case Study of Hyperopia : ตัวอย่างเคสสายตายาว ตอนที่ 5

ตัวอย่างเคสสายตายาว ตอนที่ 5

History
คนไข้ชาย อายุ 38 ปี เป็นนักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ (computer analysis) มาตรวจสายตาตามนัด  คนไข้มองไกลชัด ดูใกล้ชัด เพีงแต่รู้สึกว่า ตาซ้ายรู้สึกว่าไม่ชัดเหมือนตาขวา  อยากได้แว่นตาที่ช่วยให้สามารถมองเห็นความลึกของระยะได้ดีกว่านี้ เนื่องจากคนไข้ชอบเล่นกอล์ฟ  คนไข้เล่าว่าเริ่มใช้แว่นตั้งแต่อายุ 7 ขวบ และเปลี่ยนอยู่หลายครั้ง  แต่ก็ไม่ค่อยชอบใส่เพราะไม่รู้สึกว่าแว่นตาจะช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น และใส่ไม่สบาย รู้สึกคลื่นใส่ จึงไม่ใส่แว่นตั้งแต่นั้นมา  สุขภาพแข็งแรง ไม่โรคประจำตัวหรือยาที่ต้องทานประจำ 

สิ่งที่พบจากการตรวจทางคลินิก (clinical finding)

VA (ตาเปล่า)     6 m.      40 cm

OD                20/20    20/40

OS                20/300   20/800    not improve with pinhole

Cover Test ortho     ortho 

Stereo Test:    -     20 second of arc 

Retinoscopy 

OD +0.50D

OS +6.25-300x30 

Subjective Refraction  

OD +1.00 D             20/20

OS +6.25 -3.00x30   20/200

Assessment 

1.Fucultative Simple Hyperopia OD

2.Compound Hyperopic Astigmatism (With-the -rule) OS

3.Anisometripia : ภาวะสายตาทั้ง 2 ข้าง ต่างกันมากๆ 

note : Anisometropai เป็นภาวะปัญหาสายตาของทั้งสองข้างที่ต่างกันมากๆ  สิ่งที่ต้องระวังคือ กำลังเลนส์จะมีสิ่งที่ตามมาคือ "ค่ากำลังขยาย"หรือ "magnification" เมื่อสายตาสองข้างต่างกันมาก ก็จะให้กำลังขยายที่ไม่เท่ากัน และโลกที่เรามองเห็นนั้นเกิดจากการรวมภาพ 2 ภาพ จากตาข้างซ้ายและข้างขวา ดังนั้นภาพจากตาซ้ายและตาขวาควรเป็นภาพที่คมชัดและและมีขนาด magnify ที่ใกล้เคียงกัน การรวมภาพจึงจะเกิดขึ้นได้โดยง่าย ดังนั้นคนไข้ที่สายตาสองข้างต่างกันมากๆ ภาพจะใหญ่ไม่เท่ากัน การรวมภาพจะลำบาก และถ้ารวมไม่ได้ก็จะเกิดภาพซ้อนขึ้นมา  ผู้ที่ทำการตรวจวัดจึงต้องใช้ศิลปะในการแก้ไขคนไข้ด้วยแว่นตา หรืออาจจะเลี่ยงไปใช้ contact lens ซึ่งสามารถแก้ปัญหาเรื่องกำลังขยายและศูนย์แว่นจะเคลื่อนที่ตามการกลอกของลูกตา

4.Refractive Amblyopia OS : ตาขี้เกียจข้างซ้าย 

note : ตาขี้เกียจ หรือ amblyopia เป็นภาวะความผิดปกติที่เกิดกับการพัฒนาสมองส่วนการรับภาพ (sensory) ในช่วงที่สมองกำลังพัฒนา (แรกเกิด - 8ขวบ) ข้างที่สายตายาวมากๆนั้น สมองส่วนที่รับสัญญาณจากตาข้างซ้ายไม่มีโอกาสได้รับภาพที่คมชัดเลย และเมื่อเลยวัยซึ่งสมองจะปิดไม่พัฒนาต่อ (ประมาณ 8  ขวบ) ก็จะไม่สามารถพัฒนาต่อได้ ซึ่งในเคสนี้จะเห็นว่า  ขณะให้อ่าน VA ด้วยตาเปล่าก็อ่านได้ไม่ดี และแม้จะแก้ด้วยสายตาที่ถูกต้องแล้วก็ยังไม่สามารถทำให้ชัดเท่ากับคนปกติอยู่ดีเนื่องจากปัญหาตอนนี้ไม่ใช่ปัญหาของค่าสายตา แต่เป็นปัญาหาของสมองที่ไม่สามารถรองรับภาพที่มีความละเอียดเท่ากับตาปกติ  ในขณะที่ตาข้างขวาแม้จะมีสายตายาวอยู่ แต่ยาวไม่มากนัก เลนส์ตาสามารถเพ่งให้คมชัดได้ เมื่อแก้ด้วยเลนส์จึงสามารถเห็นได้เท่ากับคนปกติ 

ซึ่งข้อเสียที่สำคัญของคนี่มีปัญหาตาขี้เกียจคือไม่สามารถมองเห็นภาพ 3 มิติได้ ดูหนังสามมิติไม่ได้  มองไม่เห็นความลึกที่แท้จริง (real depth perception) และความคมชัดโดยรวมลดลง  ระบบการเพ่งของเลนส์ตาทำงานโดยไม่มีตัวช่วยจากตาอีกข้าง เป็นต้น  ซึ่งโดยทั่วไป คนไข้เด็กจะไม่ทันได้สังเกตุว่าตัวเองมีปัญหาตาขี้เกียจ เพราะไม่เลยลองหลับตาอีกข้างดู และถ้าผู้ปกครองปล่อยปละเลยจนเลยเวลา ก็จะทำให้เป็นตาขี้เกียจตลอดไป  ดังนั้นผู้ปกครองที่มีเด็กเล็กควรพาไปให้นักทัศนมาตร์หรือจักษุแพทย์ตรวจสายตาเป็นประจำ อย่างน้อยทุกๆ 2 ปี

Threatent Plan

1.Rx     OD +1.00 D

           OS  +1.00D (จ่ายเพื่อให้ balance เพราะการ full corrected ไม่ได้ช่วยอะไรในเคสนี้เพราะเป็นตาขี้เกียจไปแล้ว)

2.lens : Single Vision Safty lens 

3.Education  : แนะนำให้คนไข้ใส่แว่นตลอดเวลา เพื่อรักษาตาข้างที่ดีอยู่ และป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุรอบๆตัว เนื่องจากไม่มีโอกาสผิดพลาดแล้ว เพราะเหลือตาข้างที่ดีเพียงข้างเดียวแล้ว 

Discussion

ในเคสลักษณะนี้นั้น Funcitonal ถึงตรวจไปก็คงไม่ได้ค่าอะไรที่นำไปใช้งานได้ เนื่องจากตาข้างซ้ายของคนไข้นั้น  VA ได้ดีที่สุด เพียง 20/200  และไม่ดีขึ้นเมื่อให้มองผ่านรูเข็ม (pinhole)  

และการจะไป Corrected ตาข้างซ้ายด้วย Full Corection ก็คงไม่ได้ช่วยอะไรเช่นกัน เพราะกรมองเห็นไม่ดีขึ้น  ถ้าจะว่ากันไปแล้ว ถ้าคนไข้ยอมใส่แว่นตั้งแต่วัยเด็ก คงจะไม่ทำให้เกิดเป็นตาขี้เกียจ และคงจะสามารถช่วยให้คนไข้เห็นได้ดีว่านี้ 

แต่อย่างไรก็ตาม ชีวิตก็ต้องเดินต่อไป  ดังนั้นตาข้างขวานั้นจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลให้ดี  ด้วยการใส่แว่นตลอดเวลาเพื่อเป็น safty lens ป้องกันดวงตาข้างขวาไม่ได้รับอันตราย ดังนั้นเลนส์ที่เหมาะสมที่สุดคือเนื้อ Trivex 

Trivex 

Safty lens หรือเลนส์นิรภัย คือเลนส์ที่มีคุณสมบัติที่เหนียวมากเป็นพิเศษ​ ทนต่อแรงกระแทกได้ดีกว่าเลนส์ทั่วไป   ซึ่งปัจจุบันนั้น เนื้อที่ถือว่ามีความเหนียวระดับนิรภัยมีอยู่ 2 เนื้อคือ Trivex และ Polycarbonate 

ซึ่งทั้งสองเนื้อนี้ มีความเหนียวในระดับที่ใกล้เคียงกัน  แต่สิ่งที่เนื้อ Trivex เหนือกว่า polycabonate มากคือความใสของเลนส์ ความใสในที่นี้เป็นความใสในระดับฟิสิกส์เชิงแสง ไม่ใช่แค่ความใสที่มองเห็นด้วยตาเนื้อ 

คือเนื้อ trivex นั้นมีค่าความใสที่สูงสุดในทุกบรรดาเลนส์ที่เป็นเนื้อเหนียว  ซึ่งมีค่า Abbe’ number สูงถึง 45  ในขณะที่ Polycarbonate นั้นเป็นเลนส์ที่มีความเครียด(lens stress)ตั้งต้นมาก ซึ่งเกิดจากกระบวนการผลิต ทำให้เลนส์ชนิดนี้แม้จะเหนียวแต่ค่าความใสนั้นต่ำกว่าเลนส์ทุกชนิด คือค่า abbe value 29 เท่านั้น 

สรุปสิ่งที่ได้จากเคสนี้

คนไข้ที่เป็นสายตายาว (Hyperopia) และสายตายาวของตาทั้งสองข้างนั้นไม่เท่ากัน (ต่างกันมากกว่า 1.00D ขึ้นไป)  มีความเสี่ยงที่จะเกิดเป็นตาขี้เกียจกับตาข้างที่ยาวกว่าได้มาก 

เนื่องจากสายตายาวนั้น  แสงโฟกัสบนจอรับภาพภายใต้การเพ่งของเลนส์ตา  ทั้งขณะดูใกล้และดูไกล ดังนั้นตาจะเลือกเพ่งให้ตาที่ยาวน้อยกว่าชัด และปล่อยตาข้างที่ยาวมากกว่าตามยถากรรม ทำให้ตาข้างที่ยาวกว่านั้นเกิดเป็นตาขี้เกียจ และถ้าปล่อยปละเลยไม่แก้ไข ก็จะเป็นเหมือนดังเคสนี้ 

ดังนั้นพ่อแม่ผู้ปกครอง ควรพาบุตหลานไปตรวจตาตั้งแต่เด็ก เพื่อให้นักทัศนมาตรดูความปกติหรือผิดปกติ และจะได้แก้ไขให้ทันช่วงเวลา  พบกันใหม่ตอนหน้า กับ Hyperopia Case Study  ep.4

 ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ 

สมยศ เพ็งทวี ​O.D. 

Reference : Refractive management of ametropia by Kenneth E.Brookman

 

toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel toto togel situs toto toto togel toto togel toto togel toto togel situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto situs toto