Case Study 11 : สายตาเปลี่ยนทุกปี ปกติดีหรือเปล่า ????



Case Study 11 : สายตาเปลี่ยนทุกปี ปกติดีหรือเปล่า ??? 

เขียนและเรียบเรียง : ทัศนมาตร สมยศ เพ็งทวี O.D. 

27 December 2561


 

ข้อมูลทั่วไป 

เคสนี้ มาด้วยเรื่อง ต้องเปลี่ยนแว่นโปรเกรสซีฟบ่อยมาก เปลี่ยนทุกปี ต่อเนื่องมา 4 ปี แล้ว และ ปัจจุบันแว่นโปรเกรสซีฟที่พึ่งทำมา 4 เดือนเริ่มอ่านหนังสือไม่เห็นอีกแล้ว  ในทุกครั้ง เหตุที่ต้องเปลี่ยนเลนส์คือวันที่รับแว่นใหม่มองชัดทั้งไกลและใกล้ พอผ่านไป 4-5 เดือนมองไกลยังชัดอยู่แต่จะชัดแบบเกร็งๆตา จนหน้าผากย่น จากนั้นมองใกล้เริ่มกลับมามองไม่เห็นอีกแล้วและเป็นทุกครั้งไป และต้องทำแว่นใหม่อีกแล้ว  

 

ปีนี้คนไข้ท่านนี้ อายุ 44 ปี แว่นโปรเกรสซีฟที่ใส่มานั้นทำมา 4 เดือน มองใกล้เริ่มไม่ชัด จึงต้องการแว่นใหม่ จึงโทรมาปรึกษาอายุการใช้งานโปรเกรสซีฟและได้เล่าปัญหาให้ฟัง พอได้ฟังผมบอกว่าอายุเลนส์โปรเกรสซีฟนั้นอย่างน้อย 3-4ปี และบางเคสนั้น (อายุมากกว่า 55 ปี) ส่วนใหญ่ใช้ได้มากกว่า 5 ปี หรือจนกว่าเลนส์จะเป็นรอยจนไม่สามารถใช้งานได้ จึงอยากจะมาทำให้ทำเลนส์ให้

 

ซึ่งถ้าเจอเคสลักษณะนี้ หรือบางคนที่ประสบปัญหากับตัวเองอยู่ มีอยู่เรื่องเดียวคือ คนไข้เป็นสายตายาว Hyperope แล้วแก้ปัญหาไม่หมด เพราะว่าสายตายาวทั้งหมดหรือ absolute hyperope นั้นมีทั้งส่วนที่เป็น latent hyperopia (ที่ระบบเพ่งกลืนไว้ไม่ค่ายออกมาให้เราตรวจเจอ) และ manifest hyperopia (ที่ระบบเพ่งคายออกมาทำให้เราตรวจเจอ) ซึ่ง latent hyperope นั้นพบเฉพาะในเด็กและเมื่อโตมาเลนส์ก็คายออกมา  แต่ถ้าทักษะในการตรวจไม่มากพอหรือไม่ระวังในการตรวจก็เค้นออกมายากเช่นกัน และหมดสิทธิ์สำหรับการวัดสายตาด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพราะค่าที่ได้จะ under plus สำหรับสายตายาว และ over minus สำหรับสายตาสั้น และค่อนข้างจะเป็นอย่างนั้นเสมอๆ 

 

อธิบายให้เห็นภาพชัดเจนคือ  มันยากที่จะวัดตอไม้ทั้งหมดที่ยังจมอยู่ในน้ำโดยไม่วิดน้ำให้แห้ง เช่นเดียวกัน มันยากที่จะเค้นสายตายาวออกมาทั้งหมดถ้าไม่สามารถทำให้ระบบเพ่งคลายตัวทั้งหมด  ก็จะเกิดปัญหาตามมาอย่างในเคสนี้ 

 

ปัญหาใหญ่ของการวัดสายตาในประเทศไทยเลยก็ว่าได้และมีคนมีเคสที่เข้ามาที่คลินิกเยอะมากและจำนวนมากเช่นกันที่วัดให้เอาค่าสายตาใหม่ไปเคลมกับร้านที่ทำมา และจากจากเคสที่ทำ คือ วัดสายตายาวกันไม่ออก เช่น "รีดค่าสายตายาวออกมาไม่ได้ หรือ ออกมาได้แค่บางส่วน" ทำให้การใช้งานเลนส์โปรเกรสซีฟนั้นไม่ได้ประสิทธิภาพเต็มที่ 

 

ซึ่งปัญหาลักษณะนี้ถ้าการตรวจสายตา ไม่ได้ใช้ retinoscope ในการตรวจสายตา ก็มีแนวโน้มที่จะถูกคนไข้พาหลงทางได้ง่ายๆ  เพราะสายตายาวนั้น ใส่บวกไปเท่าไหร่ก็ชัด จนกระทั่งบวกนั้นเกินค่าจริงไปจึงจะเริ่มมัว เช่น  คนไข้มี absolute hyperopia ทั้งหมดจริงๆ +2.00 D คนไข้ถ้ายังไม่เป็น presbyopia นั้นอาจจะสามารถชัดตั้งแต่ ตาเปล่าไม่ต้องแก้ตาบวกก็ชัด หรืออาจจะแก้บางส่วนเช่น แค่เพียง  +0.25 +0.50 +1.00... +1.75หรือแม้แต่ full corrected +2.00 คนไข้ก็ยังสามารถมองไกลชัดได้

 

พอเป็นอย่างนี้การวัดสายตาถ้าไม่เข้าใจลึกซึ้งจริง ประเภทว่ายิ่งคอมแล้วลองเลนส์เสียบนั้น บอกได้คำเดียวว่า "พัง" เพราะถ้าจะทำ subjective test จะต้องท่องไว้ในใจเรื่อง MPMVA หรือ Maximum Plus Maximum Visual Acuity  คือต้องหาให้เจอให้ได้ ส่วน BVA ก็ควรจะ +/- อยู่ในนี้ไม่เกิน 1 สเตป แต่ส่วนใหญ่ ก็มักจะ play safe ไว้ก่อนคือจ่าย under plus  โดยปล่อยสายตาที่เหลือให้คนไข้เพ่งเอาไว้ จริงอยู่ว่าช่วยให้ชัดได้ในช่วงแรก แต่ปัญหาเพียงแค่ถูกยกจากที่หนึ่งไปไว้อีกที่หนึ่ง  ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเค้นสายตาบวกออกมาได้ทั้งหมด 

 

เอาหล่ะ มาดูเคสนี้กันเลยดีกว่า  ขออนุญาต พี่ใหม่ "พรเทพ โช๊คอัพ" อุดมสุข ในการเขียนเป็นวิทยาทานในครั้งนี้ด้วยครับ 

 

อาการหลักที่มาตรวจสายตา 

พี่ใหม่ คนไข้ชายอายุ 44 ปี เดิมตอนเป็นเด็กเป็นคนที่มองไกลชัดเจน ใกล้ก็ชัด ไม่ได้เคยรู้สึกว่ามีปัญหาอะไรเกี่ยวกับดวงตาของตัวเอง  แต่เมื่อใน 2-3 ปีหลังมานี้ มองไกลเริ่มไม่ชัด ต้องเพ่ง ถึงจะชัด และดูใกล้ยิ่งมัวลงอย่างเห็นได้ชัด  ซึ่งคนไข้ก็เข้าใจได้ว่าด้วยอายุที่มากขึ้นทำให้มองใกล้ไม่ชัด  แต่สงสัยว่าทำไมมองไกลรู้สึกว่าไม่ชัดเหมือนก่อน เกิดจากอะไร หรือว่ามาเป็นสายตาสั้นตอนแก่ ??

 

ประวัติเกี่ยวกับสายตา 

สุขภาพแข็งแรง สุขภาพตาดีไม่เคยพบจักษุแพทย์หรือตรวจสายตาโดยละเอียดกับทัศนมาตรมาก่อน  

ไม่มีโรคประจำตัว  ตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี ไม่มีเบาหวาน ไม่มีความดัน ไม่มีโรคทางตาหรือร่างกายที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม 

 

ลักษณะการใช้สายตาในชีวิตประจำวัน 

ใช้สายตาในการดูตัวเลข เขียนตัวเลข อ่านไลน์​ วันละ 2-3 ชม.​ 

 

Preliminary Eye Exam 

PD 34/34 

สายตาแว่นเดิมที่ใส่อยู่

OD +1.50  , Add +0.75

OS +1.50   ,Add +0.75

VAcc OD 20/20 ,OS 20/20 (@ 6 m)  ,(ใส่แว่น)

VAsc OD 20/70 , OS 20/100  (@ 6 m) ,(ตาเปล่า)

Version (EOM)  : SAFE ,no pain ,no constriction 

Cover Test : Ortho 

 

Check Point ; 
สิ่งที่น่าสนใจขณะทำ preliminary test นั้นพบความผิดปกติที่น่าสนใจคือ VA มองไกลคนไข้ไม่ดี  มองไกลมัวเหมือนเป็นคนสายตาสั้น คำถามคือเป็นไปได้แค่ไหนที่คนเราจะมาสายตาสั้นตอนแก่  คำตอบคือ "ส่วนใหญ่...ไม่มี"  แล้วมัวเพราะอะไร   คำตอบคือ "เกือบร้อยเปอร์เซนต์...มองไกลมัวตอนแก่เกิดจากสายตายาว"  คำถามต่อไปคือ "ไหนใครๆเขาพูดๆกันว่า  สายตายาวคือมองไกลชัด อ่านหนังสือไม่ชัด"   คำตอบคือ "คนที่พูดมันมั่ว เพราะเด็กเกือบทุกคนเกิดมาเป็นสายตายาว และเด็กทุกคนมองไกลชัด และอ่านหนังสือก็ชัด"  
- คนสายตาปกติที่อายุเกิน 40ปี มองไกลชัด/อ่านหนังสือไม่ชัด  
- คนสายตาสั้นเป็นเด็กใส่แว่นมองไกลชัด/อ่านหนังสือชัด  
- คนแก่สายตาสั้นใส่เลนส์ระยะเดียวมองไกลชัด/อ่านหนังสือต้องถอดแว่น  
- คนสายตายาวเด็กไกลชัด/ใกล้ชัด  
- คนสายตายาวตอนแก่ มองไกลอาจชัดหรือไม่ชัดก็ได้  ดูใกล้ไม่ชัดแน่นอน 
ดังนั้นการจะเข้าใจปัญหาสายตา จะต้องยกเอาระบบ Accommodation ออกไปก่อน แล้วค่อยทำความเข้าใจ  ถ้าเรายังปนๆกันอยู่  นิยามเพี้ยนๆ เช่น สายตาสั้นมองไกลไม่ชัด อ่านหนังสือชัด   คนสายตายาวมองไกล/ชัดอ่านหนังสือไม่ชัด แล้วเคสนี้จะอธิบายอย่างไร  ดังนั้นต้องกลับไปอ่านทำความเข้าใจกับนิยามของสายตายาว 

ลิ้งที่ผมได้เขียนเกี่ยวข้องกับสายตายาว http://www.loftoptometry.com/Eyecare/Hyperopia

ศึกษาเพ่ิมเติมเกี่ยวกับการ Accommodation ได้ที่ลิ้ง http://www.loftoptometry.com/lecture/Ocular-Anatomy-and-physiology


กลับมาดูเคสนี้ต่อ 

การตรวจสายตา 

Retinoscope 

OD +2.00 -0.50 x 10   ,VA 20/20 @ 6 m

OS +2.50 -0.25 x 100  ,VA 20/20 @ 6 m

 

Monocular VA (on phoropter)

OD +2.00 -0.62 x 20  ,VA 20/15 @ 6 m

OS +2.50 -0.25 x 110  ,VA 20/15 @ 6 m

 

BVA (fine tuning on trial frame)

OD +2.12 -0.62 x 20  ,VA 20/15+2 @ 6 m

OS +2.50 -0.25 x 110  ,VA 20/15+2 @ 6 m

Check Point
จากการทำ retinoscope เห็นได้ชัดเจนว่า reflect ที่สะท้อนออกมาจากรูม่านตานั้น เป็นแสง with ชัดเจน ซึ่งเป็นลักษณะของสายตายาว hyperopia ซึ่งสายตายาวนั้นเกิดจากโฟกัสของแสงที่เกิดจากการหักเหของระบบหักเหแสงนั้น ไปโฟกัสหลังจุดรับภาพ ​ซึ่งในทางความเป็นจริง แสงไม่ focus on retina ย่อมเกิดภาพที่ไม่ชัด แต่มนุษย์มี crystallin lens ที่ทำหน้าที่ accommodate ภาพให้ตกบนจุดรับภาพ  คนสายตายาวที่อายุยังน้อยก็เลยยังเห็นภาพชัดและเมื่ออายุมากขึ้น แรงของเลนส์แก้วตาก็จะลดลง จนทำให้ไม่สามารถดึงโฟกัสให้มาตกบนจุดรับภาพได้อีกต่อไป คนไข้จึงเริ่มมองไกลมัว 

1.คนไข้เป็นสายตายาวจริงๆ เค้นออกมาแล้วได้มากถึง +2.12D สำหรับตาขวา และ +2.50 สำหรับตาซ้าย นั่นหมายความว่า ในการมองไกลนั้น เลนส์ตาของคนไข้ต้องออกแรง accommodate ถึง +2.12 / +2.50 เพื่อให้มองไกลชัด ในขณะที่คนสายตาปกติออกแรงเป็น 0 ในการมองไกล และคนไข้เข้าใจถึงสภาวะของการมองเห็นชัดแบบเฉยๆ โดยไม่ต้องรู้สึกถึงความพยายามที่จะมองให้เห็นเหมือนเมื่อก่อน  

2.องศาของสายตาเอียงลักษณะนี้ไม่ค่อยได้เจอ คือสายตาเอียงมีอยู่ 3 แบบคือ with-the-rule astig. / Againt-the-rule และ Oblique astig.  ถ้าตาข้างหนึ่งเป็นชนิดได อีกข้างก็จะเป็นชนิดนั้น   แต่ในเคสนี้ข้างขวาเป็น with-the-rule แต่ข้างซ้ายเป็น againt-the-rule ซึ่งเคสลักษณะผมไม่ค่อยได้พบเท่าไหร่ ตั้งแต่ทำงานมาไม่น่าจะเกิน 5 เคส แต่เจอมันก็ต้องแก้  แต่ถ้าเค้นตาบวกไม่ออก ไม่มีสิทธิ์ที่จะหาเอียงเจอ เพราะเลนส์ตาจะเพ่งกลืนสายตายาวและสายตาเอียงก็จะจมไปอยู่ใน accommodation ด้วย ไม่ง่ายเลยสำหรับการขุดสายตายาว

 

Visual Function (Vergence / Accommodation)

ทดสอบที่ระยะ 6 เมตร

Horz.Phoria : 1 BI , exophoria

BI-reserve : x/6/4

BO-reserve : x/6/4

Vert.phoria : Ortho

Sup-vergence : 3/1 (LE)

Inf-vergence   : 3/1 (LE)

check point : visual function ของคนไข้ทำงานสมบูรณ์ดีทุกอย่าง 


ทดสอบที่ระยะ 40 ซม.

Horz.phoria : 6 BI ,exophoria

BI-reserve : 16/24/12

 

Visual Function : Accommodation and Vergence 

BCC +1.50

NRA/PRA  : +0.75/-0.75 ,base on BCC 

check point 
Function ในการดูใกล้นั้น ก็ยังถือว่าปกติในคนไข้อายุ 44 ปี กับแนวโน้้มของ near exophoria ที่มักจะมากขึ้นตามอายุ แต่ด้วยกำลัง BO-reserve แล้วไม่ใช่ปัญหา  จะมีปัญหาก็คงจะเป็นเรื่องของกำลัง accommodation ของเลนส์ตานั้น weak ไปตามอายุ หรือเรียกว่าสายตาชรา ทำให้ไม่เหลือแรงเพ่งพอให้อ่านหนังสือ 40 ซม.ได้  ซึ่งต้องใช้เลนส์ช่วย Add +1.50D  ซึ่งก็เป็นค่าที่บาลานซ์ดี จากค่า NRA/PRA = +0.75/-0.75  อย่างอื่นก็ไม่น่ามีอะไร สำคัญที่สุดของเคสนี้จึงอยู่ที่การเค้นค่า  hyperopia ให้ออกมาให้มากที่สุดที่ยังคง VA คมชัดเหมือนคนปกติได้  ที่เหลือฟังก์ชั่นจะกลับมาปกติของมันเอง 

เคสนี้ถ้าเราไม่แก้สายตามองไกลเลยจะเป็นอย่างไร 

ถ้าไม่ใส่แว่นคนไข้จะมีอาการตัวหนังสือพร่ามัวมากกว่าคนทั่วไปในวัยเดียวกัน เนื่องจากว่า คนปกติที่สายตา 0.00 นั้น สามารถมองไกลชัดโดยที่เลนส์ตานั้นไม่ต้องเพ่ง ในขณะที่เคสนี้นั้น คนไข้มองไกลชัดได้นั้นเกิดจากเลนส์ตาต้องเพ่ง +2.12 / +2.50D และเมื่อดูใกล้ซึ่งเลนส์แก้วตามี demand ที่ต้องเพ่งเพิ่มอีก +2.50D ทำให้ที่ระยะ 40 ซม.เท่ากันนั้น คนไข้เคสนี้ต้องใช้แรงเพ่งสูงถึง +5.00D เพื่อให้มองใกล้ชัด และแน่นอนเป็นไปไม่ได้ที่เลนส์ตาของคนวัย 44 ปี  ดังนั้นในเคสนี้ คนไข้ถึงมัวทั้งระยะไกลและระยะใกล้ 

 

Assessment 

1.Compound Hyperopic Astigmatism 

2.Presbyopia 

 

Plan

1.Full Correction 

OD +2.12 - 0.62 x 20  

OS +2.50 - 0.25 x 110 

2.Progressive Additional lens prescription 

Rx Addition +1.50


Product 

Lens : Rodenstock Multigressiv MyView PRO410 1.6 w/Solitaire Protect Pro 

Frame : Lindberg Strip 9711 custom spect 

LINDBERG strip titanium
     MODEL: 9711 53/19
     COLOUR: K24/10
     TEMPLES: 135 mm 407 temples colour 10
      Engraved Name: TANAPAT APIDISSAYAPANU

 


รูปแว่นประกอบ

toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel situs toto toto togel toto togel toto togel toto togel situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto