Case Study 13 : ​การเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นในเด็ก (Myopia progression)


__________________________________________________________________________________

Case Study 13 : ​การเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นในเด็ก (Myopia progression)

เขียนและเรียบเรียง : ทัศนมาตร สมยศ เพ็งทวี O.D.

26 February BE 2562


นำเรื่อง 

case study 13 ที่นำมาเล่าให้ฟังกันในวันนี้ เป็นเคสที่น่าสนใจเกี่ยวกับการติดตามการเพ่ิมขึ้นของสายตาสั้นในเด็กคนหนึ่งซึ่งผมได้มีโอกาสได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ปี และอยากจะนำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ และจากเคสนี้ทำให้ผมต้องไปหาข้อมูลงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงของสายตาในแต่ละวัย ซึ่งผมได้เขียนไปแล้วในบทความตามลิ้งที่แนบมาซึ่งเป็นตอนที่ 1 ซึ่งท่านที่สนใจก็กดคลิ๊กลิ้งเข้าไปอ่านได้นะครับ 

อาการหลักที่มาตรวจสายตา 

เมื่อต้นปี 62 ที่ผ่านมา คนไข้ เด็กหญิง อายุ 14 ปี มาด้วยอาการแว่นเดิมเริ่มไม่ค่อยชัด คุณแม่พามาทำแว่นสำรอง 

เท้าความถึงความเป็นมาของเคสนี้  

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2560  คุณแม่พาลูกสาว วัย 12 ปี มาตรวจสายตา เพราะทางโรงเรียนสังเกตเห็นเด็กต้องหยีตาเวลามองกระดานดำ จึงบอกผู้ปกครองให้พาเด็กไปตรวจสายตาดูว่า เด็กมีสายตาสั้นหรือเปล่า 
 

เนื่องจากเด็กไม่เคยใส่แว่นมาก่อน คนในบ้านก็ไม่มีใครมีความผิดปกติของสายตาสั้นจึงไม่ได้คิดสงสัยว่าเด็กจะสายตาสั้น พอได้ทราบเรื่องจากทางโรงเรียน ก็พาไปตรวจสายตา แต่เนื่องจากอยู่ต่างจังหวัด ไม่่ค่อยมีร้านให้เลือกมากนัก แวะตรวจสายตามา 4 ร้าน ในวันเดียวกัน ใช้ระบบวัดสายตาด้วยคอมพิวเตอร์เหมือนกันแต่ละที่ได้ค่าสายตามาไม่เหมือนกัน  ทำให้คุณแม่ยิ่งกังวลไปกันใหญ่ เพราะนอกจะเป็นแว่นครั้งแรกของลูกแล้ว แต่ละที่ก็บอกค่าสายตาไม่เหมือนกัน  จึงเริ่มหาข้อมูลและตัดสินใจพาลูกสาวขึ้นมากรุงเทพ 
 

ตรวจสายตาครั้งแรก ( 23.06.2559)

ประวัติเกี่ยวกับสายตา (POHx)

  • เด็กสุขภาพแข็งแรง  ชอบวาดรูป ออกกำลังกาย ชอบว่ายน้ำ ร่าเริงแจ่มใสตามวัย ไม่มีโรคประจำตัวหรือความผิดปกติใดๆ 
  • ไม่เคยตรวจสุขภาพตาหรือตรวจสายตามาก่อน 
  • ไม่เคยใส่แว่นหรือใส่คอนแทคเลนส์มาก่อน 
  • ไม่่มีพันธุกรรมที่มีความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับดวงตาหรือสายตา 

Preliminary Eye Exam 

Cover Test : XP ,Ortho’

Retioscope 

OD -4.00 -0.50 x180   VA 20/20
OS -4.25 -0.50 x 180   VA 20/20

Subjective Refraction

OD -4.25 -0.75 x175  VA 20/20
OS -4.50 -0.37 x 10   VA 20/20

BVA

OD -4.00 - 0.50  x 175 VA 20/20
OS -4.25 - 0.37 x 10    VA 20/20

Assessment  (ครั้งที่ 1)
Compound myopic astigmatism 

Plan 

Full Correction : single vision lens (Rodenstock Perfalit 1.6)
OD -4.00 - 0.50  x 175 VA 20/20
OS -4.25 - 0.37 x 10    VA 20/20


ตรวจครั้งที่สอง 4/1/2560 (ถัดมา 6 เดือน)

Retinoscopy 

OD -4.25 -0.75 x180
OS -4.75 -0.75 x 180

Subjective Refraction 

OD -4.50 -0.75 x170
OS -4.75 -0.50 x 10

BVA

OD -4.25 -0.62 x 170
OS -4.75-0.37 x 5

Plan : Full Correction with Single vision lens

OD -4.25 -0.62 x 170
OS -4.75 -0.37 x 5

Discussion 
ผ่านไป 6 เดือน สายตาสั้นเพ่ิ่มขึ้น -0.25 สำหรับตาขวา และซ้ายเพ่ิมขึ้น -0.50D ส่วน Cylinder นั้นเกือบคงที่ มีเพียงองศาเอียงที่ขยับเล็กน้อย คิดว่าเกิดจากเด็กเริ่มเข้าใจการตรวจ ไม่ตื่นเต้นกับห้องตรวจ ทำให้การลงในรายละเอียดสเกลทำได้ละเอียดขึ้น



ตรวจครั้งที่สาม 30.12.2560 (ผ่านไป 1 ปี จากครั้งที่สอง)

Subjective Refraction

OD -4.75 -0.87 x 175 VA 20/20
OS -5.50 -0.50 x 10   VA 20/20

BVA (on phoropter )

OD -4.75 -0.87 x 170  VA 20/20
OS -5.00 -0.50 x 10    VA 20/20

BVA (trial frame )

OD  -4.75 - 0.62 x 175  VA 20/20
OS  -5.00 - 0.50 x 10    VA 20/20

Discussion 
หลังจากผ่านไป 1 ปี จากครั้งที่สองพบว่าสายตาสั้นเพ่ิมขึ้น -0.50D สำหรับตาขวาและ -0.25D สำหรับตาซ้าย  ส่วนสายตาเอียงนั้นถือว่าเกือบคงที่ มีขยับขึ้นเพียงเล็กน้อย  และถ้าดูจากการเพ่ิมขึ้นจากครั้งแรก ซึ่งคิดเป็น 1.5ปี พบว่า สายตาสั้นเพ่ิมขึ้น -0.75D ทั้งข้างขวาและซ้าย และสายตาเอียงค่อนข้างคงที่ 


ตรวจครั้งที่สี่ 27 /1/2562 

Subjective Refraction (Monocular)

OD -5.75 -1.25 x 175  VA 20/20
OS -6.25 -1.00 x 10    VA 20/20

Subjective Refraction (Binocular ,BVA on phoropter)

OD -5.50 -1.25 x 175 VA 20/20
OS -6.00 -1.00 x 10   VA 20/20

BVA (Over refraction on trial frame w/ Retinoscope)

OD -5.50 -1.00 x 175  VA 20/20
OS -5.75 -0.75 x 15    VA 20/20

Assessment  

       Compound myopic astigmatism 

Plan 

       Full Correction with single vision lens 

OD -5.50 -1.00 x 175 
OS -5.75 -0.75 x 15   

Discussion 
ผ่านไป 1 ปี (จากครั้งที่สาม) เด็สายตาสั้นเพ่ิมขึ้นอีก 3 step คือ สั้นเพ่ิม -0.75D และสายตาเอียงมีการขยับขึ้น -0.25DC ทั้งสองข้าง  ซึ่งพบว่าการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นในช่วงอายุ 13 -14 ของน้องนั้นขยับค่อนข้างเร็ว  แต่ร่างกายน้องก็โตขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกันเมื่อเทียบกับครั้งแรกที่มี  แต่สายตาเอียงนั้น ตลอด 2.5 ปีที่ผ่านมานั้น ขยับขึ้นทั้งหมดเพียง -0.37DC  จะมีเพียงองศาของสายตาเอียงที่มีการขยับไปมาเล็กน้อย เนื่องจากเป็นการตรวจแบบ subjective  ยิ่งคนไข้เข้าใจการตรวจมากเท่าไหร่ ก็จะสามารถหาค่าที่ลงได้ละเอียดมากขึ้นเท่านั้น 


Case Discussion Summary 

เรื่องที่น่าสนใจสำหรับเคสนี้ก็คือจะเป็นเรื่องของการเพ่ิมขึ้นของสายตาสั้นในเด็กที่ผมมีโอกาสได้ตรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วยตัวเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งพบการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นและสายตาเอียงในอัตราส่วนที่แตกต่างกันไป 
 

โดยภายในระยะเวลา 2 ปี อายุ 12 -14 ปี มีสายตาเพ่ิมขึ้น -1.50D (เฉลี่ย -0.75D/ปี) และมีสายตาเอียงเพ่ิมขึ้น -0.50D (เฉลี่ย -0.25D/ปี)


ซึ่งต้องขอชื่นชมพี่แอน คุณแม่ของน้องเมเบล ที่เอาใจใส่คุณภาพชีวิตของน้องเมเบลมากๆ ไกลแค่ไหน เดินทางลำบากแค่ไหนก็ต้องมาตรวจความเปลี่ยนแปลงของปัญหาสายตาของลูกอยู่เสมอ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของลูก

มีสิ่งถึงที่คุณแม่ของน้องถามมาคือ “อยากจะทำ LESIK” ให้ลูก ทำได้ไหม ? โดยวัย 14 ปีนี้ แพทย์คงไม่ทำให้ด้วยประการทั้งปวง เพราะเหตุว่า ร่างกายของเด็กนั้นอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงทางสรีระร่างกาย และอัตราการเปลี่ยนแปลงในช่วงนี้ถือว่าสูงสุด แน่นนอว่า ดวงตาก็เป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกายที่ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยเช่นกัน อวัยวะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสายตาในวัยที่กำลังเจริญเติบโต มีอยู่ 3 จุด คือ ความโค้งของกระจกตาเปลี่ยน  ความโค้งของเลนส์ตาเปลี่ยน และระยะความยาวของกระบอกตาเปลี่ยน  ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้ส่งผลมากต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าสายตา 


ดังนั้นในช่วงที่ร่างกายเปลี่ยนแปลงเร็วสุดในช่วงนี้ คงไม่เสี่ยงที่จะทำ Lesik เพราะทำไปแล้ว อาจจะช่วยให้มองไกลชัดไปไม่กี่เดือน แล้วสายตาก็กลับมาสั้นต่อ และปัญหาที่มากไปกว่านั้นก็คือ กระจกตาที่เราใช้เลเซอร์เจียนัยออกไปนั้นไม่สามารถงอกใหม่ได้ บางแล้วบางเลย ทำซ้ำไม่ได้  สรุปก็คือ เลสิก ทำได้หนเดียว  ทำรอบสองไม่ได้  ดังนั้นระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุดก็คือค่าสายตาของเด็กนิ่งแล้ว นั่นก็คือวัยที่ร่างกายนั้นเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ประมาณ 20-22 ปี  และเป็นเวลาที่เหมาะสมกับการทำเลสิกมากที่สุด 


ดังนั้นเนื้อหาในวันนี้ จะเขียนควบเกี่ยวกับงานวิจัยที่ทำมาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของค่าสายตาในแต่ละวัย ซึ่งผมตัดมาเฉพาะการเปลี่ยนแปลงในเด็กแรกเกิด ไปจนถึงวัยเรียน  ซึ่งพยายามคงความดั้งเดิมของงานวิจัยไว้ จะได้สามารถนำไปอ้างอิงและประเมินความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนแปลงค่าสายตาของบุตรหลานของท่าน 


จริงๆผมยอมไปหาข้อมูลมาเพื่อคุณแม่ของน้องเมเบลครับ เพราะคุณแม่่นั้นกังวลเรื่องการเปลี่ยนแปลงค่าสายตาของน้องมากๆ จึงไปหาข้อมูลที่เชื่อถือได้ เป็นงานวิจัยที่รวมงานวิจัยต่างๆเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงค่าสายตาในแต่ละช่วงอายุ ทำมาเมื่อปี 2015 นี่เอง ซึ่งคิดว่าน่าจะมีประโยชน์พอสมควรกับท่านที่สนใจ 


ท่านที่สนใจอ่านงานแปลงานวิจัย ผมได้เขียนมาให้แล้ว ในลิ้งที่แนบมา หวังว่าจะให้คุณแม่ของน้องมีความสบายใจ และมีประโยชน์กับคุณแม่ที่มีลูกเล็กและสายตาสั้นว่าลูกจะมีแนวโน้มที่สายตาจะเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร 


ท่านที่สนใจไปอ่านต่อในลิ้งด้านที่แนบมานี้ http://www.loftoptometry.com/Myopia-progressiion-relaitve-to-age


ท่านไหนที่มีบุตรหลานที่มีปัญหาสายตาอยู่แล้ว หรือ สงสัยว่าจะมี หรืออยากจะตรวจตาดีๆให้ลูกสักครั้งหนึ่ง เรียนเชิญเข้ามาตรวจวิเคราะห์ปัญหาสายตาและระบบการมองเห็นได้ที่ ลอฟท์ ออพโตเมทรีครับ  สำหรับคนไข้เด็กผมตรวจวิเคราะห์ให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพราะอยากให้เด็กได้มีพัฒนาการด้านการมองเห็น และนำไปสู่การพัฒนาสมองที่ดี เรียนรู้ดู และเติบใหญ่เป็นผู้ใหญ่ที่ดีในภายหน้า 

ขอบคุณสำหรับการติดตาม

ดร.ลอฟท์​

แผนที่

578 ถ.วัชรพล ท่าแร้ง บางเขน กทม.10220
เวลาทำการ
อังคาร - อาทิตย์ เวลา 9:00 - 18:00 น.
โทร 090 553 6554
line : loftoptometry  

toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel situs toto toto togel toto togel toto togel toto togel situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto