัวอย่างเช่น สายตาคนแก่ ที่ดูใกล้ไม่เห็นนั้นเป็น Accom insuf. จากการเสื่อมตามอายุที่เห็นได้ชัด  แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในเด็กได้ด้วยเช่นกัน  

 

ill-sustain accommodation  คือคนไข้ที่ไม่สามารถที่จะเพ่งดูใกล้เพื่อดูหรืออ่านต่อเนื่องได้  ซึ่งอาจจะเกิดจากกำลังเพ่งที่ลดลง อาจจะด้วยวัย หรือด้วยปัญหาสุขภาพบางอย่าง หรือแม้แต่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อตา 

 

Accommodative Infacility  คือคนไข้มีความยืดหยุ่นของการโฟกัสไม่ดี ทำให้มีปัญหาในการเปลี่ยนระยะการมองเช่น ใช้เวลาในการโฟกัสนานเมื่อเปลี่ยนระยะการมองจากไกลมาดูใกล้ หรือจากใกล้ไปดูไกล 

 

Accommodation Fatigue  คือคนไข้ที่กำลังเพ่งเกิดอาการล้า จากการใช้งานหนักต่อเนื่องเป็นเวลานาน  

 

Accommodative Spasm คือคนไข้ที่มีปัญหาเลนส์ตาเกร็งค้าง  ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อควบคุมเลนส์ตานั้นล๊อกตัวแล้วไม่ยอมคลาย ซึ่งอาจเป็นสาเหตุ ให้เกิดสายตาสั้นเทียมขึ้นมา โดยเฉพาะกับเด็กๆ ที่มีกำลังเพ่งสูงๆ  และชอบดูใกล้ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ 

 

3.ความพร้อมเป็นสิ่งจำเป็น

ประเด็นของเคสนี้ที่สำคัญก็คงจะเป็น "ความพร้อม" ทั้งห้องตรวจ ทั้งผู้ตรวจ และ คนไข้ ที่ต้องพร้อมทั้ง ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ ในการเข้ารับการตรวจสายตาในคลินิกทัศนมาตร  ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกันเสียใหม่ของการบริการด้านสายตาในบ้านเรา 

3.1 ความพร้อมของคนไข้ 

เคสนี้เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่า จะเกิดความผิดพลาดอย่างไรถ้าหากตรวจสายตาและฟังก์ชั่นของคนไข้ในภาวะที่ร่างกายนั้นไม่ปกติ  และจะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากว่าเคสนี้เป็นเคสใหม่ที่ไม่เคยมีประวัติไว้อ้างอิง  ซึ่งผมเชื่อว่า ผู้ตรวจที่เข้าใจไม่มีทางที่จะจ่ายเลนส์ในวันที่ภาวะร่างกายไม่พร้อมอย่างนี้  ส่วนผู้ที่ไม่เข้าใจ หรือ ไม่รู้ ก็คงเรียบร้อยไปเรียบแล้วก็ค่อยตามแก้เอา จริงๆก็เรื่องเดียวกันถ้าต้องกลับมาแก้ไข  

 

3.2  ความพร้อมของผู้ตรวจ 

การตรวจ comprehensive eye exam  ในทางคลินิกทัศนมาตร หรือที่จะเรียกว่า Routine Eye Exam นั้น เป็นการตรวจสกรีนดูดวงตาและระบบการมองเห็นทั้งหมด ตั้งแต่ความผิดปกติของระบบการหักเหแสง (refractive examination)  ระบบกล้ามเนื้อตาและการทำงานร่วมกันของสองตา (extra ocular muscle / binocular vision) และสุขภาพตา ซึ่งก็ต้องดูกันตั้งแต่ขนตา เปลือกตา น้ำตา กระจกตา เลนส์ตา วุ้นตา จอประสาทตา และการตอบสนองของระบบประสาทอัตโนมัติที่ทำงานเกี่ยวกับตา   

 

 

ดังนั้นการตรวจทางทัศนมาตร จึงไม่ใช่เรื่องการมาแข่งขันกันในเรื่อง volum ของการตรวจ แต่เป็นเรื่องการใส่ใจใน Quality ขอบการตรวจ  ไม่ใช่เรื่องของการตรวจให้เร็วเพียง 5 นาทีแล้ว ขายแว่นรอรับได้ใน 45 นาที อย่างที่คนไทยคุ้นเคย  เพราะ Speed กับ Quality นั้นสวนทางกันเสมอ  ยิ่งขับรถเร็วยิ่งอันตรายและพลาดชมสิ่งต่างๆเรี่ยรายทาง  ยิ่งขับช้ายิ่งปลอดภัยและได้รายละเอียดรอบทางได้ดีกว่า  เฉกเช่นเดียวกัน การเร่งตรวจย่อมนำไปสู่ความผิดพลาดในการตรวจและพลาดการพบความผิดปกติเล็กๆน้อยๆไป  "ช้าๆย่อมได้พร้าหลายเล่มงาม"   

 

กระบวนการตรวจทั้งหมดนี้ เป็นจริยธรรมของทัศนมาตรพึงปฏิบัติให้ครบถ้วน  ดังนั้น ในขั้นตอนการตรวจทางทัศนมาตรนั้น แม้จะตรวจตาม complain ก็คงต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 ชม.​ดังนั้น ทั้งผู้ตรวจและคนไข้จึงต้องมีความพร้อมทั้งทางร่างกาย และ จิตใจ และสำคัญทีสุดก็คงจะเป็น ตั้งใจตรวจของผู้ตรวจ และตั้งใจที่จะให้ความร่วมมือในการรับการตรวจ  ผลที่ได้จึงจะเป็นค่าที่ดีที่สุด 

 

3.3 ความพร้อมของห้องตรวจ 

ห้องตรวจทัศนมาตรนั้น เป็นห้องที่ต้องควบคุมความมืดสว่างของไฟในห้องตรวจ  บางเทสต้องการความมืดสนิท เพื่อให้ม่านตาขยาเต็มที่ เพื่อให้ aberration ทั้งหมดได้คายออกมาทั้งหมด  แต่ในบางเทสก็ต้องการความสลัวเพื่อให้รูม่านตาเปิดใหญ่ เพื่อป้องกัน depth of focus จากรูม่านตาใหญ่ที่ไปรบกวนการตรวจ   และในบางเทสก็ต้องใช้ความสว่างปกติ เพื่อให้การตอบสนองของรูม่านตานั้นเหมาะสมกับภาพในชีวิตประจำวัน  เพราะความเล็กใหญ่ของรูม่านตานั้น ส่งผลต่อค่าความคลาดเคลื่อนของสายตาโดยตรง  

 

ดังนั้นความสำคัญจึงต้องเริ่มตั้งแต่ห้องตรวจมาตรฐาน 6 เมตร  มีขอบเขตชัดเจน สะอาด ปลอดภัย และคุมความมืดสว่างของไฟได้  และถ้าพื้นฐานเหล่านี้ยังไม่ได้ ก็คงไม่ต้องไปพูดถึงมาตรฐานของการตรวจต่อ  ในเมื่อการตรวจไม่ได้อยู่ใน standard reference ค่าที่ได้ก็คงจะไม่สามารถนำไป reference ได้เช่นกัน  

 

ทิ้งท้าย

สิ่งที่อยากจะบอกทุกท่านก็คือ ถ้าท่านเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับการมองเห็นของตัวเองจริง รักสุขภาพของตนเองจริง และอยากให้การแก้ไขป้ญหาของตนเองนั้นถูกต้องที่สุดจริง  ท่านต้องให้ความสำคัญในการตรวจสายตากับทัศนมาตร  ให้เวลา ให้ความสำคัญ  ทั้งในการพักผ่อนเพียงพอ ไม่เข้ามาตรวจขณะที่ร่างกายไม่พร้อมหรือล้ามากๆ  ซึ่งเวลาที่เหมาะสมที่สุดคือช่วงเช้าหลังจากที่ร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่นอนดึก  

 

เวลาที่ไม่เหมาะสมคือ หลังจากหักโหมใช้สายตามาอย่างหนักอย่างต่อเนื่องแล้วเข้ามาตรวจสายตา  เวลาหลังบ่าย 3 โมงเย็น หรือหลังเลิกงานนั้น ต้องมั่นใจว่า ในวันนั้นท่านไม่ได้หักโหมใช้สายตาหนักมา และสิ่งที่ไม่ควรที่สุดคือมาตรวจสายตาหลังเลิกงาน  เนื่องจากจะทำให้ค่าที่ได้จากการตรวจนั้น เกิดความคลาดเคลื่อนจนถึงอาจสร้างปัญหาชีวิตให้ท่านได้  ทั้งเสียเงิน เสียเวลามาแก้ไข เสียความรู้สึก และเสียคุณภาพชีวิต  เพราะว่าเลนส์สายตานั้น ไม่ว่าสายตาที่อยู่บนแว่นที่เราใส่อยู่นั้นจะเป็นค่าที่ถูกหรือผิด  ใส่ได้หรือใส่ไม่ได้  ใส่ได้เต็มประสิทธิภาพหรือไม่เต็มประสิทธิภาพ แต่ราคาเลนส์ย่อมเท่ากัน เพราะผู้ผลิตเลนส์ทำโครงสร้างที่ดีที่สุดให้ท่านได้อยู่แล้ว แต่สิ่งที่ผู้ผลิตไม่มีทางทราบได้เลยก็คือ ค่าสายตาที่สั่งให้ทำนั้นถูกต้องมากน้อยแค่ไหน  ก็อยากจะฝากไว้ให้เข้าใจ

 

ขอบคุณทุกท่านสำหรับการติดตาม

 

ดร.ลอฟท์

 

578 Wacharapol Rd, Bangken ,BKK ,10220

Google Maps: https://goo.gl/maps/PQpXxquxYiS2

fb : www.facebook.com/loftoptometry

line id : loftoptometry

090 553 6554

 

 

 

 

toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel situs toto toto togel toto togel toto togel toto togel situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto