case study 49 : แก้ไข สายตายาวแต่กำเนิด + สายตาคนแก่ +เหล่ซ่อนเร้นลอยสูงต่ำ ด้วยโปรเกรสซีฟ


Case Study 

เรื่อง การแก้ไข สายตายาวมองไกลหลังผ่าตัดต้อกระจก สายตายาวดูใกล้ และตาเหล่ซ่อนเร้นแนวดิ่ง ด้วยโปรเกรสซีฟ

treatment of  Mixed Compound Hyperopic Astigmatism + Presbyopia + Hyperphoria  by progressive lens

By dr.loft

Public 23 พฤษภาคม 2564

 

Case History 

เรื่องราวในวันนี้เป็นเรื่องราวของคุณปู่ วัย 72 ปี ที่ยังดูแข็งแรง เดินเหินคล่องแคล่วและได้ทำการผ่าตัดต้อกระจกมาเรียบร้อยแล้ว เมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งหมอนัดตรวจสุขภาพตาทุกๆครึ่งปี

 

ล่าสุดที่ไปตามหมอนัด หมอก็ไม่ได้บอกว่ามีความผิดปกติทางกายภาพอะไร แต่คนไข้มีปัญหาอย่างหนึ่งคือ แพ้แสงแดดในเวลากลางวันที่มีแดด สู้แสงไม่ได้ ต้องใส่แว่นตาดำตลอดเวลาแม้ในที่ร่มและอีกอาการคือรู้สึกว่าจะมึนๆ ตื้อๆ ไม่สดใส แต่ไม่ถึงกับปวดหัวหรือภาพซ้อน แค่พอรำคาญๆ

 

สุขภาพปัจจุบันนั้นมีประวัติผ่าตัดหัวใจ ด้วยการใส่บอลลูนขยายหลอดเลือด มีความดันเลือดสูง มีเรื่องต่อมลูกหมากโต และแพ้อากาศเวลาอากาศเปลี่ยนจะมีอาการจามอยู่บ้าง ซึ่งปล่อยให้หายเอง

 

ใช้ชีวิตทั่วไป ดูมือถือ อ่านหนังสือ ดูคอมพิวเตอร์ทั่วไป สบายๆ

 

Refraction

Retinoscopy

OD +0.75 -1.57 x 90 VA 20/20

OS +1.25 -1.75 x 90 VA 20/20

 

Monocular subjective

OD +1.00 -1.25 x 85 VA 20/20

OS +0.75 -2.00 x 85 VA 20/20

 

BCVA (on phoropter)

OD +1.00 -1.25 x 85 VA 20/20

OS +0.75 -2.00 x 85 VA 20/20

 

BCVA (fine tuning on trial frame )

OS +1.00 -1.50 x 90 VA 20/15

OS +0.75 -2.00 x 85 VA 20/15

 

Functional : Vergence and Accommodation @ 6 m.

Horz.phoria : 2.5 BI (norm)

Vert.phoria  : 3 BUOS (Right-Hyperphoria) w/ VonGrafe’s technique

                         : 2.5 BUOS (R-hyperphoria) w/ Maddox rod (free space) 

 

Functional : vergence and accommodation @ 40 cm

BCC         : +2.25 D

NRA/PRA : +0.75 D /-0.75 D (rely BCC)

 

Assessment

1.mixed compound hyperopic astigmatism OD and OS

2.Right Hyperphoria

3.Presbyopia

 

Treatment Plan

1.Full Rx

OS +1.00 -1.50 x 90

OS +0.75 -2.00 x 85

2.prism Rx  : 1.25 BDOD /1.25 BUOS

3.Add Rx      : +2.25D

 

treatment product 

Rodenstock Multigressiv MyView 2 CMIQ2 Gray w/ Solitaire protect plus 2 x-clean 

 

Result

“time is Zero for adaptation”  ไม่มีความรู้สึกว่าจะต้องปรับตัวใดๆกับโครงสร้างโปรเกรสซีฟ  โครงสร้างปริซึม และ full correction ของค่าสายตาที่ตรวจได้    

 

Analysis

แพ้แสง

 

อาการแพ้แสง สู้แสงไม่ได้ นั้นมีความสำพันธ์โดยตรงกับปัญหาสายตาเอียง ซึ่งอาการแพ้แสงจริงๆนั้นอาจไม่ใช่การแพ้แสงจ้าโดยตรง แต่เป็นอาการแพ้แสงที่ไม่เป็นระเบียบอันมีเหตุจาก refractive error ที่ยังไม่ได้แก้ไข โดยเฉพาะกับสายตาเอียงและสายตาสั้น เช่นคนไข้ท่านนี้ต้องใส่แว่นตาดำตลอดเวลาแม้ว่าอยู่ในบ้านที่มีแสงเล็กน้อย ก็จะรู้สึก comfort กว่าถ้าใส่แว่นตาดำ ซึ่งดูแล้วผิดธรรมชาติของการแพ้แสงทั่วไป 

 

ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเช่น เวลาเราอ่านหนังสือพิมพ์บางหน้าที่พิมพ์มาไม่ดีแล้วเกิดเป็นตัวหนังสือซ้อนกันนั้น เราจะรู้สึกว่าแสบตา น้ำตาไหล ทนอ่านจบหน้าไม่ได้ และเมื่อเราเร่งแสงให้สว่างขึ้น ตัวหนังสือที่มีเงาซ้อนนั้นก็ถูกเร่งให้เกิดซ้อนที่ชัดเจนขึ้น สมองเราก็ยิ่งรู้สึกต่อต้านและไม่สามารถทนอ่านต่อไปได้  ผมได้เอาตัวอย่างภาพซ้อนที่เกิดจากสายตาเอียงมาให้อ่านดูเป็นตัวอย่าง 

จากรูปตัวอย่างด้านบน จะเห็นชัดเจนว่า เราจะไม่อยากอ่าน แม้ว่าจะอ่านได้ก็ตาม เพราะเรารู้สึกว่าไม่สบายตา แสบตา มึนๆงงในสมอง  ซึ่งคนที่มีปัญหาสายตาเอียงและไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะเห็นทุกอย่างเหมือนตัวอย่างข้างต้น และถ้าเราเร่งความสว่างหน้าจอให้สว่างมากขึ้น เงาเหล่านี้ก็จะชัดมากขึ้น ยิ่งทำให้เราปวดหัวมากขึ้น ทั้งๆที่ก็แค่ภาพซ้อน แต่สมองไม่ชอบคลื่นไฟฟ้าที่ซ้อนเพราะยากต่อการตีความ นำไปสู่อาการพยายามเลี่ยงที่จะอ่าน เลี่ยงที่จะเห็น ด้วยการลด contrast เช่นการใส่แว่นดำแม้ในร่ม เป็นต้น 

 

ดังนั้นอาการที่ว่าแพ้แสงนั้น ส่วนหนึ่งจึงอาจไม่ได้เกิดจากความเข้มข้นของปริมาณแสงที่มากเกินไปเพียงอย่างเดียว แต่เป็นคลื่นไฟฟ้าเคมีที่ถูกส่งจากจอประสาทตาไปยังสมองนั้นไม่เป็นระเบียบอันเป็นผลจาก refractive error ที่ไม่ได้แก้ไข ทำให้สมองต้องทำงานหนักในการตีความ เกิดความรู้สึกไม่ comfort ขึ้นมา ทำให้สมองไม่อยากเห็น แล้วสั่งให้เราไม่สู้แสงหรือหลบแสง

 

ซึ่งอาการข้างต้นนี้ เราจะเห็นได้ว่า หลายๆคนที่รู้สึกว่าตัวเองแพ้แสงแล้วไปซื้อแว่นกันแดดมาใส่ แต่ก็ยัง complain ว่ามีปัญหาแพ้แสง แสบตาอยู่  เพียงแต่รู้สึกว่าสบายกว่าถ้าใส่แว่นกันแดด  และก็มีคนจำนวนมากที่ปัญหาสายตาได้รับการแก้ไขเป็นอย่างดีแล้วไม่เคยรู้สึกว่าตัวเองมีปัญหากับแสงแดด

 

ดังนั้นในการพิจารณาจ่ายเลนส์กันแดดให้คนไข้นั้น ถ้าคนไข้มาด้วยอาการแพ้แสง ควรทำการตรวจหาปัญหาสายตาของคนไข้ดูทุกครั้งว่ามี refractive error อยู่หรือไม่ ถ้ามีก็แก้ไขให้เรียบร้อย และสั่งเลนส์ที่มี prescription พร้อมทำสีตามความประสงค์การใช้งานของคนไข้ หรือ เลือกใช้เป็นเลนส์เปลี่ยนสีตามยูวีในแสงแดดได้เช่นกัน

 

Hyperphoria

ปัญหาตาเหล่ซ่อนเร้นนั้น ถ้าไม่สังเกตและไม่ตรวจเราจะไม่มีทางเจอต้นเหตุของปัญหา เพราะอาการแสดงนั้นไม่ได้ตรงไปตรงมาอย่างปัญหาสายตา แต่เป็นปัญหาในเรื่องประสิทธิภาพในการใช้สายตาต่ำกว่าปกติ ทำให้ไม่สามารถใช้ตาทำงานได้เต็มที่ และหลายครั้งที่คนไข้คุ้นชินอยู่กับปัญหากล้ามเนื้อตาจนคิดว่าปัญหานั้นไม่เกี่ยวข้องกับดวงตา เนื่องจากสิ่งเดียวที่เป็นความผิดปกติของการมองเห็นที่คนไข้สามารถสังเกตุได้เองคือ refractive error ซึ่งคนไข้จะรู้ได้ว่าชัดหรือไม่ชัดเมื่อเทียบกับคนอื่น

 

แต่ในส่วนของระบบการทำงานร่วมกันของตาทั้งสองข้างนั้น เป็นเรื่องของประสิทธิภาพการทำงาน เช่น เห็นภาพซ้อนอาจจะซ้อนตลอดเวลาหรือเป็นๆหาย  ปวดหัว  ปวดตึงๆ มึนๆ เครียดๆ บริเวณดวงตา กลางศีรษะ และท้ายทอย เมารถ บ้านหมุน ไม่สามารถที่จะดูอะไรได้นานๆ ง่วงนอน อ่านหนังสือกระโดดบรรทัด คอเอียง เป็นต้น ซึ่งอาการทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคนไข้มองเห็นชัดเจน คนไข้ก็อาจจะไม่ได้คิดว่าตัวเองมีปัญหาและถ้าไปหาหมอที่ไม่ตรงโรคก็อาจจะได้รับการวินิจฉัยว่าปกติก็เป็นได้

 

ดังนั้น การตรวจ binocular function ทั้งระบบ vergence และ ระบบ accommodation ควรจะถูกตรวจแบบ Routine check เพื่อตรวจหาความผิดปกติที่อาจจะมีซ่อนอยู่ ตัวอย่างเช่น เราอาจจะสังเกตเห็นว่าคนไข้คอเอียง ตรวจแล้วเจอเหล่ซ่อนเร้นชนิดตาลอยสูงต่ำไม่เท่ากัน (hyperphoria) หรือ ตรวจ NFV / PFV แล้วได้ค่าที่ต่ำผิดปกติ หรือ Supra-vergence /Infra-vergence ไม่บาลานซ์ เหล่านี้ก็จะสามารถเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าคนไข้มีปัญหาตาเหล่ซ่อนเร้นในแนวสูงต่ำ

 

ซึ่งเหล่ซ่อนเร้นในแนวสูงต่ำนี้นั้น สามารถแก้ไขง่ายได้ด้วยการสั่งแลปขัดโครงสร้างของปริซึมเข้าไปในเลนส์ด้วย และ เทคโนโลยีเลนส์สมัยนี้นั้นมีความละเอียดซับซ้อนของเทคนิคการขัดที่สูงมากๆ อยู่ที่ว่าเราจะสามารถหาความผิดปกติได้ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ถ้าเราทำถูกต้อง คนไข้ก็จะได้รับประโยชน์จากการรักษาด้วยเลนส์ของเราอย่างเต็มประสิทธิภาพ เท่าที่สังเกตตลอดช่วงเวลาการทำงานมา 7 ปีนั้น ถ้าคนไข้ส่วนใหญ่สามารถปรับตัวกับเลนส์โปรเกรสซีฟคู่ใหม่ตั้งแต่ทันทีที่ใส่หรือช้าหน่อยก็ 2-3 วัน  แต่ส่วนน้อยที่ต้องนานถึง 1 สัปดาห์ กับเลนส์โปรเกรสซีฟเลนส์ที่ได้มาตรฐาน  ดังนั้นถ้าเกิน 10 วัน จึงไม่ใช่เรื่องปกติของเลนส์ในปัจจุบัน น่าจะมีอะไรที่ผิดอยู่ 

 

ทิ้งท้าย 

ในการทำงานโดยทัศนมาตรนั้น สิ่งสูงสุดก็คงจะเป็นในส่วนของเรื่อง neurophysio-optic ว่ากระบวนการในการเห็นมันเริ่มที่อะไร  แสงเดินทางอวัยวะต่างๆในลูกตาตั้งแต่ ชั้นน้ำตา กระจกตา น้ำในช่องลูกตา เลนส์แก้วตา วุ้นในตาแล้ว เกิดการโฟกัสอย่างไรที่จอประสาทตา ณ บริเวณจุดรับภาพ (fovea) และ เซลล์รับภาพมีการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นไฟฟ้าเคมีอย่างไร และส่งไปอย่างไรจากตาแต่ละข้างไปยังสมอง มีการ cross สัญญาณกันอย่างไร มีการปรับแต่งสั้ญญาณไฟฟ้าเคมีอย่างไรและไปยังเนื้อสมองส่วนต่างๆอย่างไร เกิดภาพอย่างไรในสมอง และสมองสั่ง feedback ไปยังก้านสมองซึ่งเป็นระบบประสาทอัตโนมัติเพื่อสั่งงานกล้ามเนื้อตา 6 มัดที่อยู่รอบๆดวงตา เพื่อบังคับทิศทางให้ line of sight ของตาแต่ละข้างไปโฟกัสลงบนจุดคู่สมของเรตินาแต่ละข้าง (retina coresponding point) และอีกส่วนวิ่งไปคุมระบบ accommodation ของเลนส์แก้วตาเพื่อโฟกัสให้ชัด  เพื่อให้เกิดการรวมภาพจากสองตาที่สมบูรณ์ที่เรียกว่า clear single and binocular vision เกิดเป็น 3D depth perception ในที่สุด ทั้งหมดนี้คืองานทัศนมาตร ไม่ใช่งานวัดแว่น 

 

สวัสดีครับ 

~

ดร.ลอฟท์ O.D, 
ทัศนมาตรวิชาชีพ


#Specification

Lens : Rodenstock Multigressiv MyView 1.6 CMIQ 2 Gray  Solitaire Protect Plus 2 + extra clean

Frame : LINDBERG Spirit titanium

model : 2171 55#16 , temple 601 140 ,col. GT/GT/GT

 

 

ปรึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบของการมองเห็น

578 ถ.วัชรพล  ท่าแร้ง บางเขน กทม. 10220  
โทร 090-553-6554  ,lineID : loftoptometry  ,FB: www.facebook.com/loftoptometry 

 

 

 

toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel situs toto toto togel toto togel toto togel toto togel situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto