case study 31 : แก้ปัญหาคนไข้ภาพซ้อนด้วยเเลนส์โปรเกรสซีฟปริซึม


Case Study 31

เรื่อง  เคสแก้ไขปัญหาคนไข้ภาพซ้อนด้วยเเลนส์โปรเกรสซีฟปริซึม

By Dr.LOFT - 17 December 2019

 

บทนำ

เคสที่ยกมาเป็น case study 31 ในวันนี้ เป็นเคสของคนไข้มีอาการเห็นเป็นภาพซ้อนขณะมองพร้อมกันสองตา แต่ไม่ซ้อนเมื่อปิดตามองข้างเดียว มีปัญหาปวดต้นคอบ่อยๆ ต้องทานยาคลายกล้ามเนื้ออยู่เป็นประจำโดยไม่ทราบสาเหตุ มาให้ช่วยหาสาเหตุและแก้ไขปัญหาตามคำแนะนำของคนรู้จัก

 

หลังจากใช้เวลาในค้นหาปัญหาในห้องตรวจเป็นเวลาประมาณ 1 ชม. ก็พบความผิดปกติที่น่าสนใจ

 

ภาพซ้อนที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจาก ระบบการทำงานสองตานั้นไม่สมดุล (binocular dysfunction) นอกจากมีสายตาสั้นมากอยู่แล้ว ยังมีเหล่เข้าแบบซ่อนเร้น หรือ esophoria อยู่ 10 ปริซึม และมีเหล่ในแนว Hyperphoria อีก 3 ปริซึม และด้วยอายุ 48 ปี ก็ทำให้มี presbyopia ด้วย

 

แก้ไขปัญหานั้นต้องอาศัยโครงสร้างโปเกรสซีฟมาช่วยแก้ทั้งในส่วนของปัญหาสายตา ปัญหากล้ามเนื้อตา และปัญหาการเพ่งของเลนส์ตา ไปพร้อมๆกัน ซึ่งโครงสร้างเลนส์ที่นำมาใช้นั้น ใช้โครงสร้างของเลนส์รุ่น Multigressiv MyView 2 1.67 ,XS +DNEye 2 ซึ่งเบื้องต้นก็กังวลใจเล็กน้อย ว่าสายตาขนาดนี้ กับกำลังของปริซึมขนาดนี้ เมื่อใช้กับเลนส์รุ่นกลางๆ อย่าง Multigressiv MyVivew 2 นั้นจะเอาอยู่ไหม

 

แต่ผลการแก้ไขปัญหา นอกจากเรื่องการดัด LINDBERG spirit ตัวก่อน Neils ให้เข้ากับหน้าแล้ว ปัญหาอื่นก็ไม่ได้มีอะไร ไกลชัด ใกล้ชัด ไม่ซ้อน ไม่งง ไม่บ่นเรื่องวูบวาบหรือต้องปรับตัวอะไร ก็ผ่านไปเรียบร้อยดี จึงสั่งทำเพิ่มอีกหนึ่งตัวคือตัวที่นำมาให้ชมในวันนี้ กับ LINDBERG Niels rim titanium +Multigressiv MyView 1.6 XS +DNEye 2

 

History

คนไข้ชาย อายุ 48 ปี เป็นผู้บริหร มาด้วยอาการมองไกลเริ่มไม่ชัด เห็นภาพซ้อนๆ เป็นเงาๆ โดยเฉพาะเมื่อมองพร้อมกันสองตา ปิดตาข้างหนึ่งแล้วมองไม่ค่อยซ้อน  และมีปัญหาปวดบริเวณต้นคอบ่อย ๆ ทานยาคลายกล้ามเนื้อประจำ

 

ประวัติเกี่ยวกับสุขภาพตา

ไม่เคยเกิดโรคหรือความผิดปกติทางตาและไม่เคยมีพบจักษุแพทย์มาก่อน

เริ่มใช้แว่นครั้งแรกตั้งแต่ ประถม 1 แว่นปัจจุบันใช้มา 1ปีครึ่ง มองไกลเริ่มมัว

ไม่ใช้คอนแทคเลนส์

ปวดศีรษะบริเวณต้นคอ ทานยาคลายกล้ามเนื้อ

ไม่มีประวัติอุบัติเหตุ กระเทก หรือติดเชื้อทางตามาก่อน

สุขภาพแข็งแรง

ทำงานคอมพิวเตอร์วันละ 3 ชม. / tablet 3 ชม.

 

Clinical finding

DNEye scan (auto-ref.)

OD -6.75 - 0.13 x 3

OS -6.38 -0.88 x 56

 

Keratometry

OD 42.75@172 ,43.38@82   = corneal astig  -0.63x 172

OS 42.63@21   ,43.43@111 = corneal astig  -0.50x21

 

Retinoscope

OD -6.50 -0.50x85  VA 20/20

OS -6.75 -0.75x70  VA 20/20

 

Mono Subjective

OD -6.25 -0.50x85 VA 20/20

OS -6.00 -0.75 x80 VA 20/20

 

BVA (on phoropter)

OD -6.00 -0.75x85  VA 20/20

OS -6.12 -0.75 x80 VA 20/20

 

BVA (trial on free space)

OD -6.00 -0.75 x63 VA 20/15

OS -6.12 -0.50 x70 VA 20/15

 

Binocular Funciton : Vergecne /Accommodation

Distant 6 m

Horz.phoria      = 10 Base Out ,Esophoria  (w/ VonGrafe’s Technique)

BI-reserve        = -12/-6

Vert.phoria       = 3 BUOS (Righ-Hyperphoria)

Sup.vergence  = 2/-2 (LE)

Inf. Vergence   = 7/4   (LE)

Maddox Rod

   +Horz.phoria.     = 10 Base Out ,esophoria

   +Vert.phorai       = 3.5BDOD ,Righ Hyperphoria

 

Near 40 cm.

BCC            +1.75

NRA/PRA   +0.75/-0.75

 

Assessment

1.compound myopic astigmatism (สั้น+เอียง)

2.Divergence insufficiency

3.Right Hyperphoria

4.Presbyopia

 

Plan

1.Rx

  OD -6.00 -0.75 x63

  OS -6.12 -0.50 x70

 

2.prism Rx

  6 BO (split 3 BOOD/3BOOS)

 

3.prism Rx

  3prism (split 1.5BDOD,1.5BUOS)

 

4.PALs Rx

  Add +1.75

 

Analysis

1.Refractive Error

ในการตรวจสายตาสำหรับเคสนี้นั้น ไม่ได้เป็นเคสที่ตรวจยากเท่าไหร่นัก เป็นสายตาสั้นมากและมีเอียงปนเล็กน้อยเท่านั้นเองและขนาดรูม่านตาของคนไข้ก็กว้างดี อ่านค่าสายตาจากรูม่านตาไม่ยาก  ซึ่งแนวแกนที่มองเห็นนั้นเป็นแนว oblique ได้ชัดเจน ในขณะที่คอมพิวเตอร์ให้ค่ามาในแนว with the rule 

 

แต่ point ที่อยากให้ระวังในคนไข้ที่สายตาสั้นมากๆนั้นคืออยากให้คุมเรื่องระยะห่างระหว่าง phoropter กับคนไข้ให้ดี ให้อยู่ในระยะ 12 มม. เรื่องจากระยะ CVD ในคนไข้ที่สายตาสั้นมากๆนั้น ส่งผลอย่างมากต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของค่าสายตาเมื่อระยะเปลี่ยนไป ยิ่งคนไข้มองห่าง phoropter จะทำให้เกิดการ over minus ให้คนไข้ได้ถ้าไม่ระวัง  เนื่องจากค่ากำลังลบนั้นจะลดลงเมื่ออยู่ห่างตา ทำให้เราเข้าไปผิดว่าคนไข้สายตามากและจ่ายสั้นมากกว่าค่าจริง เป็นผลให้เกิด overminus ตามมา 

 

ในบ้านเรานั้นเก้าอี้ตรวจตาในห้องตรวจยังไม่ค่อยที่จะ concern ในเรื่องระยะ CVD เท่าที่ควร ทำให้ไม่มี supplier  ที่นำเข้าเก้าอี้ตรวจสายตาดีๆมาใช้ในบ้านเรา  ปัจจุบันที่มีส่วนใหญ่ก็ออกแบบที่แขวน phoropter ให้ดูเวอร์วัง แต่ฟังก์ชั่นปรับอะไรไม่ได้  ให้คนไข้นั่งบนเก้าอี้ออฟิต แล้วชะโงกศีรษะเข้าหาเครื่อง  แล้วจะเป็นอย่างไรถ้าคนไข้ต้องชะโงกเป็นชั่วโมงขณะตรวจ  ซึ่งเป็นไปได้ยากที่คนไข้จะมองผ่านเซนเตอร์ตลอดเวลา  จึงเป็นเรื่องยากที่จะได้ค่าออกมาถูกต้องแม่นยำ

 

2.Binocular Function

 

Divergence insufficiency

สำหรับเคสนี้นั้น คนไข้มีปัญหากล้ามเนื้อตาค่อนข้างมากทำให้หลังจากแก้ไขตาขวาให้ดีแล้ว แก้ตาซ้ายให้ดีแล้ว ตาแต่ละข้างนั้นเห็นชัดในระดับ 20/15 ได้แล้ว  แต่พอเปิดตาให้มองพร้อมกัน คนไข้กลับเห็นเป็นภาพชัด 2 ภาพ เป็น diplopia ขึ้นมา

 

ดังนั้นในเคสลักษณะนี้ ก่อนที่จะหาค่า BVA ด้วยการ fog-unfog แบบ binocular  จะต้องแก้ปัญหากล้ามเนื้อตาให้เสร็จเสียก่อน เพื่อให้ตาแต่ละข้างนั้นสามารถรวมเป็นภาพเดียวก่อนจึงค่อยทำการหา BVA เพื่อเป็น Final prescription ต่อไป

 

ซึ่งหาด้วยหลายวิธี  เพื่อทำเป็น backup check นั้นพบว่า คนไข้มีปัญหา Divergence insufficiency ทำให้มองไกลนั้นเกิดตาเหล่เข้าแบบซ่อนเร้น (esophoria) 10 prism diopter  และไม่มี BI-reserve vergence เนื่องจากเริ่มเป็นภาพแยกเป็นสองตั้งแต่ยังไม่ได้ใส่ BI prism กระตุ้น  แต่กลับต้องข้ามไปทำฝั่ง BO ซึ่งคนไข้นั้นเริ่มสามารถรวมภาพได้ที่ 7BO  ไปแยกอีกครั้งที่ 12 BO และ recovery ที่ 6BO เป็นที่มาของ BI-reserve = -12/-6 ดังกล่าว 

 

Hyper-phoria

 

นอกจากนี้ยังมีมุมเหล่ซ่อนเร้นในแนวดิ่ง โดยมีตาขวาเหล่ซ่อนเร้นขึ้นสูงกว่าตาซ้าย 3 pd  ซึ่งเมื่อดูความสมดุลจาก supra/infra vergence ก็ฟ้องค่ามาว่า มีปัญหาอยู่จริง เนื่องจากค่าที่ได้นั้นไม่บาลานซ์กัน 

Sup.vergence  = 2/-2 (LE)

Inf. Vergence   = 7/4   (LE)

 

 

Presbyopia

 

ด้วยอายุแล้ว ก็คงมี presbyopia หรือ คนไทยเรียกว่าสายตายาวในผู้สูงอายุ หรือ สายตาในคนชรา  แต่ขอให้อย่าไปขี้เกียจเรียกชื่อเต็ม เพราะเดียวจะไปสบสนกับสายตายาวที่เกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิด เพราะมันคนละความผิดปกติกันซึ่งด้วยวัย 48 ปี นั้นได้ค่า BCC +1.75 D ก็ makesense กับอายุ  และเมื่อเช็คบาลานซ์แอดดิชั่นด้วย NRA/PRA ก็ออกมาลานซ์ดีอยู่ที่ค่า +0.75/-0.75

 

ดังนั้น finally prescription ในการแก้ไขปัญหาคนไข้ท่านโดยสรุปคือ

OD -6.00-0.75x63 ,add +2.00  ,1.5pd@270  ,3pd@180,

OS -6.12-0.50c70 ,add +2.00  ,1.5pd@90    ,3pd@0,

 

เครื่องมือที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา

Lens.   : Rodenstock Multigressiv MyView XS 1.67 + DNEye Technology +Solitaire Protect Pro 2 premium multi-coating

Frame : LINDBERG  Model : Spirit 2292   Bridge : flat,M,3.5   Temple : basic ,155 ,5.5  Colours : 10,10,10,

 

ทิ้งท้าย

แว่นตาเป็น medical tools สำหรับใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบการมองเห็น แว่นตาไม่ใช่เป็นแค่เพียง accessories แต่เป็นเครื่องมือแพทย์ที่มีเรื่องของ cosmetic เข้าไปร่วมด้วยเท่านั้น ดังนั้น ขอให้ใช้ medical tools ด้วยมีความรู้ความเข้าใจ ก่อนที่จะจ่ายออกไป เพื่อช่วยให้คนไข้นั้นได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้โดยปกติสุข  

 

แว่นตาจึงไม่ใช่ของที่จะมักง่ายกันได้  ในทางตรงข้ามมันควรเป็นความใส่ใจ ตั้งแต่การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเข้ารับบริการตรวจแก้ไขปัญหาสายตา จนเลือก tools ที่จะใช้แก้ไขปัญหาตัวเองอย่างเหมาะสม  ในส่วนผู้ให้บริการก็ต้องเตรียมพร้อมทั้งความรู้ความเข้าใจทั้งกับการทำงานในระดับคลินิก มีเครื่องมือพร้อมและได้มาตรฐาน  รู้และเข้าใจสินค้าเป็นอย่างดี  เพื่อให้แว่นที่เราจ่ายออกไปหรือแว่นที่เราใส่อยู่บนหน้านั้นสามารถทำหน้าที่มันได้เต็มประสิทธิภาพ  ท้ายที่สุดแล้ว วงการแว่นตาก็จะดูดีขึ้น ดูน่าเชื่อถือมากขึ้น เป็นที่พึ่งพาได้จริง และเป็นที่ยอมรับในสังคมในที่สุด  

 

จบไปสำหรับ case study 31 ขอบคุณทุกท่านสำหรับการติดตาม  พบกันใหม่ตอนหน้า

สวัสดีครับ

Dr.Loft ,O.D.

contact

www.facebook.com/loftoptometry 

line id : loftoptometry

mobile : 090 553 6554

 

DNEye Scan 2 

 

toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel situs toto toto togel toto togel toto togel toto togel situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto